คาดการใช้จ่ายครัวเรือนฟิลิปปินส์ปีนี้โตร้อยละ 5.5

 

                            S&P Global Ratings คาดการณ์การใช้จ่ายของผู้บริโภคในฟิลิปปินส์จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ในปี 2567 ซึ่งยังคงต่ำกว่าระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิดที่มีการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 6 เนื่องจากการฟื้นตัวของกิจกรรมในครัวเรือนอาจใช้เวลา      เพิ่มอีก 2 – 3 ไตรมาส โดยเศรษฐกิจทั่วโลกกำลังประสบกับการชะลอตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนผลจากธนาคารกลางขึ้นต้นทุน  การกู้ยืมเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ทั้งนี้ เมื่อปีที่ผ่านมา การเติบโตของการบริโภคในครัวเรือนของฟิลิปปินส์ชะลอตัวลงอยู่ที่ร้อยละ 5.6 จากร้อยละ 8.3 ในปี 2565 ซึ่งได้แรงหนุนจากการใช้จ่ายในร้านอาหารและโรงแรม โดยการบริโภคในครัวเรือนคิดเป็นประมาณสามในสี่ของเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ ขณะที่เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ขยายตัวร้อยละ 5.6 ในปี 2566 ลดลงจากการขยายตัว      ร้อยละ 7.6 ในปี 2565 และต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ที่ร้อยละ 6-7  นอกจากนี้ ในรายงานยังระบุว่าผู้บริโภคต้องเผชิญกับ            สภาพแวดล้อมที่ท้าทายในปี 2566 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงกลืนกินกำลังซื้อ ประกอบกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่อ่อนแอ     หมายถึงการสนับสนุนจากเศรษฐกิจที่อยู่นอกอุปสงค์ภายในประเทศอย่างจำกัด โดยอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 6         ซึ่งเป็นปีที่สองติดต่อกันที่อยู่ในระดับสูงกว่าที่ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ตั้งไว้ที่ร้อยละ 2-4

                      นาย Jonathan Koh นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคาร Standard Chartered กล่าวว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคในฟิลิปปินส์ยังคงมีความยืดหยุ่น เนื่องจากผู้บริโภคไม่ได้ออมเงินมากนักและยังมีการกู้ยืมเงินไปพร้อมๆ กัน อย่างไรก็ตาม การชำระหนี้จะส่งผลต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคและความเสี่ยงจากเงินเฟ้อก็อาจจะส่งผลต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคด้วย แต่สภาวะตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งและการจ้างงานที่ดีขึ้ในฟิลิปปินส์จะช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายของครัวเรือนในปีนี้ เนื่องจากครอบครัวชาวฟิลิปปินส์พยายามจ่ายคืนเงินกู้ด้วยเงินเดือนที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ข้อมูลสินเชื่อคงค้างที่ธนาคารขนาดใหญ่เบิกจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เป็น 11.701        ล้านล้านเปโซ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 และข้อมูลของธนาคารกลางระบุว่าสินเชื่ออุปโภคบริโภคแก่ผู้อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 โดยได้แรงหนุนจากสินเชื่อบัตรเครดิต (ร้อยละ 30) สินเชื่อรถยนต์ (ร้อยละ16.6) และสินเชื่อตามเงินเดือน (ร้อยละ 9.4) ขณะที่อัตราการว่างงานของประเทศชะลอตัวลงสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 4.3 ในปี 2566 เทียบเท่ากับชาวฟิลิปปินส์ที่ไม่มีงานทำ 2.19 ล้านคน จากร้อยละ 5.4 ในปี 2566 เทียบเท่ากับชาวฟิลิปปินส์ไม่มีงานทำกับ 2.67 ล้านคน

