1. สถานการณ์ตลาดและแนวโน้มสินค้า

1.1 ความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภค

สาธารณรัฐเช็กเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลและสามารถผลิตได้เพียงปลาน้ำจืดเท่านั้น ดังนั้นความต้องการของสินค้ากุ้ง (แช่แข็ง แช่เย็น ในน้ำเกลือ ในภาชนะที่อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้) จะต้องพึ่งพาการนำเข้าเป็นหลักแม้ว่ากุ้งเพิ่งเป็นที่รู้จักในตลาดเช็ก เมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา หลังจากเปิดประเทศเมื่อปี 1990 และผู้บริโภคชาวเช็กจำนวนมากยังขาดความรู้เกี่ยวกับการปรุงอาหารด้วยผลิตภัณฑ์จากกุ้ง โดยมองว่ากุ้งถือเป็นสินค้าราคาสูง แต่อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2565 มีการนำเข้าสินค้าดังกล่าว จำนวนกว่า 3 ล้านกิโลกรัม หากเปรียบเทียบกันแล้ว ความต้องการของปลาทะเล (แช่แข็ง แช่เย็น สด) ยังสูงกว่ากุ้งอยู่ค่อนข้างมาก โดยความต้องการของปลาทะเล จะอยู่ที่ 40 ล้านกิโลกรัมต่อปี

ปี 2565 การบริโภคปลารวมอาหารทะเลและสัตว์น้ำอื่นๆ ในสาธารณรัฐเช็ก คิดเป็นจำนวน 5.9 กิโลกรัมต่อคน ในขณะที่การบริโภคเนื้อสัตว์อยู่ที่ 83 กิโลกรัมต่อคน แม้ว่าการบริโภคปลา อาหารทะเล และสัตว์น้ำอื่นๆ ต่อปีจะค่อนข้างต่ำ แต่ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ ผู้บริโภคชื่นชอบปลา อาหารทะเล และสัตว์น้ำอื่นๆ มากขึ้น แต่ยังจำกัดอยู่ในพื้นที่เมืองเป็นส่วนใหญ่

1.2 กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย แบ่งเป็น ภาคบริการด้านอาหาร (โรงแรม ร้านอาหาร บริษัทจัดเลี้ยง) และครัวเรือนโดยผู้นำเข้ารายใหญ่ร้อยละ 75 – 80 ของปริมาณกุ้งนำเข้าทั้งหมดถูกไปจำหน่ายในภาคการบริการ และส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 20 – 25 เป็นการจำหน่ายปลีก ซึ่งผู้บริโภคชาวเช็กส่วนใหญ่ให้ความสำคัญด้านราคา เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับกุ้ง ดังนั้น หากจำหน่ายในราคาที่สูงผู้บริโภคจะเลือกสินค้าอื่นทดแทน จึงทำให้ผู้นำเข้าตัดสินใจซื้อโดยคำนึงถึงปัจจัยด้านราคาเป็นสำคัญ

ในส่วนของการขายปลีกปลา อาหารทะเล และสัตว์น้ำอื่นๆ ในสาธารณรัฐเช็กส่วนใหญ่จะขายในรูปแบบแช่แข็ง แต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่และไฮเปอร์มาร์เก็ตในเมืองใหญ่เริ่มจำหน่ายปลา อาหารทะเล และสัตว์น้ำอื่นๆ ในรูปแบบแช่เย็น แต่ตัวเลือกยังค่อนข้างจำกัด ประกอบกับร้านค้าเฉพาะด้านปลา อาหารทะเล และสัตว์น้ำอื่นๆ มีจำนวนจำกัด และอยู่เฉพาะในเมืองใหญ่เท่านั้น ซึ่งผู้จำหน่ายที่ใหญ่ที่สุด คือ MAKRO

