แนวโน้มสินค้าเครื่องประดับในตลาดเกาหลีใต้

แม้ว่าตลาดเครื่องประดับทั้งหมดของเกาหลีลดลงร้อยละ 13.1 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในเกาหลีที่เผชิญกับอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยสูง แต่การเติบโตของตลาดเครื่องประดับเทียมหรือเครื่องประดับแฟชั่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากการบริโภคเครื่องประดับเงินในหมู่ผู้บริโภค รวมถึง มูลค่าของเครื่องประดับนำเข้าก็เติบโตถึงร้อยละ 20 ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 4 ปี เป็นผลจากรูปแบบการบริโภคและความต้องการต่อสินค้าแบรนด์หรู

ภาพรวมตลาดเครื่องประดับเกาหลีใต้

ในปี 2566 มีการคาดการณ์ว่าขนาดของตลาดเครื่องประดับทั้งหมดของเกาหลีใต้อยู่ที่ประมาณ 5.51 ล้านล้านวอน ลดลงร้อยละ 13.1 จากปีก่อนหน้า เนื่องจากการบริโภคที่ได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย อาทิ อัตราดอกเบี้ยและราคาของสินค้าที่สูง

 

แนวโน้มสินค้าเครื่องประดับในตลาดเกาหลีใต้

 

แนวโน้มสินค้าเครื่องประดับในตลาดเกาหลีใต้ตลาดเครื่องประดับในเกาหลีแบ่งได้เป็น สินค้าสำหรับงานแต่งงาน (Wedding Jewelry) และสินค้าที่ไม่ใช่สำหรับงานแต่งงาน (Non-wedding Jewelry) ซึ่งตลาดของเครื่องประดับที่ไม่ใช่สำหรับงานแต่งงานจะมีขนาดที่ใหญ่กว่า โดยในปี 2566 คิดเป็นร้อยละ 86.4 ของตลาดเครื่องประดับทั้งหมด

 

  • ตลาดสินค้าสำหรับงานแต่งงาน มูลค่าของตลาดเครื่องประดับสำหรับงานแต่งงานลดลงอย่างต่อเนื่อง ในปี 2566 มีมูลค่า 3.95 แสนล้านวอน ลดลงเกือบครึ่งหนึ่งของปี 2560 เนื่องจากอัตราการสมรสในเกาหลีลดลง
  • ตลาดสินค้าที่ไม่ใช่สำหรับงานแต่งงาน ในปี 2560 เป็นมูลค่า 4.7 ล้านล้านวอน ลดลงร้อยละ 13.8 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยตลาดจะแบ่งเป็นตลาดสินค้าทั่วไปและตลาดเครื่องประดับแฟชั่น (Fashion/Imitation Jewelry) ซึ่งตลาดสินค้าทั่วไปมีส่วนแบ่งการตลาดที่สูงกว่า แต่ตลาดเครื่องประดับแฟชั่นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 จากปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของเครื่องประดับจากเงินที่มีราคาต่อหน่วยสูง และส่งผลต่อการฟื้นตัวของตลาด

แนวโน้มสินค้าเครื่องประดับในตลาดเกาหลีใต้

 

แนวโน้มสินค้าเครื่องประดับในตลาดเกาหลีใต้

อย่างไรก็ดี ขนาดตลาดเครื่องประดับเกาหลีมีแนวโน้มหดตัว เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันที่ทั่วโลกกำลังประสบกับรายได้ลดลง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนเงินที่สูงขึ้น ความสนใจของผู้บริโภคต่อเครื่องประดับก็กำลังลดลงไปตามลำดับ ดังนั้น จึงมีการคาดการณ์ว่าตลาดเครื่องประดับจะเติบโตได้ค่อนข้างยากในช่วงเวลานี้

 

แนวโน้มของเครื่องประดับแฟชั่นในเกาหลีใต้

  • คำนิยามของ “เครื่องประดับแฟชั่น”

สินค้าเครื่องประดับชนิดแฟชั่นหรือเทียมถูกจัดให้อยู่หมวดของเครื่องประดับที่ไม่ใช่สำหรับงานแต่งงาน (Non-wedding Jewelry) ซึ่งรวมแหวน ต่างหู สร้อยคอ จี้ สร้อยข้อมือ เข็มกลัด กำไลข้อเท้า เครื่องประดับผม เข็มกลัดเน็กไท และกระดุมข้อมือ ที่ผลิตโดยโลหะเงินผสม โลหะ หนัง *ไม่รวมเครื่องประดับที่ทำมาจากวัสดุทองหรือแพลตตินั่ม

  • จำนวนเครื่องประดับแฟชั่นที่ผู้บริโภคเลือกซื้อ

ในปี 2566 ผู้บริโภคจำนวนร้อยละ 51.9 เลือกซื้อเครื่องประดับแฟชั่นเพียง 1 ชิ้น ในขณะที่ร้อยละ 48.1 มักเลือกซื้อตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป และอัตราการซื้อเฉลี่ยอยู่ที่ 1.73 ชิ้น เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า

