เทรนด์การเติบโตของตลาดไอศกรีมในจีน

เนื่องจากผู้บริโภคชาวจีนมีคุณภาพชีวิตและกำลังการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะความต้องการบริโภคสินค้าอาหารว่าง/ ของทานเล่นก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน อย่างตลาดสินค้าไอศกรีมในประเทศจีนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี จะเห็นได้ว่าในท้องตลาดมีสินค้าไอศกรีมแบรนด์เก่าแก่ก็เริ่มเปิดตัวสินค้าไอศกรีมรูปแบบใหม่ หรือการร่วมมือกับการ์ตูนลิขสิทธิ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ ธุรกิจร้านชา ร้านอาหารก็     วางจำหน่ายสินค้าไอศกรีมด้วยเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ ส่งผลให้อุตสาหกรรมไอศกรีมของประเทศจีนมีความหลากหลายมากขึ้น จากข้อมูลพบว่า ในปี 2566 มูลค่าตลาดอุตสาหกรรมไอศกรีมในประเทศจีน 175,900 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.20 และคาดการณ์ว่าในปี 2567 จะเพิ่มขึ้นเป็น 183,500          ล้านหยวน

เทรนด์การเติบโตของตลาดไอศกรีมในจีน

เทรนด์การเติบโตของตลาดไอศกรีมในจีน

2.ปัจจัยในการเลือกซื้อ

จากข้อมูลพบว่า ผู้บริโภคชาวจีนเลือก

ซื้อไอศกรีมจากปัจจัยด้านรสชาติเป็นหลัก

คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60.85 ของผู้บริโภค

ชาวจีนทั้งหมด รองลงมาคือ ปัจจัยด้านราคา

คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.42 และปัจจัยด้าน

แบรนด์ของสินค้า คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.66

นักวิเคราะห์เชื่อยว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรม

ไอศกรีมของจีนได้พัฒนาเป็นอาหารว่างคุณภาพ

สูงและมีความหลากหลาย ซึ่งนอกจากจะมี

การพัฒนารสชาติของสินค้าแล้ว ยังมุ่งเน้น

การผลิตไอศกรีมเพื่อสุขภาพ โดยที่ผู้บริโภค

ชาวจีนไม่เพียงแต่รับประทานไอศกรีมในช่วง

ฤดูร้อน แต่ยังสามารถรับประทานได้ตลอดทั้งปี

ในช่วงทุกฤดูกาลอีกด้วย

เทรนด์การเติบโตของตลาดไอศกรีมในจีน

3.ความถี่ในการบริโภค

จากการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคชาวจีนร้อยละ 98.9 ชื่นชอบการรับประทานไอศกรีม โดยนิยมรับประทานในช่วงฤดูร้อนเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ ผู้บริโภคชาวจีนรับประทานไอศกรีม 2-3 วันต่อครั้ง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.8

เทรนด์การเติบโตของตลาดไอศกรีมในจีน

เทรนด์การเติบโตของตลาดไอศกรีมในจีน

เทรนด์การเติบโตของตลาดไอศกรีมในจีน

เทรนด์การเติบโตของตลาดไอศกรีมในจีน

5.ช่องทางการจำหน่าย

จากการสำรวจช่องทางการเลือกซื้อสินค้าไอศกรีมของผู้บริโภคชาวจีนในปี 2566 พบว่า ร้อยละ 83.47 ของผู้บริโภคเลือกซื้อไอศกรีมในซูเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านค้าสะดวกซื้อ ร้อยละ 50.25 เลือกซื้อบนแพลตฟอร์มออนไลน์ (Meituan, Eleme) ร้อยละ 40.57 เลือกซื้อที่ตลาด และร้อยละ 38.73 เลือกซื้อบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ (Taobao, Jingdong) ซึ่งจากข้อมูลพบว่า ผู้บริโภคชาวจีนยังนิยมเลือกซื้อไอศกรีมในร้านค้าออฟไลน์มากกว่าออนไลน์

