มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดของชิลีต่อสินค้าเหล็กจากจีน

รัฐบาลชิลีได้เผยแพร่กฎหมาย (พระราชกฤษฎีกา) ที่กำหนดอัตราภาษีมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดที่ร้อยละ 24.90 ต่อสินค้าเหล็กที่มาจากจีนสำหรับผลิตลูกเจียแบบธรรมดาที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 4 นิ้ว และในสัดส่วนร้อยละ 33.5 ของลูกเหล็กที่มีขนาดเท่ากัน

บริษัทผู้ผลิตเหล็กรายสำคัญที่สุดของชิลี (บริษัท Compañía de Aceros del Pacífico: CAP) ได้ออกมาเรียกร้องต่อรัฐบาลเกี่ยวกับการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมในตลาดเหล็ก และขอให้คณะกรรมการสอบสวนแห่งชาติว่าด้วยการบิดเบือนราคาสินค้านำเข้า (Chile’s National Investigation Commission on Price Distortion of imported goods: CNDP)[1] ดำเนินการสอบสวนสินค้าเหล็กที่นำเข้าจากจีน โดย CNDP ได้เริ่มกระบวนการสอบสวนในเดือนพฤศจิกายน 2566 และกระทรวงเศรษฐกิจของชิลีได้รับเรื่องการสอบสวนดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2567 อย่างไรก็ดี อัตราการเก็บภาษีเหล็กยังอยูในอัตราร้อยละ 15.1 สำหรับเล็กเส้น และร้อยละ 15.3 สำหรับลูกเหล็ก ตามมติของหน่วยงาน CNDP ที่ประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐ ได้แก่ ธนาคารกลางของชิลี 2 คน กรมศุลกากร 1 คน และอัยการเศรษฐกิจ 1 คน สร้างความไม่พอใจให้แก่บริษัท CAP ที่เสนอแนะให้รัฐบาลกำหนดอัตราภาษีที่ร้อยละ 25 สำหรับสินค้าเหล็กบางชนิดที่นำเข้าจากจีน  เนื่องจากบริษัทฯ เชื่อว่ามีการบิดเบือนราคาในตลาดและมีการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม โดยสินค้าเหล็กที่มาจากจีนมีราคาถูกกว่าราคาตลาดประมาณร้อยละ 40 ทั้งนี้ บริษัท CAP ได้ประกาศระงับการดำเนินงานอย่างไม่มีกำหนดของบริษัท Compañía Siderurgica Huachipato (CSH) เป็นบริษัทในเครือของของกลุ่ม CAP ที่เป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่และสำคัญที่สุดของชิลี โดยมีโรงงานตั้งอยู่ในเมือง Talcahuano บนชายฝั่ง San Vicente ในแคว้น Biobío ใกล้ท่าเรือ Talcahuano ทั้งนี้ กระบวนการระงับการดำเนินงานดังกล่าวจะดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปภายในระยะเวลา 3 เดือน

 

อย่างไรก็ดี บริษัท CSH ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมาธิการต่อต้านการบิดเบือน (Anti-distortion Commission) เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 ขอให้มีการจัดกำหนดอัตราภาษีที่ร้อยละ 25 สำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กที่นำเข้าจากจีน เพื่อป้องกันการปิดกิจการในแคว้น Biobío ที่เป็นฐานการผลิตเหล็กที่สำคัญของบริษัทฯ และผลกระทบอื่น ๆ

สหภาพแรงงานท้องถิ่นประเมินผลกระทบเบื้องต้นจากการระงับการดำเนินงานของบริษัทฯ ว่าจะส่งผกระทบให้มีจำนวนผู้ตกงานกว่า 22,000 คน และส่งผลต่ออัตราการว่างงานที่จะเพิ่มขึ้นในภาพรวมของประเทศ

ต่อมา เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2567 หน่วยงาน CNDP ได้ประกาศมติเห็นชอบต่อคำอุทธรณ์ของบริษัท CSH โดยให้มีการจัดเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 24.9 สำหรับเหล็กเส้นเพื่อการเจียแบบธรรมดาที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 4 นิ้ว และในสัดส่วนร้อยละ 33.5 สำหรับลูกเหล็กที่มีขนาดเท่ากันที่นำเข้าจากประเทศจีน อย่างไรก็ดี การจัดเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดดังกล่าวจะดำเนินการเป็นการชั่วคราว ในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่ 27 มีนาคม 2567[1]

