Surat Diamond Bourse ตลาดค้าเพชรแห่งใหม่ไฉไลกว่าเดิม

•      Surat Diamond Bourse (SDB) ตลาดค้าเพชรเห่งใหม่ที่สำคัญของอินเดีย ณ เมืองสุรัต เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่กว่าอาคารเพนตากอนของสหรัฐฯ  ด้วยโครงการ SDB แห่งใหม่นี้คาดว่าจะใช้งบประมาณสูงถึง 3,500 Crore (1.51 แสนล้านบาท) และจะเปิดทำการในช่วงเดือนธันวาคม 2566 โดยแหล่งข่าวระบุว่าจะมีการเชิญนายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีของอินเดียมาให้เกียรติเปิดตลาดค้าเพชรแห่งนี้ด้วย

•      การย้ายตลาดค้าเพชรมายังเมืองสุรัต ได้สร้างความสนใจให้กับนักค้าเพชรอย่างยิ่ง โดยมีการยื่นข้อเสนอสำคัญอาทิ การยกเว้นค่าบำรุงรักษาส่วนกลางเป็นเวลา 1 ปี หากย้ายธุรกิจมาปฎิบัติการภายในวันที่ 21 พฤศจิกายน นอกจากนี้ แหล่งข่าวยังได้รับการยืนยันว่าจะมีการทำโฆษณาให้แก่บริษัทที่ย้ายมา  ซึ่งจะเป็นสร้างแรงจูงใจด้านธุรกิจเพื่อดึงดูดให้บริษัทเพชรรายใหญ่จากมุมไบย้ายมาดำเนินธุรกิจที่เมืองสุรัต

•      การที่ตลาดค้าเพชร ได้ย้ายจากเมืองเศรษฐกิจอย่างเมืองมุมไบมายังเมืองสุรัต พร้อมด้วยการสนับสนุนจากทางภาครัฐของอินเดีย นับเป็นข้อเสนอพิเศษและเป็นประโยชน์แก่บริษัทไทยที่ต้องการลงทุนหรือหาช่องทางการส่งเสริมการค้าในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในเมืองสุรัตภายใต้ตลาดค้าเพชร(SDB) อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ได้รับผลกระทบจากช่วงขาลงของการค้าเพชรตามกระเเสซื้อขายของโลก ทำให้แรงงานในอุตสาหกรรมเพชรและเป็นกำลังสำคัญได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

บทปฐมฤกษ์ของการกำเนิดตลาดค้าเพชรแห่งเมืองสุรัต SDB

•      ตลาด Zavier Bazaar เป็นศูนย์กลางการซื้อ-ขายอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญมานานกว่า 50 ปี ในเมืองมุมไบอุตสาหกรรมดังกล่าวมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยพ่อค้าเพชรได้ย้ายจาก Prasad Chambers  มายังอาคาร Pancharatna ใน Opera house ในช่วงปี 1975 และตลาดค้าเพชรแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นด้วยระบบความคุ้มกันในพื้นที่ถึง 20 เอเคอร์ มีออฟฟิศจำนวน 2,500 แห่งในเขต BKC อาณาจักรแห่งนี้ยังประกอบไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายไม่ว่าจะเป็น ธนาคาร 7 แห่ง ร้านอาหาร 19 ร้าน แพลตฟอร์มค้าออนไลน์ 2  แพลตฟอร์ม ห้องแล็บทดสอบเพชร 3 ห้อง  ซัพพลายเออร์ 5 เจ้าที่ดูแลเครื่องมือการเจียระไนเพชรให้มีความแม่นยำ พร้อมกับหน่วยให้บริการด้านพิธีการศุลกากร

•      ในช่วงที่ Bharat Diamond Bourse (BDB) ยังคงดำเนินกิจการซื้อขายจากทั่วโลกนั้น เมืองสุรัตได้ถือกำเนิดขึ้นจากธุรกิจการตัดและเจียระไนเพชรดิบด้วยอาศัยค่าแรงที่ถูก มีกลุ่มแรงงาน Kathiawadi ที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน ส่งผลให้กลุ่มแรงงานนี้กลายเป็นผู้นำทางด้านงาน craft และต่อมาได้มีการขยายธุรกิจออกไปในหลายเมืองที่มีโรงงานตั้งอยู่ ส่งผลให้ ตลาดค้าเพชรมุมไบ BDB กลายเป็นศูนย์รวมคนรวยในอุตสาหกรรมเพชรและเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของโลกในที่สุด