  1. สถิติการนำเข้ากุ้งของสาธารณรัฐเช็กในปี 2565แนวโน้มตลาดสินค้ากุ้งในสาธารณรัฐเช็กในปี 2565 สินค้ากุ้งก้ามกรามแช่แข็งและแช่เย็น (HS 0306 1700) คิดเป็น 2 ใน 3 ของการนำเข้ากุ้งในสาธารณรัฐเช็ก โดยนำเข้าจากประเทศหลัก ได้แก่ เวียดนาม อินเดีย และเอกวาดอร์ ตามลำดับ สำหรับกุ้งก้ามกรามปรุงแต่ง บรรจุในภาชนะที่อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ (HS 1605 29) มีการนำเข้ากว่าร้อยละ 18.3 โดยนำเข้าจากประเทศเยอรมนี สเปน เดนมาร์ก และฮอนดูรัส สินค้ากุ้งก้ามกราม ต้ม เด็ดหัว แช่งแข็ง (HS 1605 21) คิดเป็นร้อยละ 9.8 ของการนำเข้ากุ้งทั้งหมดของสาธารณรัฐเช็ก โดยประเทศเวียดนามคือผู้ส่งออกหลัก มีส่วนแบ่งทางการตลาดกว่าร้อยละ 59 กุ้งก้ามกรามสดมีชีวิต (HS 0306 36) การนำเข้าทั้งหมดร้อยละ 4.6 โดยนำเข้าจากสหภาพยุโรป (โรมาเนีย สเปน ฝรั่งเศส) โดยในปีที่ผ่านมา การนำเข้ากุ้งจากประเทศในแถบเอเชีย ได้แก่ เวียดนาม และอินเดีย รวมถึงจากละตินอเมริกาและอเมริกาใต้ ได้แก่ ฮอนดูรัส และเอกวาดอร์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องประเทศเวียดนามนอกจากราคากุ้งถูกแล้ว ยังมีข้อได้เปรียบจากข้อตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปที่ลงนามในปี 2563 ยกตัวอย่างเช่น สินค้า HS 0306 17 ภาษีนำเข้าไปยังสหภาพยุโรป คิดเป็นร้อยละ 0 HS 1605 21 また HS 1605 29 ภาษีนำเข้าไปยังสหภาพยุโรป คิดเป็นร้อยละ 7 ในส่วนประเทศอินเดียอัตราภาษีสำหรับ HS 0306 17 HS 1605 21HS 1605 29 เท่ากับประเทศเวียดนาม สำหรับประเทศเอกวาดอร์และฮอนดูรัส ได้รับสิทธิพิเศษจากภาษีนำเข้าคิดเป็นร้อยละ 0 ทั้งหมดสำหรับสหภาพยุโรป (HS 0306 17, HS 1605 21, HS 1605 29)แนวโน้มตลาดสินค้ากุ้งในสาธารณรัฐเช็กจากสถิติตัวเลขจะเห็นได้ว่าประเทศเวียดนามเป็นผู้ส่งออกกุ้งก้ามกรามแช่แข็งและแช่เย็นรายสำคัญให้กับสาธารณรัฐเช็ก ส่วนแบ่งการตลาดของเวียดนามในปี 2566 (มกราคม – กันยายน) สูงถึงร้อยละ 61.75 เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 5.21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับอินเดียที่มีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 10.86 เป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 2 เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.63 โดยอันดับที่ 3 ได้แก่ประเทศเอกวาดอร์

    สำหรับประเทศไทย ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ส่วนแบ่งทางการตลาดต่ำกว่าร้อยละ 1 มาโดยตลอด โดยเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับเวียดนาม เนื่องจากราคากุ้งจากเวียดนามมีราคาที่ต่ำและมีชุมชนชาวเวียดนามขนาดใหญ่ในสาธารณรัฐเช็กที่มีประสบการณ์ในการจำหน่ายโดยเฉพาะในภาคร้านอาหารและบริการอาหาร โดยชุมชนชาวเวียดนามเป็นหนึ่งในชุมชนที่ใหญ่ที่สุดในสาธารณรัฐเช็ก จำนวนชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ในสาธารณรัฐเช็ก อยู่ที่ประมาณ 100,000 คน ในขณะที่จำนวนชุมชนชาวไทยในสาธารณรัฐเช็ก อยู่ที่ประมาณ 1,000 คนเท่านั้นแนวโน้มตลาดสินค้ากุ้งในสาธารณรัฐเช็กแนวโน้มตลาดสินค้ากุ้งในสาธารณรัฐเช็ก

    ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 สาธารณรัฐเช็กได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป โดยกฎหมายศุลกากรของสหภาพยุโรปมีผลบังคับใช้กับการนำเข้าทั้งหมด โดยการนำเข้ากุ้งมายังสาธารณรัฐเช็กจะต้องมีใบรับรองจากทางการไทยกำกับด้วย สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากสัตว์ของสาธารณรัฐเช็กอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ State Veterinary Administration of the Czech Republic ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขการนำเข้า ใบรับรองสุขภาพ และข้อมูลล่าสุดเป็นภาษาอังกฤษสามารถดูได้เพิ่มเติมที่เว็บไซต์ www.svscr.cz ภายใต้หัวข้อ Trade with Veterinary Commodities –  Imports from third countries – Official Certificates – Fishery & Aquaculture Products for Human Consumption สำหรับรายละเอียดของภาษีศุลกากรและข้อจำกัดสามารถดูได้เพิ่มเติมที่เว็บไซต์ของสหภาพยุโรป http://ec.europa.eu./taxation_customs/dds2/taric/taric_consultation.jsp

    1. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

    ด้วยสาธารณรัฐเช็กเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ดังนั้นการบริโภคปลา อาหารทะเล และสัตว์น้ำอื่นๆ จึงไม่เป็นที่นิยมมาแต่ดั้งเดิม ด้วยราคาที่ค่อนข้างสูง และขาดความรู้ในการปรุงอาหารประเภทดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันผู้บริโภคชาวเช็กหันมาบริโภคสินค้าดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น โดยการนำเข้าแต่เดิมมาจากประเทศในแถบยุโรปเป็นหลัก ได้แก่ เดนมาร์ก นอร์เวย์ ฝรั่งเศส อิตาลี และเยอรมนี แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีการนำเข้าจากประเทศในแถบเอเชีย ได้แก่ เวียดนาม และอินเดีย รวมถึงจากละตินอเมริกาและอเมริกาใต้ ได้แก่ ฮอนดูรัส และเอกวาดอร์ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันผู้นำตลาดได้แก่ประเทศเวียดนาม ซึ่งไม่เพียงได้รับประโยชน์จากราคาสินค้าที่ต่ำจากข้อตกลงการค้าเสรีที่ทำขึ้นระหว่างสหภาพยุโรปและเวียดนามในปี 2563 แต่ในสาธารณรัฐเช็กยังมีชุมชนชาวเวียดนามขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในสาธารณรัฐเช็กประมาณ 100,000 คน ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ส่งออกไทยคือการเสนอราคาที่แข่งขันได้ หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้น อาทิ การใช้กุ้งมานำเสนอในรูปแบบอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานที่คงรสชาติความเป็นไทยดั้งเดิม การผลิตอาหารที่คำนึงถึงสุขภาพ เป็นต้น เพื่อสร้างความน่าสนใจ/ความแตกต่างให้กับสินค้า ดังนั้น ผู้ประกอบการควรศึกษาความต้องการของผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด และรักษามาตรฐานการผลิตให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานของยุโรป รวมทั้งสนับสนุนการใช้แรงงานอย่างเป็นธรรม เพื่อเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์อุตสาหกรรมอาหารไทย และป้องกันไม่ให้สหภาพยุโรปนำมาเป็นข้อกีดกันทางการค้า สำหรับช่องทางการจำหน่ายสินค้าอาหารของสาธารณรัฐเช็ก คือซูเปอร์มาร์เก็ตและไฮเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งจะนำเข้าสินค้าผ่านผู้นำเข้าเป็นหลัก แม้ว่าสาธารณรัฐเช็กจะไม่มีทางออกสู่ทะเล แต่มีมีข้อดีด้านที่ตั้งทางยุทธศาสตร์และโครงสร้างพื้นฐานที่ดี เหมาะแก่การเป็นศูนย์กระจายสินค้าจากสาธารณรัฐเช็ก ไปยังตลาดอื่นๆ ในยุโรปได้อย่างสะดวกสบายจึงถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางการค้าที่น่าสนใจ

jaJapanese