“โคอิเคะ ชนะการเลือกตั้งผู้ว่าฯ โตเกียว สมัยที่ 3”

                ในคืนวันที่ 7 กรกฎาคม 2567 นางยูริโกะ โคอิเคะ ผู้ว่าราชการกรุงโตเกียวคนปัจจุบัน ประกาศชัยชนะเลือกตั้ง เป็นสมัยที่ 3 เอาชนะผู้สมัครหน้าใหม่ที่เรียกร้องการปฏิรูปการบริหารของกรุงโตเกียว ที่เผชิญกับปัญหามากมาย เช่น ภาวะประชากรสูงอายุและการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดการเงิน เศรษฐกิจของเมืองหลวงที่ส่งผลต่อทั้งประเทศญี่ปุ่น ประชาชนคาดหวังว่านโยบายต่อเนื่องของนางโคอิเคะจะช่วยแก้ไขปัญหาภาวะประชากรลดลงจะประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น
                 การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงโตเกียวครั้งนี้เป็นการประเมินผลงานของการบริหารกรุงโตเกียวภายใต้การนำของ ผู้ว่าฯ โคอิเคะ ประชาชนโตเกียวเลือกความต่อเนื่อง นางโคอิเคะได้ชูผลงานเช่น “018 Support” ที่ให้เงินสนับสนุนคนละ 5,000 เยนต่อเดือน สำหรับเด็กอายุ 0-18 ปี
“โคอิเคะ ชนะการเลือกตั้งผู้ว่าฯ โตเกียว สมัยที่ 3”นางโคอิเคะกล่าวว่า “ฉันได้รับการประเมินจากผลงานที่ทำมาในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา” จากผู้ว่าราชการกรุงโตเกียวที่มีทั้งหมด 9 คน นางโคอิเคะเป็นคนที่ 5 ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 3 ก่อนหน้านี้มีนายชินทาโร่ อิชิฮาระ ที่ดำรงตำแหน่งสมัยที่ 4 จนถึงปี 2012 พร้อมทั้งกล่าวอีกด้วยว่า “จะสร้างโตเกียวที่ไม่มีภาระในด้านการเลี้ยงดูและการศึกษา” โดยมีนโยบายหลักคือการสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็ก สร้างระบบสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการคลอดแบบไม่เจ็บปวด (epidural anesthesia) และขยายการศึกษาฟรีให้ครอบคลุมถึงลูกคนที่ 2 เป็นต้นไป

                ประเด็นปัญหาภาวะประชากรลดลง โตเกียวซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดึงดูดประชากรจากทั่วประเทศทั้งในระดับการศึกษาและการจ้างงาน มีอัตราการเกิดรวมในปี 2023 อยู่ที่ 0.99 ลดลงจาก 1.24 ในปี 2016 ซึ่งเป็นปีที่โคอิเคะได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูเด็กในปี 2024 ของกรุงโตเกียวเพิ่มขึ้น 11% จากปีที่แล้ว อยู่ที่ประมาณ 1.8 ล้านล้านเยน การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการแต่งงานและการมีลูกเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จต่อเนื่อง
                นางโคอิเคะ ได้ย้ำเรื่อง “การป้องกันสาธารณภัยเมืองหลวง” ในการเลือกตั้ง โดยมีการเตรียมการรับมือกับแผ่นดินไหวที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในโตเกียว การทบทวนโครงการที่ไม่จำเป็นเพื่อรักษางบประมาณที่จำเป็นก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
การเลือกตั้งครั้งนี้เน้นไปที่การดำรงชีวิตของประชาชน 14 ล้านคนที่อาศัยในกรุงโตเกียว ถึงแม้จะมีการอภิปรายเรื่องเมืองหลวงในฐานะเมืองนานาชาติที่ดึงดูดคน สินค้า และเงินจากทั่วโลกน้อย แต่ก็เป็นประเด็นสำคัญในการบริหารกรุงโตเกียวสมัยที่ 3 ของนางโคอิเคะ
โตเกียวอยู่ในอันดับ 3 ของ “การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของเมืองทั่วโลก” ปี 2023 รองจากลอนดอนและนิวยอร์ก การยกระดับสถานะในฐานะเมืองการเงินนานาชาติและการพัฒนา startup เป็นกลยุทธ์การเติบโตที่จำเป็น ปัญหาอัตราการเกิดที่ต่ำกว่าในชนบทที่โตเกียวเผชิญไม่ใช่ปัญหาของคนโตเกียวเท่านั้น ถ้าไม่เร่งปรับปรุงจะทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาภาวะประชากรลดลงทั่วประเทศได้
               การคาดหวังในฐานะผู้นำเศรษฐกิจญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น ตามรายงานของกรุงโตเกียว GDP ที่เป็นตัวเงิน (Nominal GDP) ในปี 2021 ของกรุงโตเกียว อยู่ที่ 113.7 ล้านล้านเยน คิดเป็น 20.7% ของ GDP ทั้งประเทศ ดังนั้น วัฏจักรที่ดีที่การเติบโตในกรุงโตเกียวจะส่งต่อไปยังชนบทจะทำให้เศรษฐกิจท้องถิ่นแข็งแกร่งขึ้น

บทวิเคราะห์ (ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย)
             โตเกียวเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่น มีประชากรถึง 14 ล้านคน เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น มีอิทธิพลต่อเขตการปกครองอื่น ๆ ในญี่ปุ่น การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงโตเกียวครั้งนี้ได้รับความสนใจจากทั่วประเทศ นางโคอิเคะซึ่งได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการตั้งแต่ปี 2016 ครั้งนี้ชูนโยบาย 1) การเพิ่มอัตราการเกิด 2) การเตรียมความพร้อมด้านป้องกันสาธารณภัย 3) การดำเนินโครงการต่อเนื่อง 4) การเสริมสร้างสวัสดิการผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นนโยบายที่ได้รับความสนใจอย่างสูงในกรุงโตเกียวและมีแนวโน้มที่จะได้รับความสำคัญมากขึ้นในอนาคต เช่น การเพิ่มอัตราการเกิด มีแผนการให้เงินสนับสนุนการรักษาภาวะมีบุตรยาก การเตรียมความพร้อมด้านป้องกันสาธารณภัย ซึ่งแม้ในปัจจุบันจะยังไม่มีที่หลบภัยใต้ดินในญี่ปุ่น แต่ก็มีแผนสร้างที่หลบภัยใต้ดินแห่งแรกในปี 2023 และคาดว่าการก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นทั้งภาครัฐและเอกชน ส่งผลให้มีความต้องการวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์การหลบภัย นอกจากนั้นนโยบายการเสริมสร้างสวัสดิการผู้สูงอายุ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นและขาดแคลนบุคลากรในการดูแล อาจส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่ป้องกันภาวะสมองเสื่อมและช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมรวมถึงการสรรหาบุคลากรผู้ดูแลมีความต้องการเพิ่มขึ้น

 

ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ฉบับที่ 41 วันที่ 6 – 12 กรกฎาคม 2567
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
อ้างอิงจาก
หนังสือพิมพ์เศรษฐกิจญี่ปุ่น (Nikkei News) ฉบับวันที่ 8 กรกฎาคม 2567

jaJapanese