ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา นาย Jim Laird (ชาวสก๊อตแลนด์) วัย 43 ปี ได้ก่อตั้งธุรกิจ Foodtech Start-up ในนามว่า “Enough” ขึ้นมา โดยตั้งเป้าผลิตเนื้อสัตว์ทางเลือกขึ้นเพื่อป้อนตลาด แต่เพียงในช่วง 3 ปีแรกของการตั้งบริษัทฯ นาย Laird ก็ได้หันมาเลิกบริโภคเนื้อสัตว์อย่างจริงจัง ซึ่งต่อมานาย Laird ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “จริง ๆ แล้วเราไม่ได้ต้องการให้ใครต้องเลิกบริโภคเนื้อสัตว์ แต่เราเพียงแค่ต้องการนำเสนอทางเลือกใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภคมากกว่า” ดังนั้น นาย Laird จึงได้พัฒนาโปรตีนจากเห็ดที่มีรสสัมผัสคล้ายกับเนื้อสัตว์ขึ้นมา ซึ่งถือเป็นการเลือกธุรกิจที่ถูกทางเพราะล่าสุดบริษัทฯ เพิ่งจะได้รับเงินสนับสนุนจาก World Fund (กองทุนผู้ลงทุนด้าน Climate-Tech ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและมีศูนย์กลางตั้งอยู่ที่กรุงเบอร์ลิน เยอรมนี) และจาก CPT Capital มากถึง 40 ล้านยูโร จึงทำให้บริษัทฯ มีเงินทุนเพื่อขยายกิจการมากถึง 96 ล้านยูโร ซึ่งนั่นหมายความว่า Enough จะกลายเป็นธุรกิจ Start Up ด้านโปรตีนจากพืชรายแรกในยุโรปที่ได้เงินสนับสนุนสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา (เงินจำนวนนี้ยังไม่รวมเงินสนับสนุนที่ Enough ได้รับจากสหภาพยุโรป (EU) เข้าไป)
นาย Laird วางแผนที่จะใช้เงินก้อนนี้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยจะทำการสร้างโรงงานในเนเธอร์แลนด์ (ปัจจุบันมีพนักงาน 60 คน จาก 13 ประเทศ) เพื่อขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีก 4 เท่า ซึ่งโรงงานนี้จะถือเป็นโรงงานที่ผลิต “โปรตีนทางเลือกจากจุลินทรีย์” (หรือ Mycoprotein) เพื่อทดแทนเนื้อสัตว์ต่อไป สำหรับคนทั่ว ๆ ไปจะรู้จัก Mycoprotein ในนามว่า “โปรตีนจากเห็ด” นั่นเอง สำหรับกรรมวิธีในการสร้างโปรตีนชนิดนี้จะถูกสร้างโดยการเจริญเติบโตด้วยน้ำตาลและน้ำ ซึ่งคล้ายคลึงกับวิธีการหมักโยเกิร์ตหรือหมักเบียร์ โดยโปรตีนจะขยายตัวได้เป็นเท่าตัวในเวลา 5 ชั่วโมง ข้อดีของ Mycoprotein คือ ใช้เวลาสั้นมากในก่อตัวจนเกิดเป็นโครงสร้างที่คล้ายกับเนื้อขึ้นมา ซึ่งเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ อาทิ เนื้อหมู เนื้อไก่ และเนื้อวัว ต้องใช้เวลามากกว่า ในการเลี้ยงตั้งแต่แรกเกิดจนเติบโตเต็มวัยพร้อมฆ่าสัตว์ ยกตัวอย่างเช่น ไก่ว่าจะเลี้ยงจนพร้อมที่จะถูกเชือดนั้นต้องใช้เวลาประมาณ 40 วัน ในขณะที่ หมูต้องใช้เวลาเลี้ยงจนถึงโตเต็มวัยพร้อมจะถูกเชือดก็ประมาณ 8 เดือน วัวก็จะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี ถึงจะพร้อมนำมาทำเป็นอาหารได้ แต่พามาพิจารณากระบวนการผลิตของ Enough จะพบว่า กระบวนการเจริญเติบโตเร็วมาก โดยปัจจุบัน Enough สามารถผลิต