รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประจำเดือนเมษายน 2568

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ประจำเดือนเมษายน 2568

———————————————————

  1. 1. ภาพรวมเศรษฐกิจสำคัญ/ ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

         1.1 การเติบโตทางเศรษฐกิจ

ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2568 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของฟิลิปปินส์ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.3 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 และลดลงจากร้อยละ 5.9 ในไตรมาสเดียวกันของปี 2567 โดยภาคส่วนหลักที่มีส่วนร่วมในการเติบโตของ GDP ได้แก่ ภาคค้าส่งและค้าปลีก การซ่อมแซมยานยนต์และจักรยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 6.4 ภาคการเงิน และการประกันภัยขยายตัวร้อยละ 7.2 ภาคการผลิตขยายตัวร้อยละ 4.1 สำหรับภาคเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ภาคเกษตรกรรม ป่าไม้ และประมงขยายตัวร้อยละ 2.2 ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 4.5 และภาคการบริการขยายตัวร้อยละ 6.3 ในส่วนของด้านอุปสงค์พบว่าการใช้จ่ายภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 5.3 ขณะที่การใช้จ่ายของภาครัฐขยายตัวร้อยละ 18.7 สำหรับรายจ่ายเพื่อการสะสมทุนรวมเบื้องต้น (Gross Capital Formation) ขยายตัวร้อยละ 4 ในส่วนการส่งออกสินค้า และบริการขยายตัวร้อยละ 6.2 และการนำเข้าสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 9.9 โดยรายได้รวมประชาชาติ (Gross National Income) ขยายตัวร้อยละ 7.5 และรายได้ปฐมภูมิ (Net Primary Income) ขยายตัวร้อยละ 24.6

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ (เข้าถึงข้อมูลวันที่ 15 พฤษภาคม 2568)

1.2 ภาวะการลงทุน

ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2568 ฟิลิปปินส์มีการลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Investment: FI) มูลค่า รวม 27.99 พันล้านเปโซ ลดลงร้อยละ 82 จากช่วงเดียวกันของปี 2567 ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 155.26 พันล้านเปโซ โดยเป็นการลงทุนผ่านหน่วยงานส่งเสริมการลงทุน 7 หน่วยงาน ได้แก่

– The Authority of the Freeport Area of Bataan

– Bases Conversion and Development Authority

– Board of Investments (BOI)

– Clark Development Corporation (CDC)

– Cagayan Economic Zone Authority

– Philippine Economic Zone Authority (PEZA)

– Subic Bay Metropolitan Authority (SBMA)

                   ทั้งนี้ การลงทุนจากต่างประเทศในไตรมาสที่ 1 ของปี 2568 พบว่าเป็นการลงทุนจากประเทศเกาหลีใต้มากที่สุดคิดเป็นมูลค่าการลงทุน 12.36 พันล้านเปโซ หรือคิดเป็นร้อยละ 44.2 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด รองลงมาได้แก่ สหรัฐอเมริกา มีมูลค่าการลงทุน 3.08 พันล้านเปโซ คิดเป็นร้อยละ 11 และจีนมีมูลค่าการลงทุน 2.88 พันล้านเปโซ คิดเป็นร้อยละ 10.3 สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุดคือ อสังหาริมทรัพย์ คิดเป็นร้อยละ 38.5 รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต (ร้อยละ 21.9) และอุตสาหกรรมบริการ (ร้อยละ 19.1) ตามลำดับ โดยคาดผลจากการลงทุนในไตรมาสที่ 1 ปี 2568 ทั้งในประเทศและต่างประเทศก่อให้เกิดการจ้างงาน ทั้งหมด 31,848 งาน ซึ่งเป็นการจ้างงานจากการลงทุนจากต่างประเทศ 19,303 งาน หรือคิดเป็นร้อยละ 60.6

