ในช่วงที่ผ่านมา สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจของแต่ละมณฑลในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2566 โดยมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม GDP ของมณฑลเจียงซีในช่วงสามไตรมาสแรกอยู่ที่ 2.37 ล้านล้านหยวน (ติดอันดับที่ 15 ของจีน) ขยายตัวร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยภาคบริการ (Tertiary Industry) คิดเป็นมูลค่า 1.19 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 YoY ภาคอุตสาหกรรม (Secondary Industry) คิดเป็นมูลค่า 1.04 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 YoY และ ในส่วนของภาคการเกษตร (Primary Industry) มีบทบาทต่ำสุด มีมูลค่า 137,640 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 YoY
ด้านรายได้ของผู้อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายได้ที่ใช้ได้จริงเฉลี่ยต่อหัว 24,519 หยวนต่อปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 รายได้ที่ใช้ได้จริงเฉลี่ยต่อหัวในเขตเมืองอยู่ที่ 33,560 หยวนต่อปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 และรายได้ที่ใช้ได้จริงเฉลี่ยต่อหัวในเขตชนบทอยู่ที่ 14,423 หยวนต่อปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 YoY การบริโภคในตลาดค่อยๆ ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายจ่ายด้านการบริโภคโดยเฉลี่ยต่อหัว 16,400 หยวนต่อปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 YoY แบ่งเป็นรายจ่ายด้านการบริโภคโดยเฉลี่ยต่อหัวในเขตเมือง 19,931 หยวนต่อปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 YoY และรายจ่ายด้านการบริโภคโดยเฉลี่ยต่อหัวในชนบท 12,458 หยวนต่อปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 YoY
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของมณฑลเจียงซีตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน 2566 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 YoY ทั้งนี้ ราคาของสินค้าและบริการทั้ง 8 หมวดหมู่ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ CPI ได้เพิ่มขึ้น 5 หมวดหมู่ ดังนี้
ด้านการลงทุน ตั้งแต่มกราคม-กันยนยน 2566 มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของมณฑล เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 YoY การลงทุนด้านอุตสาหกรรมบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 YoY โดยมีโครงการก่อสร้างกว่า 8,383 โครงการ โครงการที่มีมูลค่ามากกว่า 10,000 เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.6 YoY ส่งผลให้การลงทุนให้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.1
เศรษฐกิจการค้าภายในประเทศ ตั้งแต่มกราคม-กันยายน 2566 ยอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภครวม 937,600 ล้านหยวน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 YoY) หากจำแนกตามประเภทการบริโภค พบว่ายอดขายจากอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 YoY ยอดการบริการในธุรกิจที่พักเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 YoY ยอดขายรถยนต์พลังงานใหม่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.9 YoY ยอดขายค้าปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและเครื่องเสียงอัจฉริยะ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.0 YoY และยอดค้าปลีกสมาร์ทโฟน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 YoY
เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของมณฑลเจียงซี ตั้งแต่มกราคม-กันยายน 2566 มูลค่ารวมการนำเข้าและส่งออกสินค้าในมณฑลทั้งหมด 442,000 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 9.8 YoY โดยการส่งออก 316,820 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 16.0 YoY และการนำเข้า 125,180 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 YoY ทั้งนี้ สินค้าส่งออกที่สำคัญของมณฑลเจียงซี อาทิ ผลิตภัณฑ์ไฮเทคมีมูลค่าส่งออก 85,890 ล้านหยวน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 YoY) สินค้าโซลาร์เซลล์มีมูลค่า 28,200 ล้าน เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.9 YoY สินค้ารถยนต์มีมูลค่า 11,350 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 193.2 YoY และสินค้าแบตเตอรี่ลิเธียมมีมูลค่า 3,450 ล้าน เพิ่มขึ้นร้อยละ 159.5 YoY
ความเห็นสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน : ที่ผ่านมา มณฑลเจียงซีมีการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจมณฑลเจียงซีในหลายปีที่ผ่านมามีการเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะภาคบริการที่มีสัดส่วนใน GDP มากที่สุด ส่งผลให้เศรษฐกิจของมณฑลเจียงซี พัฒนาอย่างรวดเร็ว กำลังซื้อของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นโดยลำดับ มณฑลเจียงซีเป็นพื้นที่ Inland ของจีน จึงมีข้อจำกัดด้านการขนส่ง เส้นทางขนส่งมี 2 ช่องทางหลัก ได้แก่ ช่องทางที่ 1 : แม่น้ำ ต่อทะเลที่ท่าเรือในเมืองที่ใกล้ๆ อย่าง เซี่ยงไฮ้ และช่องทางที่ 2 รถไฟต่อเรือ แต่นับตั้งแต่มีเส้นทางรถไฟลาวจีน การใช้เส้นทางรถไฟเพื่อขนส่งต่อมายังมณฑลเจียงซี เป็นอีกโอกาสที่เปิดกว้างขึ้น
ทั้งนี้ จากสถิติกรมศุลกากรแห่งชาติจีน ระบุว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน 2566 มณฑลเจียงซีมีมูลค่าการค้ากับประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 1,743.64 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 9.39 YoY โดยมีมูลค่าการส่งออกไปไทยที่ 1,416.94 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 12.19 YoY และมีมูลค่านำเข้าสินค้าจากไทยที่ 326.71 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.13 YoY สินค้านำเข้าหลัก ได้แก่ สินค้าไม้ ทองแดง เยื่อไม้หรือเยื่อที่ได้จากวัตถุจำพวกเส้นใย รวมถึงกระดาษ เครื่องจักรไฟฟ้า และ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เป็นต้น
ที่มา:
http://tjj.jiangxi.gov.cn/art/2023/10/20/art_38567_4635691.html
https://m.thepaper.cn/baijiahao_25036164
เรียบเรียงโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน
17 พฤศจิกายน 2566