บริษัท CSH ถือเป็นผู้นำธุรกิจเหล็กในชิลีตั้งแต่ 2493 มีการผลิตเหล็กแบบครบวงจรเพียงรายเดียวในประเทศ (รวมทั้ง การผลิตเหล็กจากวัตถุดิบพื้นฐาน เช่น แร่เหล็ก) มีกำลังการผลิตเหล็กเหลวที่ 800,000 ตันต่อปี นอกจากนี้ บริษัทฯ มีการผลิตเหล็กเส้นและลูกเหล็กสำหรับอุตสาหรรมเหมืองแร่ของประเทศ[1]

ปัจจุบัน หลายประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกา เช่น บราซิล เม็กซิโก อาร์เจนตินา ชิลี นำเข้าเหล็กจากจีนเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีราคาถูก ทำให้แรงงานที่มีจำนวนกว่า 1.4 ล้านคนและผู้ประกอบในอุตสาหกรรมเหล็กออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้าเหล็กจากจีน จากข้อมูลของสมาคมเหล็กลาตินอเมริกา (Latin American Steel Association: Alacero) ภูมิภาคลาตินอเมริกานำเข้าเหล็กจากจีนในปี 2566 คิดเป็นปริมาณ 10 ล้านตัน หรือนำเข้าเพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นการนำเข้ามากที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยปริมาณนำเข้าเฉลี่ยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 85,000 ตัน ทั้งนี้ บราซิลเป็นประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกาและเป็นอันดับที่ 9 ของโลก ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการทุ่มตลาดของจีน และในปี 2566 บราซิลนำเข้าเหล็กจากจีนมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2567 รัฐบาลบราซิลประกาศให้มีการสอบสวนการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมในการนำเข้าแผ่นเหล็กคาร์บอนตามข้อร้องเรียนของ Companhia Siderúrgica Nacional (CSN) ที่แจ้งว่าสินค้าเหล็กจากจีนมีราคาต่ำกว่าตลาดถึงร้อยละ 44

มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด มีการกำหนดอัตราภาษีนำเข้าเหล็กที่ร้อยละ 22 ทั้งนี้ การดำเนินการตอบโต้การทุ่มตลาดดังกล่าวของเม็กซิโก เป็นไปเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ และต้องการให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมในตลาด

อาร์เจนตินาเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการทุ่มตลาดของจีน ซ้ำเติมสภาพเศรษฐกิจที่ถดถอยในประเทศ โดยภาคอุตสาหกรรมหลักต่าง ๆ ชะลอตัว เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์ โดยบริษัท Argentine steel (Acindar) ผู้ผลิตเหล็กในอาร์เจนตินา ในเครือบริษัทข้ามชาติ ArcelorMittal ประกาศหยุดการผลิตในโรงงาน 5 แห่งเป็นเวลา 1 เดือน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เนื่องจากยอดการจำหน่ายเหล็กลดลงอย่างมาก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 35 – 40 ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา[1]

จากข้อมูลของ GMK Center[2] จีนเป็นระเทศผู้นำในการผลิตเหล็กของโลกในปี 2566 มีกำลังการผลิต 1,019 พันล้านตัน รองลงไป คือ อินเดีย (กำลังการผลิต 140.2 ล้านตัน) ญี่ปุ่น (กำลังการผลิต 87 ล้านตัน) สหรัฐอเมริกา (กำลังการผลิต 80.7 ล้านตัน) และรัสเซีย (กำลังการผลิต 75.8 ล้านตัน) ตามลำดับ ในขณะภูมิภาคลาตินอเมริกา มีผู้นำในการผลิตเหล็ก ได้แก่ บราซิล เม็กซิโก อาร์เจนตินา และโคลอมเบีย ตามลำดับ และสามารถผลิตเหล็กคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.1 ของปริมาณเหล็กทั่วโลก[3]

 