1.3 การบริโภคภายในประเทศ

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ระบุว่า ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2568การใช้จ่ายภาคครัวเรือนของฟิลิปปินส์ขยายตัวร้อยละ 5.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2567 ที่ร้อยละ 4.7 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 โดยการใช้จ่ายด้านอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์มีมูลค่ามากที่สุด อยู่ที่ 1.33 ล้านล้านเปโซ ขยายตัวร้อยละ 4.5 รองลงมาได้แก่ด้านสินค้าเบ็ดเตล็ดบริการอื่นๆ มีมูลค่า 570,725 ล้านเปโซ ขยายตัวตัวร้อยละ 4.7 และค่าใช้จ่ายในครัวเรือนค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าเชื้อเพลิง มีมูลค่า 484,958 ล้านเปโซ ขยายตัวร้อยละ 2.4 ตามลำดับ

  1.4 อัตราเงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ในเดือนเมษายน 2568 อยู่ที่ร้อยละ 1.4 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2568ที่มีอัตราอยู่ที่ร้อยละ 1.8 และอยู่ในระดับต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือนเมษายน 2567 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.8ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงในเดือนเมษายน 2568 มีสาเหตุหลักมาจากการลดลงของการขยายตัวในดัชนีอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งการลดลงของค่าขนส่ง เสื้อผ้าและรองเท้า การสื่อสารนันทนาการ กีฬาและวัฒนธรรม ค่าใช้จ่ายการดูแลส่วนบุคคล สินค้าและบริการเบ็ดเตล็ด เป็นต้น

  1.5 อัตราการจ้างงานและอัตราการว่างงาน

                 อัตราการจ้างงานในเดือนมีนาคม 2568 อยู่ที่ร้อยละ 96.1 ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่มีอัตราอยู่ที่ร้อยละ 96.2 แต่เท่ากับเดือนมีนาคม 2567 ที่มีอัตราจ้างงานอยู่ที่ร้อยละ 96.1 สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 3.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่มีอัตราอยู่ที่ร้อยละ 3.8 แต่เท่ากับเดือนมีนาคม 2567 ที่มีอัตราอยู่ที่ร้อยละ 3.9

ตารางที่ 1 – สถิติด้านแรงงานของฟิลิปปินส์ เดือนมีนาคม 2568

สถิติ มี.ค.2568 ก.พ.2568 มี.ค.2567
อัตราการมีส่วนร่วมของแรงงาน (Labor force participation rate) ร้อยละ 62.9 ร้อยละ 64.5 ร้อยละ 65.3
อัตราการจ้างงาน (Employment rate) ร้อยละ 96.1 ร้อยละ 96.2 ร้อยละ 96.1
อัตราการว่างงาน (Unemployment rate) ร้อยละ 3.9 ร้อยละ 3.8 ร้อยละ 3.9
อัตราการทำงานต่ำกว่าระดับความรู้ความสามารถ/ วุฒิการศึกษา (Underemployment rate) ร้อยละ 13.4 ร้อยละ 10.1 ร้อยละ 11.0

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ (เข้าถึงข้อมูลวันที่ 15 พฤษภาคม 2568)

  1. 2. สถานการณ์การค้า (การส่งออก-นำเข้า)

           2.1 การส่งออก

                การส่งออกของฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 มีมูลค่ารวม 19,269.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2567 ที่มีมูลค่าส่งออก 18,234.49  ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ตารางที่ 2 แสดงถึงมูลค่า และอัตราการขยายตัวของสินค้าส่งออกหลักของฟิลิปปินส์ โดยจำแนกตามประเภทของสินค้า และตารางที่ 3 แสดงถึงมูลค่า และอัตราการขยายตัวของสินค้าส่งออกหลักของประเทศฟิลิปปินส์จำแนกตามตลาด

ตารางที่ 2 – มูลค่า และอัตราการขยายตัวของสินค้าส่งออกหลักของฟิลิปปินส์ แยกตามประเภทของสินค้า เดือนมกราคม – มีนาคม 2567/ 2568

ลำดับ สินค้า มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว

(ร้อยละ)

     ม.ค.-มี.ค.67 ม.ค.-มี.ค.68
1 สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ 10,500.44 10,539.57 0.4
2 สินค้าสำเร็จรูป (Other Manufacturer Goods) 910.10 1,323.18 45.4
3 ผลิตภัณฑ์แร่อื่นๆ 588.32 732.80 24.6
4 น้ำมันมะพร้าว 398.98 740.19 85.5
5 ชุดสายไฟจุดระเบิด และชุดสายไฟอื่นๆ

