ส่องยอดขายรถใหม่ ปี 2566 ของแอฟริกาใต้

สมาคมผู้ผลิตรถยนต์แห่งแอฟริกาใต้ (The National Association of Automobile Manufacturers of South Africa: Naamsa) เปิดเผยว่า ปี 2566 ยอดขายรถใหม่ของแอฟริกาใต้ รวมทั้งสิ้น 532,098 คัน (เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 0.5 แต่ต่ำกว่าปี 2562 ซึ่งมียอดขาย 536,612 คัน)  โดยรถยนต์ที่มียอดขายสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) โตโยต้าไฮลักซ์ (2) ฟอร์ดเรนเจอร์ (3) โฟล์คสวาเกนโปโลวีโว่ (4) โตโยต้าโคโรลล่าครอส (5) อีซูซุดีแมกซ์ (คิดเป็นร้อยละ 7.02 4.58 4.49 4.24 และ 3.56 ของจำนวนรถยนต์ที่ขายได้ทั้งหมด)

ยอดขายรถใหม่ ปี 2566 ของแอฟริกาใต้ สูงสุด 30 อันดับแรก ดังนี้

1.Toyota Hilux – 37,382 คัน

  1. Ford Ranger – 24,618 คัน
  2. Volkswagen Polo Vivo – 23,904 คัน
  3. Toyota Corolla Cross – 22,592 คัน
  4. Isuzu D-Max – 18,963 คัน
  5. Toyota Hi-Ace – 16,465 คัน
  6. Suzuki Swift – 15,974 คัน
  7. Toyota Starlet – 15,713 คัน
  8. Nissan NP200 – 12,721 คัน
  9. Volkswagen Polo – 11,748 คัน
  10. Toyota Fortuner – 10,385 คัน
  11. Chery Tiggo 4 – 10,054 คัน
  12. Hyundai Grand i10 – 9,829 คัน
  13. Haval Jolion – 8,604 คัน
  14. Nissan Magnite – 8,580 คัน
  15. Mahindra Scorpio PU – 8,063 คัน
  16. Renault Kiger – 7,725 คัน
  17. Volkswagen T-Cross – 7,152 คัน
  18. Kia Sonet – 6,511 คัน
  19. Renault Kwid – 6,222 คัน
  20. Suzuki Baleno – 6,004 คัน
  21. Toyota Urban Cruiser – 5,992 คัน
  22. Toyota Corolla Quest – 5,832 คัน
  23. Haval H6 – 5,674 คัน
  24. Renault Triber – 5,644 คัน
  25. Hyundai i20 – 5,413 คัน
  26. Hyundai Venue – 5,156 คัน
  27. Suzuki Ertiga – 5,150 คัน
  28. Toyota Vitz – 5,117 คัน
  29. Suzuki S-Presso – 5,009 คัน

แม้ว่าปี 2566 จำนวนยอดขายรวมของรถยนต์เพิ่มขึ้นเล็กน้อย (เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 0.5)  แต่พบว่ารถกระบะปิคอัพ (แอฟริกาใต้ เรียกว่า Bakkie) มียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.60 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยรถกระบะปิคอัพ ยอดนิยม 3 อันดับแรก ได้แก่ โตโยต้าไฮลักซ์ ฟอร์ดเรนเจอร์ อีซูซุ

เมื่อพิจารณายอดขายตามแบรนด์ พบว่า โตโยต้า ครองแชมป์รถยนต์ยอดนิยม มียอดขายสูงถึง 142,612 คัน รองลงมาคือ โฟล์คสวาเกน 67,456 คัน และอันดับที่ 3 คือ ซูซูกิ 49,438 คัน  คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 26.58 12.68 และ 9.29 ตามลำดับ

คุณแบรนดอน โคเฮน ประธานสมาคมผู้จำหน่ายรถยนต์แห่งชาติ (National Automobile Dealers’ Association: NADA) กล่าวว่า ปี 2567 ตลาดรถยนต์ยังมีความหวังอยู่บ้าง เนื่องจากคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลง ซึ่งจะช่วยผ่อนคลายความกังวลของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนปัจจัยอื่นๆยังคงมีอยู่ อาทิ การเลือกตั้งของแอฟริกาใต้ในเดือนพฤษภาคม 2567

ความเห็นของ สคต. : ข้อมูลจาก GTA รายงานว่า ปี 2566 แอฟริกาใต้ นำเข้า (1)ชิ้นส่วนและอุปกรณ์รถยนต์/ยานพาหนะ (2)รถยนต์และยานพาหนะ(ไม่รวมรถยนต์ขนส่งสาธารณะ) และ (3)ตัวถัง/ห้องโดยสารรถยนต์/ยานพาหนะ (HS code 8708/ 8703/ 8707) รวมทั้งสิ้น 5,977.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 4.22) โดยแอฟริกาใต้นำเข้าสูงสุด 7 อันดับแรกจาก (1)อินเดีย                    (2)เยอรมนี (3)จีน (4) ญี่ปุ่น (5) สหรัฐอเมริกา (6) ไทย และ (7) สเปน ตามลำดับ (คิดเป็นร้อยละ 23.40 16.31 11.69 7.50 6.29 5.78 และ 5.34 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดของแอฟริกาใต้) เมื่อพิจารณาอัตราการเปลี่ยนแปลงของการนำเข้าของ 7 ประเทศข้างต้นโดยเทียบกับปีก่อนหน้า พบว่า แอฟริกาใต้นำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นสูงมาก คิดเป็น ร้อยละ 53.72 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ มูลค่าการนำเข้าจาก   5 ประเทศ ได้แก่ เยอรมนี จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสเปน ลดลงจากปีก่อน (ยกเว้น การนำเข้าจากอินเดีย เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 3.9) แสดงให้เห็นว่า ปี 2567 สินค้าส่งออกจากประเทศไทยในกลุ่ม ชิ้นส่วนและอุปกรณ์รถยนต์/ยานพาหนะ รถยนต์และยานพาหนะ(ไม่รวมรถยนต์ขนส่งสาธารณะ) และตัวถังและห้องโดยสารรถยนต์/ยานพาหนะ (HS code 8708/8703/8707) มีโอกาสขยายตัวในแอฟริกาใต้ อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกไทยสำหรับกลุ่มสินค้าดังกล่าว อาจจะต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ อาทิ สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ผันผวน ภาวะฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและกำลังซื้อของแอฟริกาใต้ที่ยังคง ชะลอตัว หนี้ครัวเรือนของแอฟริกาใต้ที่ยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้น ทิศทางนโยบายอัตราดอกเบี้ยและนโยบายอื่นๆ ของรัฐบาลใหม่แอฟริกาใต้ (แอฟริกาใต้จะเลือกตั้งในวันที่ 29 พฤษภาคม 2567)

 

ที่มาข่าว www.iol.co.za

เครดิตภาพ www.autoblog.com

สำนักงานส่งเสริมการค้า ณ กรุงพริทอเรีย

main@thaitradeofficesa.co.za

มีนาคม 2567

 

 

thThai