รัฐบาลแอฟริกาได้ลดภาษีนำเข้าไก่ชั่วเคราว เนื่องจากไข้หวัดนกได้ทำลายฟาร์มสัตว์ปีกของแอฟริกาใต้ เมื่อเร็วนี้ๆ คณะกรรมการบริหารการค้าระหว่างประเทศ (ITAC) ได้ประกาศว่าจะลดภาษีนำเข้า ดังนี้
ภาษีนำเข้าสำหรับซี่โครงไก่ จะลดลงจาก 31% เหลือ 0%
ภาษีนำเข้าไก่ไร้กระดูก จะลดลงจาก 42% เหลือ 12%
ภาษีนำเข้าเครื่องในไก่ จะลดลงจาก 30% เหลือ 0%
ภาษีนำเข้าเนื้อไก่ติดกระดูก จะลดลงจาก 62% เหลือ 37%
โดยคณะกรรมาธิการกล่าวว่า มาตรการดังกล่าวจะดำเนินการชั่วคราวเพื่อเพิ่มการนำเข้า และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนไก่ จำนวน 172,000 ตันในปีนี้ ภายหลังการระบาดของโรคไข้หวัดนก เมื่อปีที่แล้ว
นอกจากนี้ พอล แมทธิวส์ ผู้บริหารระดับสูงของสมาคมผู้นำเข้าและส่งออกเนื้อสัตว์ (AMIE) กล่าวกับ News24 ว่า การลดภาษีจะส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคไก่เหมือนเดิม ถ้าราคาไก่ลดลง
ทั้งนี้ ข้อมูลจาก Pietermaritzburg Economic Justice and Dignity ระบุว่า ช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา ราคาไก่แช่แข็งในแอฟริกาใต้ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ เมื่อปี 2562 (ช่างเดือนธันวาคม) ไก่แช่แข็ง 10 กิโลกรัม ราคา 336.94 แรนด์ (หรือประมาณ 640 บาท) แต่เมื่อปี 2566 (ช่างเดือนธันวาคม) ราคา 408.68 แรนด์ (หรือประมาณ 776 บาท)
อย่างไรก็ตาม คุณ Izaak Breitenbach ผู้จัดการทั่วไปของสมาคมสัตว์ปีกแอฟริกาใต้ ( South African Poultry Association : SAPA) กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าได้มีไข้หวัดนกระบาด แต่ช่วงเดือนกันยายน และเดือนธันวาคม 2566 ไม่ได้ขาดแคลนไก่ ดังนั้น ไม่มีเหตุผลที่จะลดภาษีนำเข้าไก่ชั่วคราว เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสัตว์ปีกในประเทศซึ่งอยู่ระหว่างการฟื้นตัวจากไข้หวัดนก นอกจากนี้ คุณ Breitenbach กล่าวเพิ่มเติมว่า ปีที่ผ่านมาราคาวัตถุดิบสูงมากและประสบปัญหาไฟดับบ่อย ซึ่งได้เรียกร้องให้รัฐบาลช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่การลดภาษีนำเข้าไก่ชั่วตราวนี้ จะทำให้ปัญหาของอุตสาหกรรมสัตว์ปีกทวีความรุนแรงเพิ่มขึน
ปีที่ผ่านมา พบว่าการนำเข้าไก่ติดกระดูกลดลง 27% ซึ่งมีสาเหตุมาจากภาษีนำเข้าที่สูง รวมทั้งปัญหาด้านโลจิสติกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปํญหาที่ท่าเรือที่ใช้เวลานานเนื่องจากความแออัดในท่าเรือ อาทิ ท่าเรือเคปทาวน์ กำลังประสบปัญหาการแออัดที่ท่าเรือ เนื่องจากอุปกรณ์ชำรุด และประสิทธิภาพในการบริหารจัดการท่าเรือต่ำลง
ข้อมูลจากสมาคมส่งออกและนำเข้าเนื้อไก่ของแอฟริกาใต้ ระบุว่า ปี 2566 แอฟริกาใต้นำเข้าไก่ (ไม่รวม MDM หรือ เนื้อบด) จากบราซิลมาที่สุด (68%) รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา (22%) อาร์เจนติน่า (5%) ตามลำดับ
ความเห็น ของ สคต. ปี 2566 แม้ว่า แหล่งนำเข้าไก่ของแอฟริกาใต้มาจาก บราซิล สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา มากเป็นอันดับต้น แต่พบว่า ปี 2566 แอฟริกาใต้ก็มีการนำเข้าสัตว์ปีกจากไทยด้วย อาทิ ไก่แช่เย็นแช่แข็ง เป็ดแช่เย็นแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูป โดยผลิตภัณฑ์ที่แนวโน้มดีขึ้นคือ ไก่แช่เย็นแช่แข็ง ปี 2566 ไทยส่งออกไปยังแอฟริกาใต้มูลค่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 60 ดังนั้น การลดภาษีนำเข้าไก่ชั่วคราวของแอฟริกาใต้จะเป็นโอกาสของผู้ส่งออกไก่ไทยด้วยเช่นกัน
แหล่งข่าว : www.news24.com
プレトリア国際貿易促進局
มกราคม 2567