ที่ใช้ในยานพาหนะ เครื่องบิน และเรือสินค้า

600.20 638.30 6.3
6 เครื่องจักร และส่วนประกอบยานยนต์ 691.21 697.72 0.9
7 สารเคมี 449.88 453.24 0.7
8 ทองคำ 266.43 377.64 41.7
9 กล้วย (สด) 316.59 337.17 6.5
10 สารสกัดทองแดง 272.18 240.52 -11.6
การส่งออกรวม 18,234.49 19,269.57 5.7

ตารางที่ 3 – มูลค่า และอัตราการขยายตัวของสินค้าส่งออกหลักของประเทศฟิลิปปินส์ แยกตามตลาด เดือนมกราคม – มีนาคม 2567/ 2568

ลำดับ ประเทศ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน

(ร้อยละ)

ขยายตัว

(ร้อยละ)

ม.ค.-มี.ค.67 ม.ค.-มี.ค.68
1 アメリカ合衆国 2,882.42 3,223.81 16.7 11.8
2 香港 2,420.78 2,617.73 13.6 8.1
3 日本 2,584.12 2,891.72 15.0 11.9
4 中国 2,176.12 2,074.57 10.8 -4.7
5 シンガポール 710.84 796.00 4.1 12.0
6 オランダ 775.19 874.70 4.5 12.8
7 เกาหลีใต้ 1,030.30 735.64 3.8 -28.6
8 台湾 734.21 703.45 3.7 -4.2
9 ドイツ人 629.22 753.26 3.9 19.7
10 ไทย 741.31 699.09 3.6 -5.7
การส่งออกรวม 18,234.49 19,269.57 100.0 5.7

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ (เข้าถึงข้อมูลวันที่ 15 พฤษภาคม 2568)          

           2.2 การนำเข้า

การนำเข้าของฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 มีมูลค่า 31,975.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2567 ที่มีมูลค่า 29,498.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ตารางที่ 4 แสดงถึงมูลค่า และอัตราการขยายตัวของสินค้านำเข้าหลักของฟิลิปปินส์ โดยจำแนกตามประเภทของสินค้า และตารางที่ 5 แสดงถึงมูลค่า และอัตราการขยายตัวของสินค้านำเข้าหลักของฟิลิปปินส์จำแนกตามแหล่งนำเข้า

ตารางที่ 4 – มูลค่า และอัตราการขยายตัวของสินค้านำเข้าหลักของฟิลิปปินส์ แยกตามประเภทของสินค้า เดือนมกราคม – มีนาคม 2567/ 2568

ลำดับ สินค้า มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว

(ร้อยละ)

ม.ค.-มี.ค.67 ม.ค.-มี.ค.68
1 สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ 6,139.52 7,179.67 16.9
2 แร่ธาตุเพื่อพลังงานเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น 4,933.49 4,332.07 -12.2
3 ส่วนประกอบยานยนต์ 2,595.06 2,889.02 11.3
4 เครื่องจักรอุตสาหกรรม และส่วนประกอบ 1,335.61 1,613.64 20.8
5 อาหาร และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ 1,115.91 1,357.28 21.6
6 เหล็ก และเหล็กกล้า 1,157.88 1,291.87 11.6
7 สินค้าเบ็ดเตล็ด 1,067.24 1,147.22 7.5
8 ธัญพืช 1,285.52 1,119.72 -12.9
9 ชิ้นส่วนโทรคมนาคม และเครื่องจักรไฟฟ้า 824.40 1,019.58 23.7
10 พลาสติกในรูปแบบปฐมภูมิ และไม่ใช่ปฐมภูมิ 649.71 806.88 24.2
การนำเข้ารวม 29,498.78 31,975.88 8.4

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ (เข้าถึงข้อมูลวันที่ 15 พฤษภาคม 2568)