Mycoprotein หรือโปรตีนเห็ดได้ 1.3 ตันต่อชั่วโมง ซึ่งประมาณ 10,000 ตันต่อปี ปริมาณการผลิตขนาดนี้นี่เองที่ทำให้นาย Laird ต้องการจะขยายกำลังการผลิตอีก 4 เท่าตัว โดยบริษัทฯ ต้องการจะผลิตสินค้าเนื้อโครงสร้างเส้นใยโปรตีนในแบรนด์ชื่อ “Abunda” ให้ได้ 250,000 ตันต่อปี ซึ่งเรื่องนี้นาย Laird ได้กล่าวอย่างติดตลกว่า “เนื้อของบริษัทฯ นี้สามารถที่จะนำมาผัดในกระทะและปรุงรสได้ตามชอบ โดยรสนชาติจะอร่อยหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับผู้ปรุงเป็นสำคัญ” โดย Enough ได้ผสมไขมันและปรุงรสชาติมาบ้างแล้ว แต่ลูกค้าสามารถนำเนื้อนี้มาปรุงเพิ่มได้และสามารถนำมาทำเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ อาทิ “หมูชุบแป้งทอด หมูก้อน หรือนักเก็ตไก่” ก็ได้ ลูกค้าของ Enough ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ผลิตอาหารอย่าง Unilever และธุรกิจค้าปลีกอย่าง Marks & Spencer และ Supermarket อย่าง Tesco และ Sainsbury’s โดยบริษัทเหล่านี้จะนำ Abunda ไปแปรรูปเป็นสินค้าของตัวเองต่อไป อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน Enough ไม่ใช่บริษัทเดียวที่ใช้เทคโนโลยีเพราะเลี้ยงโปรตีนเห็ดมาผลิตเนื้อทางเลือก แต่พบว่ามีบริษัท Mushlabs ของเยอรมัน ก็เพิ่งจะได้รับเงินสนับสนุนความเสี่ยงสูงกว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไปไม่นาน
ในเยอรมนีบริษัทที่เป็นผู้นำด้านเนื้อสัตว์ทางเลือก คือ บริษัท Rügenwalder Mühle (ตั้งอยู่ใกล้เมือง Oldenburg) โดยปัจจุบันยอดขายโปรตีนทางเลือกของบริษัท ฯ สูงกว่ายอดขายเนื้อสัตว์ปกติ สำหรับวัตถุดิบสำคัญที่บริษัทฯ ใช้ในการผลิตโปรตีนทางเลือก คือ พืชจำพวกถั่วเหลือง ข้าวสาลี หรือถั่วลันเตา ด้านนาย Patrick Bühr หัวหน้าแผนกวิจัยและพัฒนาของ Rügenwalder Mühle เปิดเผยกับหนังสือพิมพ์ Handelsblatt ว่า “ในอนาคต ปริมาณความต้องการบริโภคโปรตีนจากเห็ดในผลิตภัณฑ์ Vegan และอาหารมังสวิรัติ มีความน่าสนใจมาก” ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ เองก็มีโครงการทดลองผลิตโปรตีนที่ทำจากเห็ด แต่นาย Bühr ก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าบริษัทฯ จะใช้แหล่งโปรตีนดังกล่าวอย่างเป็นทางการหรือไม่ อย่างไรก็ดีบริษัท Rügenwalder Mühle ก็มองเห็นอีกหนึ่งขอได้เปรียบของโปรตีนจากเห็ด เมื่อเทียบกับโปรตีนจากพืช นั่นก็คือ โปรตีนจากเห็ดต้องการ น้ำ พลังงาน และพื้นที่กว่า ซึ่งถือเป็นการผลิตที่ยั่งยืนกว่า นอกจากนี้ โปรตีนจากเห็ดยังถือว่ามีมีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก โดยนาย Bühr ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “เราหวังว่าโปรตีนจากเห็ดจะสามารถพัฒนาจนกลายเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญได้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และตลาดสินค้าดังกล่าวจะขยายตัวอย่างมาก” ซึ่งบริษัทให้คำปรึกษา