เทรนด์การเติบโตของตลาดไอศกรีมในจีน

ที่มา: report.iimedia.cn

6.ราคาไอศกรีม

ผู้บริโภคชาวจีนนิยมเลือกซื้อไอศกรีมที่มีราคาอยู่ที่ 5-10 หยวนเป็นส่วนใหญ่ โดยคิดเป็นสัดส่วนผู้บริโภคร้อยละ 35.40 รองลงมาคือ ราคา 10-15 หยวน คิดเป็นสัดส่วนผู้บริโภคอยู่ที่ร้อยละ 28.55 ราคา 5 หยวนหรือน้อยกว่า คิดเป็นสัดส่วนผู้บริโภคร้อยละ 14.27 ราคา 15-20 หยวน คิดเป็นสัดส่วนผู้บริโภคร้อยละ 12.77 และราคา 20-30 หยวน คิดเป็นสัดส่วนผู้บริโภคร้อยละ 6.59 อย่างไรก็ดี เฉลี่ยราคาไอศกรีมที่ผู้บริโภคชาวจีนยอมรับและนิยมเลือกซื้อคือ ราคาตั้งแต่ 3-14 หยวน

เทรนด์การเติบโตของตลาดไอศกรีมในจีน

หากพูดถึงในแง่ของการยอมรับสินค้าไอศกรีมไฮเอนด์ที่มีราคาสูง ผู้บริโภคนิยมเลือกซื้อไอศกรีมที่มีราคา 8-20 หยวน 12-16 หยวน 16-20 หยวนเป็นส่วนใหญ่ โดยคิดเป็นสัดส่วนผู้บริโภคร้อยละ 18.28 21.45 และ 23.71 ตามลำดับ จากข้อมูลพบว่า ผู้บริโภคร้อยละ 19.45 มองว่าราคาไอศกรีมมีความคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป มีต้นทุนสูงก็จริงแต่แลกมาด้วยคุณภาพของสินค้า ผู้บริโภคร้อยละ 70.87 มองว่าต้นทุนไอศกรีมที่สูงนั้นมาจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนด้านการประชาสัมพันธ์สินค้า ส่วนร้อยละ 9.68 มองว่า ไอศกรีมมีราคาสูงเกินไป

7.การแข่งขัน

การแข่งขันทางการตลาดของธุรกิจไอศกรีมในประเทศจีน ปัจจุบันมี 4 แบรนด์ที่มีสัดส่วน       การครองตลาดสูง ได้แก่ Yili (อีลี่), Wall’s, Mengniu (เมิ่งหนิ่ว) และ Nestle โดยในปี 2564 ไอศกรีม   แบรนด์ Yili มีสัดส่วนครองตลาดออฟไลน์ร้อยละ 19 Wall’s ร้อยละ 15 Mengniu ร้อยละ 9 และ Nestle ร้อยละ 8

เทรนด์การเติบโตของตลาดไอศกรีมในจีน

ความคิดเห็น สคต.

ไอศกรีมเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมบริโภคในตลาดจีน โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน ซึ่งไอศกรีมสามารถช่วยดับความกระหายและคลายร้อนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีความหลากหลายทางด้านสีสันและรสชาติ ทำให้ไอศกรีมเป็นสินค้าประเภทของหวานที่ขายดีเป็นอันดับต้น ๆ ในตลาดจีน ปัจจุบัน ผู้บริโภคชาวจีนร้อยละ 50 นิยมรับประทานไอศกรีมรสช็อคโกแลต รสผลไม้และรสนม แต่ผู้บริโภครุ่นใหม่ต้องการแสวงหาไอศกรีมที่มีรูปแบบและรสชาติที่แปลกใหม่ เช่น รสไวน์ รถเหล้าข้าวเหมาไถ และรสชีส เป็นต้น ผู้ประกอบการไทยที่สนใจขยายตลาดสินค้าไอศกรีมมายังประเทศจีน จำเป็นต้องศึกษาพฤติกรรมการบริโภค สร้างจุดขายให้กับสินค้า หรืออาจจะประชาสัมพันธ์สินค้าโดยการสร้างคอนเทนต์ เรียกกระแส Soft Power เช่น การผลิตไอศกรีมที่มีรูปแบบทางวัฒนธรรมจีน-ไทย (หมีแพนด้า มังกร ช้าง)                 ก็น่าสามารถสร้างการดึงดูดและความน่าสนใจให้กับตัวสินค้าได้เป็นอย่างดี

 

*****************************************

แหล่งที่มา : https://www.163.com/dy/article/HEQQF27F0511A1Q1.html

https://www.iimedia.cn/c1086/96332.html

สคต. คุนหมิง

thThai