ตารางที่ 5 – มูลค่า และอัตราการขยายตัวของสินค้านำเข้าหลักของฟิลิปปินส์ แยกตามแหล่งนำเข้า เดือนมกราคม – มีนาคม 2567/ 2568

ลำดับ ประเทศ มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน

(ร้อยละ)

ขยายตัว

(ร้อยละ)

ม.ค.-มี.ค.67 ม.ค.-มี.ค.68
1 中国 7,110.48 8,932.00 27.9 25.6
2 インドネシア 2,131.49 2,594.04 8.1 21.7
3 日本 2,459.77 2,610.72 8.2 6.1
4 เกาหลีใต้ 2,105.26 2,278.37 7.1 8.2
5 ไทย 1,867.84 1,844.82 5.8 -1.2
6 アメリカ合衆国 1,939.86 1,965.68 6.1 1.3
7 ベトナム 1,209.75 1,387.93 4.3 14.7
8 マレーシア 1,528.17 1,421.18 4.4 -7.0
9 シンガポール 1,362.23 1,388.46 4.3 1.9
10 台湾 950.56 989.55 3.1 4.1
การนำเข้ารวม 29,498.78 31,975.88 100.0 8.4

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ (เข้าถึงข้อมูลวันที่ 15 พฤษภาคม 2568)

           2.3 มูลค่าการค้าระหว่างไทย – ฟิลิปปินส์

มูลค่าการค้ารวมของไทยกับฟิลิปปินส์ในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 มีมูลค่า 2,700.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2567 ที่มีมูลค่า 2,638.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.67 ของการค้าไทยไปทั่วโลก สำหรับการส่งออกจากไทยไปยังฟิลิปปินส์ในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 มีมูลค่า 1,888.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2567 ที่มีมูลค่า 1,825.86  ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.32 ของการส่งออกไปทั่วโลก ในขณะเดียวกันไทยมีการนำเข้าจากฟิลิปปินส์ในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 มีมูลค่า 811.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2567 ที่มีมูลค่านำเข้า 812.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.01 ของการนำเข้าจากทั่วโลก

สรุปการค้าระหว่างไทย – ฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปรากฏว่าไทยได้เปรียบดุลการค้าฟิลิปปินส์ เป็นมูลค่า 1,076.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ตารางที่ 6 – สรุปการค้าระหว่างประเทศของไทยกับฟิลิปปินส์ เดือนมกราคม – มีนาคม 2567/ 2568

การค้าระหว่าง

ไทย – ฟิลิปปินส์

มูลค่า

(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

อัตราขยายตัว

(ร้อยละ)

สัดส่วนต่อการค้าโลก

(ร้อยละ)

ม.ค.มี.ค.67 ม.ค.มี.ค.68 ม.ค.มี.ค.67 ม.ค.มี.ค.68 ม.ค.-มี.ค.67 ม.ค.-มี.ค.68
มูลค่าการค้า 2,638.80 2,700.43 -2.81 2.32 1.81 1.67
ไทยส่งออกไปฟิลิปปินส์ 1,825.86 1,888.49 -3.40 3.43 2.58 2.30
ไทยนำเข้าจากฟิลิปปินส์ 812.94 811.94 -1.45 -0.12 1.09 1.01
ดุลการค้า 1,012.92 1,076.54 -4.91 6.28

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ (เข้าถึงข้อมูลวันที่ 15 พฤษภาคม 2568)

           2.4 การส่งออกสินค้าของไทยไปยังฟิลิปปินส์

เมื่อพิจารณาสินค้า 5 อันดับที่ไทยส่งออกไปยังฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 พบว่า สินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 610.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.13 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 รองลงมา ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เม็ดพลาสติก เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ตามลำดับ

ตารางที่ 7 – การส่งออกสินค้า 5 อันดับของไทยไปยังฟิลิปปินส์ เดือนมกราคม – มีนาคม 2567/ 2568

 

อันดับ

 

รายการสินค้า

มูลค่า

(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

อัตราขยายตัว

(ร้อยละ)

สัดส่วน

(ร้อยละ)