    • เมื่อพิจารณาตามเพศ อัตราการซื้อของผู้บริโภคเพศชายลดลง ต่างกับผู้บริโภคเพศหญิงที่มีอัตราการซื้อเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
    • เมื่อพิจารณาตามช่วงอายุ มีอัตราการซื้อเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มอายุ ยกเว้นกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไป

แนวโน้มสินค้าเครื่องประดับในตลาดเกาหลีใต้

 

  • อัตราการซื้อเครื่องประดับแฟชั่น แบ่งตามปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

อัตราการซื้อเครื่องประดับแฟชั่นในปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 16.5 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับปี 2565 อย่างไรก็ตาม อัตราการซื้อนี้ถือว่ายังไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการระบาดของ COVID-19 ที่มีอัตรา 18.4-19.4 เป็นผลจากฐานของผู้บริโภคลดลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย

 

แนวโน้มสินค้าเครื่องประดับในตลาดเกาหลีใต้

แนวโน้มสินค้าเครื่องประดับในตลาดเกาหลีใต้

  • ความนิยมของต่างหูที่เคยมีอัตราการซื้อสูงถึงประมาณร้อยละ 30 ได้ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

 

แนวโน้มสินค้าเครื่องประดับในตลาดเกาหลีใต้

 

    • เครื่องประดับแฟชั่นทำจากวัสดุเงินได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 แต่ความนิยมของเครื่องประดับจากวัสดุโลหะลดลงเมื่อไม่นานมานี้
    • เครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากเงินเป็นที่นิยมในกลุ่มเพศชาย (ร้อยละ 53.6) มากกว่าเพศหญิง และจากช่วงอายุ ความชอบในกลุ่มอายุ 20 สูงถึงร้อยละ 46.0 และกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไป มีอัตราร้อยละ 56.0

แนวโน้มสินค้าเครื่องประดับในตลาดเกาหลีใต้

    • การซื้อเครื่องประดับแฟชั่นราคาถูกในช่วง 10,000 วอนลดลงเล็กน้อย ในทางกลับกัน การซื้อในช่วงราคา 50,000 วอนมีการเพิ่มขึ้น

แนวโน้มสินค้าเครื่องประดับในตลาดเกาหลีใต้

    • ช่องทางการซื้อเครื่องประดับแฟชั่นหลัก ได้แก่ ร้านค้าปลีกทั่วไป ซึ่งมีอัตราการซื้อสูงสุดที่ร้อยละ 59.1
    • อัตราการซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ (ร้อยละ 17.1) เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับปีก่อน และสำหรับคนที่อายุ 20 และ 30 ปี จะมีการซื้อผ่านช่องทางออนไลน์นั้นค่อนข้างสูงกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ
  • การคาดการณ์ต่ออัตราการซื้อเครื่องประดับแฟชั่น
    • คาดว่าอัตราการซื้อของกลุ่มผู้บริโภคในช่วงอายุ 20 30 และ 50 ปี จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่อัตราการซื้อเครื่องประดับแฟชั่นของกลุ่มผู้บริโภคช่วงอายุ 40 และ 60 ปี จะลดลง ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน และแนวโน้มการบริโภคสินค้าของกลุ่มอายุที่แตกต่างกัน

การนำเข้าเครื่องประดับมายังเกาหลีใต้

  • เครื่องประดับนำเข้า (HS code 7113)
    • การนำเข้าเครื่องประดับยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.8 จากปีก่อนหน้ามูลค่าคิดเป็น 1.112 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งนับเป็นสถิติสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2565 สวนทางกับขนาดตลาดเครื่องประดับโดยรวมที่ลดลงเป็นอย่างมาก
    • การนำเข้าส่วนใหญ่มาจาก 4 ประเทศที่เป็นเจ้าของแบรนด์หรู อาทิ ฝรั่งเศส อิตาลี สหรัฐอเมริกา และสวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นร้อยละ 90.9 ของการนำเข้าเครื่องประดับทั้งหมด

แนวโน้มสินค้าเครื่องประดับในตลาดเกาหลีใต้

  • เครื่องประดับแฟชั่นนำเข้า (HS code 7117)
    • มูลค่าการนำเข้าเครื่องประดับแฟชั่นสูงถึง 164 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 จากปีก่อน โดยประเทศที่นำเข้าเครื่องประดับแฟชั่นหลัก ได้แก่ จีน (ร้อยละ 43.7) เนื่องจากสินค้ามีราคาถูก และอิตาลี (ร้อยละ 21.2) เยอรมนี (ร้อยละ 11.1) รวมถึง ฝรั่งเศส ที่มุ่งเน้นการผลิตแบรนด์หรู

แนวโน้มสินค้าเครื่องประดับในตลาดเกาหลีใต้

 

