“เสื้อผ้าสีสดใสเสริมความมั่นใจให้ผู้บริโภคกลุ่มซีเนียร์”“เสื้อผ้าสีสดใสเสริมความมั่นใจให้ผู้บริโภคกลุ่มซีเนียร์”แบรนด์ “YOUKA” ซึ่งเป็นแบรนด์เสื้อผ้าสำหรับกลุ่มผู้หญิงวัย 60 – 70 ปี กำลังได้รับความสนใจจากกลุ่มวงการแฟชั่น ด้วยสีสันที่สดใสและทรงเสื้อที่ดูสง่า สร้างความแตกต่างจากเสื้อผ้ากลุ่มซีเนียร์ที่ผ่านมา บริษัทได้ก่อตั้งเว็บไซต์จำหน่ายสินค้าทางออนไลน์เมื่อ 2 ปีก่อน และมีลูกค้าใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สินค้าที่ขายดี เช่น เสื้อคลุมคาร์ดิแกนสีสดใสอย่างสีชมพูและสีแดง
“เสื้อผ้าสีสดใสเสริมความมั่นใจให้ผู้บริโภคกลุ่มซีเนียร์”ที่ผ่านมา บริษัทฯ เป็นผู้จำหน่ายสินค้าสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลพยาบาล และได้สังเกตเห็นว่า เสื้อผ้าสำหรับผู้สูงอายุที่ดูสวยงามมีให้เลือกไม่มากนัก อาจเป็นเพราะคนออกแบบและผลิตเสื้อผ้าสำหรับผู้สูงอายุไม่ใช่คนสูงอายุ ทำให้คิดไปเองว่า ผู้สูงอายุชอบเสื้อผ้าสไตล์เรียบๆ สีทึมๆ จึงผลิตและจำหน่ายแต่เสื้อผ้าที่มีดีไซน์แบบนั้น
“เสื้อผ้าสีสดใสเสริมความมั่นใจให้ผู้บริโภคกลุ่มซีเนียร์”ประธานบริษัทฯ เล่าว่า ตอนที่ก่อตั้งแบรนด์ “YOUKA” บริษัทฯ ได้สอบถามและรับฟังความคิดเห็นจากผู้ใช้สินค้าสำหรับผู้สูงอายุของบริษัทอย่างจริงจัง ทำให้ทราบว่า มีผู้สูงอายุไม่น้อยกังวลกับหุ่นของตัวเอง บริษัทจึงได้ทำหุ่นที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุขึ้นมาโดยเฉพาะ และพยายามออกแบบเสื้อผ้าที่มีความสวยงามและสวมใส่ง่าย นอกจากนี้ ยังให้ช่างภาพถ่ายรูปผู้หญิงวัยซีเนียร์สวมเสื้อที่มิกส์แอนด์แมช โดยใช้สถานที่ถ่ายรูปเป็นซีนในเมืองและลงรูปเหล่าบนเว็บไซต์เพื่อให้ลูกค้าสามารถจินตนาการไลฟ์สไตล์ได้ ประธานบริษัทฯ กล่าวว่า “เมื่อผู้สูงอายุใส่ใจในความสวยงาม ก็จะทำให้อยากออกนอกบ้านมากขึ้นและมีการเข้าสังคมมากขึ้น มองเห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น แฟชั่นสามารถช่วยให้ผู้สูงอายุแจ่มใสและสดชื่น” บริษัทพยายามลองทำสิ่งใหม่ๆ เช่น จ้าง Instagrammer วัย 71 ปี เป็นนางแบบ หรือจัดแฟชั่นโชว์เล็กๆในสถานดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น
ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับผู้สูงอายุนั้น ส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้สูงอายุ ทำให้บ่อยครั้งที่สินค้าและบริการไม่ตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุ หากบริษัทไม่มีความรู้สึกและความตั้งใจที่จะอยู่เคียงข้างผู้สูงอายุ ก็อาจไม่สามารถนำเสนอสินค้าที่ได้รับความนิยมในสังคมสูงอายุได้

บทวิเคราะห์ (ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย)
ประชากรผู้สูงอายุของญี่ปุ่นขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยประชากรญี่ปุ่น (สถิติ ณ เดือนกันยายน 2565) ลดลง 8.2 แสนคนเมื่อเทียบจากปีก่อน มีประชากรผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 65 ปี) 36.27 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 6 หมื่นคน และมีจำนวนสูงสุดเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.1 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในโลก (รองลงมา คือ ประเทศอิตาลี มีผู้สูงอายุสัดส่วนร้อยละ 24.1 และประเทศฟินแลนด์มีสัดส่วนร้อยละ 23.3) (ข้อมูลจาก Statistics Bureau of Japan) ตลาดผู้สูงอายุของญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในตลาดที่น่าสนใจ ด้วยแนวโน้มประชากรผู้สูงอายุที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจของธนาคารมิซูโฮ พบว่า มูลค่าตลาดผู้สูงอายุในปี 2568 จะมีมูลค่ากว่า 100 ล้านล้านเยน หรือประมาณ 30 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นตลาดอุตสาหกรรมทางการแพทย์และพยาบาล 50.2 ล้านล้านเยน และตลาดอุตสาหกรรมด้านการดำรงชีวิต เช่น สิ่งของที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงกิจกรรมสันทนาการต่างๆ 51.1 ล้านล้านเยน ทำให้มีบริษัทจำนวนมากพยายามบุกตลาดนี้ จึงเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูง หากผู้ประกอบการไทยสามารถนำเสนอสินค้าและบริการที่เหมาะกับกลุ่มผู้สูงอายุและสามารถบุกตลาดญี่ปุ่นได้ ก็มีแนวโน้มที่การส่งออกจะขยายตัวในอนาคตอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
————————————–
อ้างอิง
หนังสือพิมพ์ Nikkei MJ ฉบับวันที่ 14 พฤษภาคม 2566
ภาพประกอบข่าวจากเว็บไซต์ https://youka.site/
และ Instagram @_youka_
ภาพประกอบแบนเนอร์ Instagram @_youka_

thThai