ม.ค.มี.ค.67 ม.ค.มี.ค.68 ม.ค.มี.ค.67 ม.ค.มี.ค.68 ม.ค.-มี.ค.67 ม.ค.-มี.ค.68
1. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 548.96 610.03 -12.21 11.13 30.07 32.3
2. แผงวงจรไฟฟ้า 131.46 124.27 -7.84 -5.47 7.20 6.58
3. เม็ดพลาสติก 54.93 79.28 -12.76 44.31 3.01 4.20
4. เครื่องจักรกล และส่วนประกอบของเครื่องจักรกล 51.53 76.71 -15.10 48.87 2.82 4.06
5. เครื่องสำอาง สบู่ และ

ผลิตภัณฑ์รักษาผิว

63.45 67.22 -13.05 5.95 3.47 3.56

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ (เข้าถึงข้อมูลวันที่ 15 พฤษภาคม 2568)

           2.5 การนำเข้าของไทยจากฟิลิปปินส์

เมื่อพิจารณาการนำเข้าสินค้า 5 อันดับของไทยจากฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 พบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มีมูลค่าสูงสุด 239.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 27จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567  รองลงมาได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ตามลำดับ

ตารางที่ 8 – การนำเข้าสินค้า 5 อันดับของไทยไปยังฟิลิปปินส์ เดือนมกราคม – มีนาคม 2567/ 2568

 

อันดับ

 

รายการสินค้า

มูลค่า

 (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

อัตราขยายตัว

(ร้อยละ)

สัดส่วน

(ร้อยละ)

ม.ค.มี.ค.67 ม.ค.มี.ค.68 ม.ค.มี.ค.67 ม.ค.มี.ค.68 ม.ค.-มี.ค.67 ม.ค.-มี.ค.68
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ 188.40 239.26 23.88 27.00 23.18 29.47
2. แผงวงจรไฟฟ้า 150.37 157.51 4.33 4.75 18.50 19.40
3. สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะ และผลิตภัณฑ์ 144.91 92.04 -7.53 -36.49 17.83 11.34
4. เครื่องจักรไฟฟ้า

และส่วนประกอบ

70.56 68.36 -1.92 -3.12 8.68 8.42
5. ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ 76.60 63.81 2.79 -16.70 9.42 7.86

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ (เข้าถึงข้อมูลวันที่ 15 พฤษภาคม 2568)

3. สถานการณ์และภาวะสินค้าเป้าหมายของไทยในตลาดฟิลิปปินส์

แนวโน้มการส่งออกสินค้าไทยมายังฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ประเภทสินค้าหลักของไทยที่มีการขยายตัวในการส่งออกมายังตลาดฟิลิปปินส์ ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เครื่องจักรกล และส่วนประกอบของเครื่องจักรกล และเครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิวโดยสรุปข้อมูลสถานการณ์ และภาวะสินค้าโดยสังเขป ดังนี้

3.1 รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ

อุตสาหกรรมยานยนต์ในฟิลิปปินส์มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณเชิงบวกของการฟื้นตัวของตลาดยนต์ในฟิลิปปินส์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากความต้องการของผู้บริโภค อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การเปิดตัวของรถยนต์รุ่นใหม่ และแนวโน้มการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า การเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ รวมถึงฐานจำนวนประชากรขนาดใหญ่ของฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ สินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นสินค้าที่ไทยส่งออกมายังประเทศฟิลิปปินส์เป็นอันดับ 1 มูลค่ารวม 610.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.13 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 ที่มีมูลค่า 548.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ ด้วยแนวโน้มการเติบโตของยอดขายรถยนต์ใหม่ของฟิลิปปินส์ที่คาดว่าจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ในฟิลิปปินส์ยังคงเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง และสามารถเติบโตได้อีกมากในอนาคต

3.2 เม็ดพลาสติก

ความต้องการสินค้าเม็ดพลาสติกในเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.31มีมูลค่าอยู่ที่ 79.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2567 ทั้งนี้ เม็ดพลาสติกถูกนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ การก่อสร้างและอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์พลาสติก และความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกในตลาดอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร และเครื่องมือทางการแพทย์ ซึ่งต้องใช้เม็ดพลาสติกมาเป็นส่วนประกอบในการผลิต