โอกาสสำหรับผู้ส่งออกไทย

  • อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีในปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.2 เนื่องจากการขยายตัวของการส่งออกยังดำเนินไปได้ยาก จากความไม่แน่นอนในระบบเศรษฐกิจมหภาคที่เพิ่มขึ้นและการบริโภคที่ลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยที่สูง
  • แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีจะส่งผลกระทบให้ขนาดตลาดเครื่องประดับโดยรวมของเกาหลีลดลง แต่การนำเข้าเครื่องประดับจากต่างประเทศขยายตัวสูงขึ้น
    • ปัจจัยสำคัญ ที่ผู้บริโภคร้อยละ 78 ให้ความสนใจมากที่สุดในการซื้อเครื่องประดับแฟชั่น ได้แก่ การออกแบบและสไตล์ โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคเพศหญิงในวัย 20-30 ปีที่มีอัตราการซื้อเครื่องประดับ แฟชั่นสูง ผู้ประกอบการไทยจึงควรให้ความสำคัญกับปัจจัยนี้
  • นอกจากนี้ การแพร่กระจายของวัฒนธรรม Flex หรือการใช้จ่ายอย่างเต็มที่ของกลุ่มคนรุ่น MZ ต่อแบรนด์หรู ก็มีส่วนช่วยในการขยายยอดจำหน่ายของแบรนด์นำเข้า
  • แบรนด์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกกำลังดำเนินกิจกรรมการตลาดต่างๆ เช่น การสร้างร้านค้าออนไลน์ เกมมือถือ การจัดนิทรรศการ และการแต่งตั้งแบรนด์แอมบาสเดอร์ในเกาหลี
  • สำหรับผู้ผลิตเครื่องประดับของไทย การสร้างและขยายเครือข่ายผ่านการแลกเปลี่ยนเชิงรุกกับผู้นำเข้าและผู้จัดจำหน่ายเครื่องประดับของเกาหลีถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก รวมถึงการเจาะตลาดกลุ่ม MZ โดยนำเสนอสินค้าที่มีดีไซน์ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว หรือสินค้าที่เชื่อมโยงกับความเชื่อต่างๆ เช่น การเสริมดวงความรัก ก็น่าสนใจเช่นกัน

ความเห็นสำนักงานฯ ในปัจจุบัน ตลาดเครื่องประดับของเกาหลีได้เข้าสู่ช่วงชะลอตัว ด้วยภาวะของสังคมเกาหลีที่มีอัตราการแต่งงานลดลงและเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลให้ผู้บริโภคต่างก็ลดค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ดี เครื่องประดับแฟชั่นที่ผลิตจากทั้งในประเทศและนำเข้ากลับมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เมื่อพิจารณาจากอัตราการซื้อสินค้าแล้ว เห็นได้ว่าหมวดสินค้านี้กำลังอยู่ในช่วงฟื้นฟู ซึ่งปัจจัยหลักที่ส่งเสริมการเติบโตมาจากวัฒนธรรมการใช้จ่ายอย่างเต็มที่ของกลุ่มอายุ 20 และ 30 ปี รวมถึง การให้ความสนใจต่อการออกแบบ และมุมมองต่อเครื่องประดับเปรียบเหมือนการแสดงลักษณะเฉพาะตนเช่นกัน

 

แม้ตลาดเครื่องประดับแฟชั่นนำเข้าในเกาหลีจะถูกครองโดยจีนและแบรนด์หรูเป็นหลัก แต่สินค้าเครื่องประดับแฟชั่นของไทยในเกาหลีก็ยังมีโอกาสและศักยภาพในการขยายตลาด โดยเกาหลีนำเข้าเครื่องประดับแฟชั่นจากไทยอย่างต่อเนื่อง มีมูลค่านำเข้าถึง 7 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2566 อีกทั้งแนวโน้มของสินค้าเครื่องประดับแฟชั่นไทยมีความหลากหลายมากขึ้น อาทิ การออกแบบร่วมสมัยที่สามารถสวมใส่ได้ทุกวัย การออกแบบเครื่องประดับสายมู และการทำการตลาดผ่านช่องทางการค้าออนไลน์ที่น่าสนใจ เป็นต้น ทั้งนี้ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้อง เช่น Bangkok Gems & Jewelry Fair ก็จะยิ่งเป็นการเปิดโอกาสพบปะและทำการค้ากับผู้นำเข้าเกาหลีมากยิ่งขึ้น

 

******************************

สำนักงานผู้แทนการค้า ณ เมืองปูซาน

ソウルの海外貿易促進事務所

25 มีนาคม 2567

 

ที่มาข้อมูล:

  • Fashion Jewelry Consumers Survey, 01.11, Wolgok Jewelry Foundation
  • The Status of Korea Jewelry Market 2023, 03.08, Wolgok Jewelry Foundation
  • Trends in Import & Export of Korea Jewelry Industry 2023, 2024.02.22, Wolgok Jewelry Foundation
jaJapanese