ที่มา: หนังสือพิมพ์ Business World

บทวิเคราะห์และข้อคิดเห็น

–  การบริโภคภาคครัวเรือนเป็นภาคส่วนสำคัญที่เศรษฐกิจฟิลิปปินส์พึ่งพาเป็นหลักมีสัดส่วนคิดเป็นกว่า ร้อยละ 70 ของผลิตภัณฑ์       มวลรวมภายในประเทศ (GDP) โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การใช้จ่ายภาคครัวเรือนของฟิลิปปินส์มีอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่ง      ส่งผลให้เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์มีอัตราการขยายตัวโดดเด่น ในภูมิภาคเอเชีย แต่วิกฤติโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ได้รับผล    กระทบอย่างหนัก โดยภาคครัวเรือน และการค้าปลีกของฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากผลการใช้มาตรการล็อกดาวน์และมาตรการกักกันชุมชนที่เข้มงวดเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดฯ ที่ยืดเยื้อ ทำให้ต้องแลกกับความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล รวมถึงการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่ชะลอตัวลงอย่างหนัก โดยข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ระบุว่า การใช้จ่ายภาคครัวเรือนในปี 2563 มีมูลค่า 12.92 ล้านล้านเปโซ ลดลงจาก ปี 2562 ที่มีมูลค่า 14.03 ล้านล้านเปโซ หรือลดลงมากถึง 1.1 ล้านล้านเปโซ หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 3.03 พันล้านเปโซต่อวัน และการบริโภคที่หดตัวลงดังกล่าวส่งผลให้เกิดการสูญเสียรายได้รวมประมาณ 1.04 ล้านล้านเปโซในปี 2563 หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 2.8 พันล้านเปโซต่อวัน นอกจากนี้ วิกฤตโควิด-19 ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์อย่างชัดเจน โดยภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ทำให้ผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายส่งผลให้การใช้จ่ายโดยรวมลดน้อยลง โดยผู้บริโภคฟิลิปปินส์ให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายที่จำเป็นพื้นฐานเป็นหลัก เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ยาและผลิตภัณฑ์ เพื่อสุขภาพ สาธารณูปโภคเป็นต้น และมีการเก็บออมเงินไว้ใช้จ่ายยามจำเป็นมากขึ้น สำหรับการใช้จ่ายสินค้าหรูหราฟุ่มเฟือยหรือสินค้าไม่จำเป็น ผู้บริโภคเลือกที่จะชะลอการใช้จ่ายออกไปจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ จะคลี่คลายหรือยุติลง

–  อย่างไรก็ตาม ภายหลังการใช้มาตรการล็อกดาวน์ที่ยืดเยื้อหลายเดือน รัฐบาลฟิลิปปินส์ก็ได้ทยอยผ่อนคลายมาตรการลง เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาเดินหน้าและเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์เริ่มมีแนวโน้มสัญญาณของการฟื้นตัว โดยประชาชนเริ่มออกมาใช้จ่ายมากขึ้นและคาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป หากรัฐบาลฟิลิปปินส์สามารถควบคุมสถานการณ์การ        แพร่ระบาดฯ ได้ดี และสามารถเร่งฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ถือเป็นหนึ่งในตลาดที่มีศักยภาพในการส่งออกสินค้าไทย เนื่องจากมีฐานผู้บริโภคขนาดใหญ่และมีการใช้จ่ายภายในประเทศที่แข็งแกร่ง แต่วิกฤต           โควิด-19 ในปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดการชะลอตัวของการใช้จ่ายของผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์อย่างมากและเป็นแรงกดดันต่อการส่งออกสินค้าต่างๆ ของไทยมายังฟิลิปปินส์ได้รับผลกระทบไปด้วยจากอุปสงค์ที่หดตัวลง แต่ปัจจุบันการส่งออกของไทยมายังฟิลิปปินส์     ในปี 2564 พบว่าขยายตัวดีขึ้นตามลำดับตามการฟื้นตัวของการใช้จ่ายของตลาดผู้บริโภคในฟิลิปปินส์ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ ทั้งนี้ เชื่อว่าหากสถานการณ์ โควิด-19 ยุติลง คาดว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคในฟิลิปปินส์จะสามารถกลับมาเติบโตอย่างรวดเร็วโดยจะได้รับการขับเคลื่อนสำคัญจากกลุ่มผู้บริโภคชนชั้นกลางที่จะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น

—————————————————-

 

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา

มีนาคม 2567

thThai