3.3 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล

ตลาดเครื่องจักรกลในฟิลิปปินส์มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง จากความต้องการของภาคการผลิตโดยเฉพาะภาคอาหารที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับกับการเติบโตของเศรษฐกิจและจำนวนประชากรขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องกล นับเป็นหนึ่งในสินค้าที่มีศักยภาพของไทยในตลาดฟิลิปปินส์ และมีแนวโน้มขยายตัวที่ดี โดยเฉพาะเครื่องจักรกลการเกษตร เนื่องจากมีความทันสมัยและมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ โดยในเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ไทยส่งออกเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกลมายังฟิลิปปินส์ มูลค่า 76.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.87 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าส่งออก 51.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

3.4 เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว

ความต้องการสินค้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในตลาดฟิลิปปินส์ เป็นสินค้าที่มีศักยภาพที่ไทยส่งออกมาฟิลิปปินส์โดยในเดือนมกราคม – มีนาคม ขยายตัวร้อยละ 5.95 มีมูลค่า 67.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าส่งออก 63.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ชาวฟิลิปปินส์มีแนวโน้มหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพและให้ความสำคัญกับความสวยความงามมากขึ้น รวมถึงการได้รับอิทธิพลจากบุคคลที่มีชื่อเสียงในด้านความงาม การดูแลผิวพรรณและการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อความสวยความงามที่แตกต่างกันไป ทำให้สินค้าประเภทเครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ยังคงมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยในการขยายตลาดส่งออกมายังฟิลิปปินส์เพิ่มมากขึ้น

           ข้อสังเกตเพิ่มเติม                                                             

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของฟิลิปปินส์ในไตรมาสแรกของปี 2568 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้ว่ารัฐบาลจะเร่งผลักดันนโยบายการใช้จ่ายภาครัฐ และโครงการโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง การเติบโตดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้ที่ร้อยละ 6 ถึง 8 อย่างไรก็ตามแม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงบ้าง ฟิลิปปินส์ยังคงได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจภายในประเทศแข็งแกร่งที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยมีปัจจัยพื้นฐานภายในประเทศ ได้แก่การลงทุนภาครัฐ และการบริโภคภาคเอกชนที่สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในปี 2568 โดยเฉพาะการบริโภคภาคครัวเรือนที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง สภาวะตลาดแรงงานที่มีอัตราการว่างงานในระดับต่ำ การส่งออกและนำเข้ามีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น และรายได้จากการส่งเงินกลับประเทศของแรงงานที่ทำงานต่างแดน ตลอดจนบทบาทของรัฐบาลในการกำกับดูแลเสถียรภาพทางการเงิน ควบคุมภาวะเงินเฟ้อ ลดอัตราดอกเบี้ย และส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตในระยะยาว แต่ทั้งนี้เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก อาทิ นโยบายการปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ และภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ภัยแล้ง หรือพายุไต้ฝุ่น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม และราคาสินค้าอุปโภคบริโภคภายในประเทศ

สำหรับแนวโน้มสถานการณ์ การส่งออกสินค้าไทยมายังฟิลิปปินส์ยังคงชะลอตัว อย่างไรก็ตามในเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 พบว่าการส่งออกสินค้าบางรายการของไทยมาฟิลิปปินส์ยังคงสามารถขยายตัวได้ดียังมีสินค้าที่มีศักยภาพ และสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์พลาสติก (+ร้อยละ 10.4) เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ และส่วนประกอบ (+ร้อยละ 36.49) เครื่องปรับอากาศ และส่วนประกอบ (+ร้อยละ 21.2) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (+ร้อยละ 58.49) และนม และผลิตภัณฑ์นม (+ร้อยละ 13.08) เป็นต้น

——————————————————————————-

マニラの海外貿易促進事務所

国際貿易振興部

15 พฤษภาคม 2568

jaJapanese