•      หนึ่งในคณะทำงานของ SDB ได้แสดงความคิดเห็นที่แตกต่างในเรื่องของการเปรียบเทียบระหว่างเมืองสุรัตและเมืองมุมไบในด้านอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับรวมถึงกลุ่มแรงงาน Palanpuri และ Kathiawadi โดยให้เหตุผลว่าในช่วงที่มีการก่อตั้ง SDB ล้วนแต่เป็นการทำงานร่วมกัน การเสนอให้มีออฟฟิศต่างๆในตลาดค้าเพชร จะต้องมีการจองก่อนล่วงหน้าทั้งสิ้น หรือค่าบำรุงรักษาส่วนกลางที่มีการเสนอให้ฟรีไม่ได้หมายถึงข้อเสนอที่ให้แก่นักธุรกิจจากมุมไบเท่านั้น แต่มันเป็นข้อเสนอสำหรับทุกรายที่มีการจองออฟฟิศทั้งจากมุมไบ  เดลี ดูไบ แอนต์เวิร์ป หรือเมืองอื่นๆ  นอกจากนี้ คณะทำงานยังได้ยกตัวอย่างถึงพัฒนาการของเมืองสุรัต ซึ่งในอดีตนั้นเมืองอาเมทดาบาทยังเคยเป็นศูนย์กลางของธุรกิจเสื้อผ้ามีแหล่งฐานการผลิตสำคัญอยู่ที่เมืองสุรัต แต่การที่จะทำให้เมืองสุรัตกลายเป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรมเสื้อผ้านั้นจะต้องเป็นศูนย์กลางทางการค้าด้วย  เมืองสุรัตจึงได้ตั้งวิสัยทัศน์และตั้งแต่ปี 1975 วิสัยทัศน์นั้นจึงได้บรรลุผลสำเร็จส่งผลให้ปัจจุบันสุรัตกลายเป็นเมืองผลิตเสื้อผ้าที่สำคัญรวมถึงเป็นฮับทางด้านการค้าด้วย

Mumbai vs Surat

      •   หากเปรียบเทียบศักยภาพด้านอุตสาหกรรมเพชรระหว่างเมืองมุมไบและสุรัตแล้ว ช่างเจียระไนเพชรมุมไบรายหนึ่งให้ความเห็นว่า เมืองสุรัตยังไม่มีความพร้อมที่จะเสนอเงื่อนไขที่เหมาะสมให้กับลูกค้าต่างประเทศ  แม้ว่าเมืองสุรัตจะเป็นรัฐที่ห้ามจำหน่ายสุรา (Dry State) หากแต่จำหน่ายได้จะมีเพียงโรงแรมระดับห้าดาวเพียง 2 เเห่งเท่านั้น ซึ่งยังมีกระบวนการเอกสารอีกมากที่ต้องดำเนินการ ในขณะที่ผู้ค้าอัญมณีมีโอกาสจะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกในเมืองมุมไบมากกว่า ทั้งโรงแรมและร้านอาหาร นอกจากนั้น มุมไบยังเป็นเมืองเศรษฐกิจที่มีท่าอากาศยานรองรับ เชื่อมโยงไปยังเมืองหลวงอีกหลายประเทศ ในขณะที่เมืองสุรัฐยังมีระบบคมนาคมที่ไม่เอื้อต่อการเดินทางของนักธุรกิจ

•  Mr. Mahesh Gadhvi, CEO ของตลาดค้าเพชร ณ เมืองสุรัต(SDB) ให้ความเห็นที่แตกต่างว่าตลาดค้าเพชรแห่งนี้แม้ว่าจะตั้งอยู่ในเขตชานเมือง แต่ด้านโครงสร้างพื้นฐานได้มีการพัฒนาเรื่อยมา ปัจจุบัน มีรถไฟ Vande Bharat ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างเมืองมุมไบกับสุรัต ใช้เวลา เพียง 2.5 ชม ในขณะที่ bullet train ใช้เวลาเพียงชั่วโมงเดียว ทั้งนี้ ความพยายามของรัฐบาลในการปรับปรุงระบบการคมนาคมในเฟสแรก (Diamond Route) ส่งผลให้เกิดการเชื่อมโยงจากย่านเศรษฐกิจมาสู่ SDB ประกอบกับ ขณะนี้สนามบินสุรัตเริ่มให้บริการเที่ยวบินถึงเมือง Sharjah ของ UAE แล้วสามครั้งต่อสัปดาห์

ข้อมูลเพิ่มเติม

• แม้ว่าจะมีห้างสรรพสินค้าหรืออพาร์ทเมนท์ราคาแพงตั้งอยู่รอบบริเวณศูนย์กลางทางธุรกิจอย่าง SDB /BDB แต่ด้วย  ธุรกิจค้าเพชรที่อยู่ในช่วงขาลง การจ้างงานจำนวน 7.5 แสน ถึง 1 ล้านราย จึงได้รับผลกระทบซึ่งแรงงานส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในศูนย์ตัดและเจียระไนเพชรกว่า 5,000 แห่ง

• ปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครนส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานสำหรับเพชรดิบ เกิดภาวะขาดแคลนสินค้า ตลาดเพชรดิบของรัสเซียกลายเป็นเพชรตัวเลือกแรกๆในอุตสาหกรรมเครื่องประดับแม้เพชรจะมีขนาดเล็กก็ตาม เมื่อเกิดภาวะการขาดแคลนเพชรที่มีความต้องการในตลาดโลกขึ้น ธุรกิจการเจียระไนเพชรจึงได้รับผลกระทบเพราะมีคำสั่งซื้อที่ลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะการจ้างงานที่ลดลงประมาณ 20 – 30% ของการจ้างงานในภาคธุรกิจการเจียระไนเพชรในเมืองสุรัต  

ข้อคิดเห็น

1. การย้ายฐานธุรกิจค้าเพชรไปรวมยังเมืองสุรัตเพียงเมืองเดียว อาจเป็นประโยชน์ต่อการค้าระหว่างไทย-อินเดีย เนื่องจากผู้ประกอบการไทยสามารถเลือกดำเนินธุรกิจได้โดยตรงจากแหล่งที่มีทั้งผู้ค้าเพชรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องมากกว่า 90% ในเมืองสุรัต

2. การพิจารณาจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายควบคู่ไปพร้อมกับการขยายความร่วมมือกับตลาดค้าเพชรแห่งเมืองสุรัตจะเป็นการส่งเสริมและขยายความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างบริษัทอินเดียกับผู้ประกอบการไทยได้ ทั้งนี้ การเชิญผู้ประกอบการจากตลาดค้าเพชร SDB เข้าร่วมงาน BGJF ในปี 2024 นับเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการกระชับความสัมพันธ์ทางธุรกิจ ตลอดจนการพิจารณาจัดคณะผู้แทนทางการค้าเยือนเมืองสุรัตย่อมเป็นโอกาสแก่ผู้ประกอบการค้าเพชรของไทยในการศึกษาตลาดค้าเพชรในเมืองสุรัต และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางธุรกิจเพื่อทำการค้าระหว่างกัน

3. อินเดียเป็นตลาดค้าเพชรที่สำคัญของไทย โดยในช่วงเดือนมกราคม – กันยายน 66 อินเดียเป็นตลาดส่งออกลำดับที่ 3 รองจากฮ่องกงและเบลเยี่ยม มูลค่าการส่งออกคิดเป็น 3,968.15 ล้านบาท ในขณะที่ อินเดียเป็นตลาดนำเข้าอันดับแรกของไทย มูลค่าการนำเข้าคิดเป็น 32,034.93 ล้านบาท (สัดส่วนร้อยละ 64.61) หากผู้ประกอบการค้าเพชรของไทยสามารถสร้างความสัมพันธ์เชิงธุรกิจกับตลาดค้าเพชรของของเมืองสุรัต ผ่านการเร่งศึกษารูปแบบการซื้อ-ขายในตลาดโลก ปัจจัยด้านราคา มาตรการของรัฐบาลอินเดียในอุตสาหกรรมเพชร และยกระดับความร่วมมือทางเทคโนโลยีในสินค้าที่ทำจากเพชรและเพชรสังเคราะห์ จะทำให้ผู้ประกอบการไทยให้สามารถปรับตัวทันและดำเนินธุรกิจกับพ่อค้าอินเดียได้ง่ายขึ้น เพิ่มช่องทางการค้า ส่งผลต่อการขยายสัดส่วนทางการค้าให้มากขึ้นต่อไป

4. การส่งเสริมให้มีการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประการไทยด้านอุตสาหกรรมเพชรผ่านการฝึกอบรบให้ความรู้เชิงลึกจะมีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการได้รับทราบถึงเทรนด์หรือแนวโน้มความต้องการของอุตสาหกรรมเพชรที่มีอยู่ในตลาดโลกและสามารถที่จะนำมาปรับใช้เพื่อให้สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการอินเดียหรือจากทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ปัจจุบัน เพชรสังเคราะห์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้บริโภค ราคาของเพชรสังเคราะห์ลดลงจากผลกระทบของสงครามรัสเซีย-ยูเครนต่อห่วงโซ่อุปทาน สินค้าเพชรสังเคราะห์จึงกลายเป็นทางเลือกที่จับต้องได้และได้รับความนิยมมากขึ้นในตลาดเครื่องประดับแต่งงาน

jaJapanese