EY ก็มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยนาย Brenda Mäder และนาย Thassilo Krupke ผู้จัดการกลยุทธ์ EY ได้ไว้คาดการณ์ในปีที่ผ่านมาไว้ว่า “ในไม่ช้านี้ผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกจะกลายเป็นส่วนสำคัญจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ในอนาคต” และในรายงานของ EY ประเมินว่า ตลาดสินค้าทางเลือกทั่วโลกในปี 2021 มีมูลค่าอยู่ที่ 4.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีความเป็นไปได้ที่มูลค่าตลาดในปี 2025 จะขยายตัวขึ้นเป็นอีกเท่าตัว ปัจจุบันเยอรมนีเป็นตลาดโปรตีนทางเลือกที่ใหญ่ที่สุดของโลก จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่กลุ่มผู้ผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกจะได้รับเงินสนับสนุนสูงเป็นพิเศษ โดยในปี 2020 พวกเขาได้เงินสนับสนุนรวมกัน 3.1 พันล้านยูโร ต่อมาในปี 2021 เรียกได้ว่าเป็นปีทองของ Start Ups ของเยอรมัน โดย Startupdetector ได้รวบรวมข้อมูลให้กับ Handelsblatt ว่า พวกเขาได้เงินสนับสนุนรวมเท่ากับปี 2020 และ 2022 รวมกัน ด้านนาย Arnas Bräutigam ผู้ก่อตั้ง Startupdetector กล่าวว่า “ในปีที่ผ่านมาการจัดหาเงินทุนสนับสนุนเริ่มลดลงอีกครั้ง อย่างไรก็ตามก็ยังสูงกว่าระดับในปี 2020 อยู่ และสูงกว่ามูลค่าโดยค่าเฉลี่ยกลุ่ม Start Ups ด้านอาหารทั่วไป” ซึ่งเรื่องนี้ได้ทำให้ธุรกิจนี้มีคู่แข่งก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ทำรายงานของ EY กล่าวว่า “มี Start Ups มากกว่า 1,000 ราย ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับโปรตีนทางเลือกในทั่วโลก และปัจจุบันก็มีการแข่งขันเพื่อแย่งชิงเงินลงทุนและส่วนแบ่งตลาดอย่างรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ” ในเวลานี้การแข่งขันในตลาดโปรตีนทางเลือกกำลังก้าวเข้าสู่ช่วง “Battle of Branding” หรือการแข่งขันสร้างชื่อให้กับยี่ห้อ การที่โปรตีนจากเห็ดจะกลายมาเป็นผู้นำในตลาดได้นั้นก็จะไม่ได้มาจากนวัตกรรมเพียงอย่างเดียว แต่จะมาจากการขายและการตลาดด้วย แน่นอนที่ Enough และ Food-Start-ups อื่น ๆ ต่างก็ต้องโฆษณาว่า สินค้าของพวกเขาสร้างค่า Co2 ต่ำ และไม่มีการทดลองกับสัตว์ อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญก็ออกมาคำนวณให้เห็นว่า จากขั้นตอนการผลิตโปรตีนจากเห็ดในปัจจุบันจะสร้างค่า Co2 ต่ำกว่าเนื้อวัว แต่ปริมาณดังกล่าวก็ยังสูงเท่ากับอุตสาหกรรมเนื้อไก่และเนื้อหมูอยู่ดี แต่ในไม่ช้าผู้บริโภคชาวเยอรมันก็จะได้ทดลองชิมสินค้าจากบริษัท Enough นาย Jim Laird สัญญาว่า “เป็นไปได้ที่ผู้บริโภคชาวเยอรมันจะสามารถซื้อสินค้าของเราได้สิ้นปีนี้”
จาก Handelsblatt 11 กันยายน 2566