บทวิเคราะห์ / ข้อคิดเห็นจาก สคต. ณ กรุงซันติอาโก

          หลายประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกาจำเป็นต้องดำเนินมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดต่อสินค้าเหล็กจากจีน เพื่อปกป้องตลาดเหล็กภายในประเทศ ซึ่งชิลีเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบและจำเป็นต้องดำเนินมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเช่นกัน ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาจีนเปลี่ยนจากผู้นำเข้าเหล็กรายใหญ่ของโลก เป็นผู้ผลิตหลักของโลก จากเดิมที่จีนมีการผลิตเหล็กคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของปริมาณเหล็กโลกในปี 2543 และเพิ่มกำลังการผลิตเป็นร้อยละ 54 ของปริมาณเหล็กโลกในปี 2566 ซึ่งถือเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดและของโลกและส่งออกเหล็กมากที่สุด ตามข้อมูลของสมาคมเหล็กลาตินอเมริกา (Latin American Steel Association: Alacero)[1] ทั้งนี้ จีนมีการเพิ่มกำลังการผลิตในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คิดเป็นปริมาณกว่า 50 ล้านตันต่อปี ในขณะที่ความต้องการในประเทศของจีนลดลง ทำให้จีนจำเป็นต้องเร่งการส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ โดยในปี 2543 จีนส่งออกเหล็กไปยังภูมิภาคลาตินอเมริกาคิดเป็นปริมาณ 80,500 ตัน ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณเฉลี่ย 10 ล้านตันต่อปี ส่งผลให้อุตสาหกรรมเหล็กของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคลาตินอเมริกาจำเป็นต้องชะลอการผลิต รวมถึงการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ซึ่งภูมิภาคลาตินอเมริกาถือเป็นตลาดเป้าหมายสำคัญอันดับที่สองรองจากเกาหลีใต้สำหรับการส่งออกเหล็กของจีน

แม้ว่าตลาดสินค้าเหล็กในภูมิภาคลาตินอเมริกาจะมีระดับการแข่งขันสูง และมีการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม แต่การทุ่มตลาดของจีนทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเหล็กไม่สามารถแข่งขันได้เหมือนเดิม และด้วยเหตุนี้ หลายประเทศ อาทิ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก แคนาดา บราซิล อินเดีย ได้ออกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดของจีนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพื่อสร้างสมดุลในการแข่งขันและลดการบิดเบือนตลาดในตลาดท้องถิ่นที่เกิดจากราคาเหล็กของจีน ซึ่งเหล็กที่ผลิตได้จากภูมิภาคลาตินอเมริกามีปริมาณประมาณ 70 ล้านตันต่อปี และสร้างงานในอุตสาหกรรมกว่า 1.4 ล้านตำแหน่ง

ไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการทุ่มตลาดของจีน ในปี 2566 ไทยนำเข้าเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กจากจีนประมาณ 6 ล้านตัน หรือนำเข้าเพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 27 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งอาเซียนยังคงเป็นตลาดส่งออกหลักของจีน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของปริมาณส่งออกเหล็กทั้งหมดของจีน ทำให้หลายประเทศผู้ผลิตเหล็กในอาเซียนเผชิญการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงขึ้นจากการส่งออกเหล็กของจีน ในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมา แม้ไทยจะมีการขยายตัวของการส่งออกสินค้าเหล็กในภูมิภาคอาเซียน แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ในปี 2565 ไทยส่งออกเหล็กเป็นลำดับที่ 32 ของโลก คิดเป็นมูลค่า 10.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นมากจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยมีมูลค่านำเข้า 392 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ไทยเป็นผู้นำเข้าเหล็กรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก[2] นอกจากนี้ ไทยมีแนวความต้องการเหล็กเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5 – 6 ต่อปี หรือคิดเป็นปริมาณ 4 – 4.5 ล้านตันต่อปี อานิสงส์จาก (1) การเร่งดำเนินงานโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ต่อเนื่องทั้งโครงการเดิมและโครงการใหม่ ตามแผนปฏิบัติการ พ.ศ. 2566-2570 (2) งานก่อสร้างภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีแนวโน้มฟื้นตัว ตามกำลังซื้อที่ทยอยกระเตื้องขึ้น หลังเผชิญภาวะซบเซาจากอุปทานคงค้างสะสมจำนวนมาก (3) การก่อสร้างโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC ตามภาวะการลงทุนที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น และ (4) การก่อสร้าง/ปรับปรุงโรงแรมเพื่อรองรับการกลับมาเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม การแข่งขันกับผลิตภัณฑ์นำเข้าที่มีราคาต่ำกว่าจากจีนยังคงเป็นปัจจัยกดดันทั้งด้านการผลิตและการจำหน่ายในประเทศ[3] ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยอาจพิจารณาปรับกลยุทธ์โดยขยายไลน์การผลิตเพื่อลดต้นทุน หรือหันไปผลิตเหล็กเกรดพิเศษต่าง ๆ ที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ไปจนถึงการยกระดับผลิตภัณฑ์สู่เหล็กคาร์บอนต่ำ

