เมียนมาให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ในการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 พลเอกอาวุโส มินอ่องหล่าย ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ และนายกรัฐมนตรีเมียนมา กล่าวในที่ประชุมการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานประธานสภาบริหารแห่งรัฐ ในกรุงเนปยีดอว่า โรงงานในประเทศต้องดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ เศรษฐกิจของประเทศเมียนมาเติบโตร้อยละ 3.2 ในปีงบประมาณ 2565-2566 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศขึ้นอยู่กับการค้าและรายได้ตลอดจนทรัพยากรมนุษย์ด้วย GDP ของเมียนมาอยู่ในอันดับที่ 7-8 ในกลุ่มประเทศอาเซียน ระดับการส่งออกด้านการเกษตรและปศุสัตว์ของประเทศในอาเซียนมีความแตกต่างจากเมียนมามาก

ประเทศ GDP

(พันล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ไทย 536.16
มาเลเซีย 407.923
เวียดนาม 406.452
เมียนมา 60

 

ภาคการเกษตรของเมียนมามีสัดส่วนไม่มากใน GDP ของประเทศ เมียนมาเพาะปลูกข้าวเปลือกมรสุม 14.9 ล้านเอเคอร์ในปี 2566 และมีพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า 13 ล้านเอเคอร์ ซึ่งในจำนวนนี้ พื้นที่การเกษตร 6.6 ล้านเอเคอร์เป็นการปลูกพืชแบบทวิกสิกรรม (Double Crops) และ 7.3 ล้านเอเคอร์เป็นการปลูกถั่ว ทานตะวัน มันสำปะหลัง หรือพืชอื่น ๆ หากพื้นที่เพาะปลูก 1 เอเคอร์สร้างผลผลิตมูลค่า 1 ล้านจ๊าต ประเทศจะได้รับผลิตภัณฑ์มูลค่า 7,300 พันล้านจ๊าต ซึ่งจะทำให้สัดส่วนของภาคเกษตรใน GDP เพิ่มขึ้น

การปลูกพืชน้ำมันมีพื้นที่ 800,000 เอเคอร์ ซึ่งไม่รวมน้ำมันปาล์มในปีงบประมาณ 2565-2566 คาดว่าจะสามารถผลิตน้ำมันได้ 690,000 ตัน ในขณะที่การเพาะปลูกฝ้าย พืชสวนครัว กาแฟ ชา และงานเพาะพันธุ์ปศุสัตว์

ทั้งนี้ เมียนมาเผชิญกับการขาดดุลการค้ามากกว่า 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ระหว่างปี 2554 ถึง 2559 และ 12.61 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ระหว่างปี 2559-2564 รัฐบาลได้แก้ไขการใช้จ่ายเงินตราต่างประเทศโดยความช่วยเหลือและเงินกู้ระหว่างประเทศ โดยรัฐบาลเมียนมาพยายามให้ประชาชนประหยัดการใช้จ่าย และใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศแทนการนำเข้า โดยช่วยภาคการเกษตรโดยรัฐบาลจะนำเข้าปุ๋ยในปริมาณที่จำเป็นรวมถึงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยธรรมชาติและปุ๋ยชีวภาพในฟาร์มเกษตร

ในด้านไฟฟ้า โครงการผลิตไฟฟ้าถูกระงับและยกเลิกตามเงื่อนไขของรัฐบาลชุดที่แล้ว ทำให้ประเทศมีไฟฟ้าใช้ไม่เพียงพอ จึงมีความจำเป็นต้องผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กและโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ปัญหาหนึ่งที่มีความสำคัญคือ ต้องจัดการกับการค้าที่ผิดกฎหมายซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อรายได้ของประเทศ รวมถึงสินค้าที่นำเข้าอย่างผิดกฎหมายผ่านทางชายแดน

********************************************

ที่มา: Global New Light of Myanmar

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง

วันที่ 6 กรกฎาคม 2566

thThai