ผลกระทบจากการทุ่มตลาดของจีนต่อสินค้าเหล็ก ส่งผลกระทบต่อหลายประเทศทั่วโลก ทั้งนี้ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์ตลาดเหล็กโลกอย่างใกล้ชิด และสคต.ฯ คาดว่าผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเหล็กยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายในปีนี้ ได้แก่ (1) ราคาเหล็กโลกที่ยังคงมีแนวโน้มปรับลดลง ตามการลงทุนก่อสร้างในหลายประเทศที่ยังคงประสบกับสถานการณ์เงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยในระดับสูง (2) ราคาเหล็กในประเทศถูกกดดันจากการนำเข้าเหล็กจากจีนจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรง และ (3) ผู้ผลิตเหล็กไทยแข่งขันยากขึ้นเมื่อเหล็กนำเข้าจากจีนมีราคาถูกกว่า เนื่องจากไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าเหล็กวัตถุดิบมาผลิตหรือแปรรูป    (คิดเป็นสัดส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของอุปทานเหล็กในประเทศ) ทำให้วัตถุดิบของไทยมีราคาสูงกว่าจีน

___________________________

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงซันติอาโก

พฤษภาคม 2567

[1] The Latin American Steel Association is an institution that gathers most of the steel and iron ore producers in Latin America.

[2] A data visualization site for international trade data created by the Macro Connections group at the MIT Media Lab – https://oec.world/en/profile/bilateral-product/steel-bars/reporter/tha

[3] https://www.krungsri.com/th/research/industry/summary-outlook/industry-outlook-2024-2026

[1] The biggest local media network – https://www.biobiochile.cl/noticias/economia/negocios-y-empresas/2024/03/21/chile-el-nuevo-aniquilado-por-el-acero-de-china-alertas-y-evidencias-que-no-fueron-escuchadas.shtml

[2] Monthly newsletter about iron & steel sector in Europe and globally

[3] A television station licensed to Pocatello, Idaho, United States, serving as the NBC affiliate for the Idaho Falls–Pocatello market – https://www.kpvi.com/news/national_news/cheap-chinese-steel-threatens-jobs-in-latin-america/article_e4c56c0b-0657-5958-97c6-3a0a923cb052.html

 

รัฐบาลบราซิลระบุว่า อัตราภาษีนำเข้าเหล็กจากจีนในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 10.8 และจะปรับอัตราภาษีเป็น 2 เท่าในระยะเวลา 2 ปี ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกับเม็กซิโกที่เป็นผู้นำในการดำเนินมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดในลาตินอเมริกา โดยเม็กซิโกเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าเหล็กจากจีนเป็นร้อยละ 25 ในสิ้นปี 2566 เช่นเดียวกันกับการดำเนินมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดของสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ สหภาพยุโรปดำเนิน

[1] https://www.siderurgicahuachipato.cl/

[1] The second-most circulated daily newspaper in Spain –  https://elpais.com/chile/2024-04-22/huachipato-las-claves-para-entender-la-suspension-y-el-reinicio-de-las-operaciones-de-la-siderurgica-chilena.html

The first worldwide business, finance and lifestyle newspaper – –https://forbes.cl/economia-y-finanzas/2024-04-22/chile-resuelve-subir-sobretasas-al-acero-chino-y-quita-presion-a-siderurgica-nacional

[1] The Commission in Charge of Investigating the Existence of Price Distortions on Imported Goods, created by article 9 of law 18.525, is a technical entity integrated by representatives of public institutions of the economic sector. Its function is to advise the President in all matters regarding the import of goods, at distorted prices, that cause or threaten to cause serious injury to domestic production, as well as those situations of increases in imports of such magnitude and conditions that they cause, or threaten to cause, serious injury to national production.

 

thThai