ราคาทุเรียนในตลาดเมืองหนานหนิงลดลง

เมืองฉางซาประกาศมาตรการส่งเสริมการพัฒนาการค้าต่างประเทศ

เมื่อเร็วๆ นี้ Topic “กินทุเรียนเต็มที่หลังเมย์เดย์” ขึ้นเป็น Topic ฮอตทางอินเทอร์เน็ตของจีน ช่วงนี้กำลังเป็นช่วงที่ทุเรียนจากประเทศอาเซียนกำลังเข้าสู่ตลาดจีนเป็นจำนวนมาก สำหรับตลาดเมืองหนานหนิง ราคาจำหน่ายทุเรียนราคาลดลงอย่างเห็นได้ชัด รวมทั้งมีจุดจำหน่ายทุเรียนอยู่ทั่วไป สามารถหาซื้อได้ง่าย ทำให้การซื้อทุเรียนเป็นกระแสที่มาแรง โดยผลการสำรวจสถานการณ์การจำหน่ายทั้งตลาดขายส่งและตลาดขายปลีก ของนักข่าว Nanning News Network สรุปได้ว่า

ตลาดขายส่ง

ตลาดขายส่งสินค้าเกษตรเมืองหนานหนิง ราคาจำหน่ายทุเรียนอยู่ที่ประมาณ 43.6-57.6 หยวนต่อกิโลกรัม ยังมีทุเรียนบางส่วนจำหน่ายราคาลดพิเศษคือต่ำกว่า 40 หยวนต่อกิโลกรัม ซึ่งราคาดังกล่าวขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ทุเรียน รูปร่างและคุณภาพ สำหรับทุเรียนระดับ A ราคา 57.6 หยวนต่อกิโลกรัม

ผู้จำหน่ายทุเรียนในตลาดให้ข้อมูลว่า “ราคาจำหน่ายทุเรียนเปลี่ยนแปลงตามปริมาณทุเรียนที่เข้าสู่ตลาดและความต้องของทางตลาด ส่วนราคาที่นำเข้าในทุกวันนี้มีความแตกต่างกัน ราคาจำหน่ายทุเรียนในปัจจุบันเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้แล้วลดลงเล็กน้อย ประมาณลด 10 หยวนต่อกิโลกรัม

ตลาดขายส่งผลไม้ Hi-green เป็นตลาดขายส่งผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง มีผู้บริโภคมาสั่งซื้อทุเรียนเป็นจำหนวนมหาศาล ผู้จำหน่ายให้ข้อมูลว่า “ปัจจุบัน เป็นช่วงฤดูกาลของทุเรียน โดยมีลูกค้ามาเลือกซื้อทุเรียนอย่างต่อเนื่อง ประเภททุเรียนที่จำหน่ายที่ดีที่สุดของที่ร้านคือ ทุเรียนหมอนทองจากประเทศไทย ราคาจำหน่ายอยู่ที่ 47.6 หยวนต่อกิโลกรัม ลูกละประมาณ 1.5 กิโลกรัม แสดงว่า ลูกค้าเพียงแต่จ่าย 70-80 หยวนก็สามารถซื้อได้ทุเรียน 1 ลูกแล้ว

ตลาดขายปลีก

ในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านขายผลไม้โดยเฉพาะจัดวางจำหน่ายทุเรียนอยู่พื้นที่โดดเด่นที่สุด ราคาจำหน่ายอยู่ประมาณ 40-60 หยวนต่อกิโลกรัม ส่วนราคาจำหน่ายในร้านผลไม้โดยเฉพาะส่วนมากจะสูงกว่าราคาในซูเปอร์มาร์เก็ต

สำหรับราคาจำหน่ายทุเรียนในซูเปอร์มาร์เก็ตประมาณอยู่ที่ 43.8 หยวนต่อกิโลกรัม ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจเป็นอย่างมาก ลูกค้าที่กำลังเลือกซื้อทุเรียนให้ให้ข้อมูลว่า ราคาจำหน่ายทุเรียนช่วงนี้ไม่สูงมาก รวมทั้งมีคุณภาพที่ดี จึงตัดสินใจซื้อ 2 ลูกกลับบ้านเพื่อให้คนครอบครัวรับประทานด้วยกัน

นอกจากนี้ ทุเรียนที่จำหน่ายทางออนไลน์ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ผู้บริโภคให้ข้อมูลว่า นิยมสั่งซื้อทุเรียนทางออนไลน์ในช่วงนี้ เนื่องจากราคาถูกและสะดวก

ทุเรียนของประเทศอาเซียนที่ได้เข้าสู่ตลาดจีนได้รับความสะดวกจากการบริการที่มีประสิทธิภาพของด่านศุลกากรต่างๆ ของประเทศจีน

เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง เป็นช่องทางสำคัญในการนำเข้าผลไม้ประเทศอาเซียนของประเทศจีน ปัจจุบันด่านที่ได้รับอนุญาตนำเข้าผลไม้ไทยที่ความพร้อม คือ ด่านทางบก ประกอบด้วย ด่านโหย่วอี้กวน ด่านรถไฟผิงเสียง ด่านตงซิง ด่านท่าเรือชินโจว และด่านท่าอากาศยานนานาชาติอู๋ซวีเมืองหนานหนิง

ด่านโหย่วอี้กวน เป็นด่านทางบกที่มีพรหมแดนติดกับประเทศเวียดนาม นำเข้าผลไม้อาเซียนจำนวนสูงที่สุดของจีน จากสถิติว่า ช่วงไตรมาสแรก ด่านโหย่วอี้กวนนำเข้าทุเรียนปริมาณ 61,000 ตัน เติยโต 633.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา ปริมาณการนำเข้าดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วน 96% ของทั้งเขตฯ กว่างซี และคิดเป็นสัดส่วน 66.3% ของทั้งประเทศจีน ด่านโหย่วอี้กวนได้จัดตั้ง “Green Lane” เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำเข้าผลไม้โดยเฉพาะ โดยมีช่องทางตรวจสอบและกักกันโรคสำหรับทุเรียนฌโดยเฉพาะเป็นจำนวน 10 ช่องทาง ซึ่งทำให้เวลาการผ่านด่านของทุเรียนไม่เกิน 24 ชั่วโมง ทำให้ทุเรียนที่นำเข้าผ่านด่านนี้จะถูกกระจายไปยังตลาดทั่วประเทศจีนอย่างรวดเร็ว

ด่านรถไฟผิงเสียงได้ดำเนินการใช้ขบวนรถไฟระบบความเย็น “8+1” ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2565 เป็นต้นมา เพื่อรักษาความสดของผลไม้และลดเวลาการผ่านด่าน ขบวนรถไฟนี้ ประกอบด้วยตู้คอนเทนเนอร์ระบบความเย็น 8 ตู้ และ ตู้ผลิตไฟฟ้า 1 ตู้ ที่สามารถทำความเย็นให้กับ 8 ตู้คอนเทนเนอร์ติดกัน 300 ชั่วโมงได้ สามารถรักษาความเย็นได้ตลอดทาง

ด่านตงซิง ปริมาณการนำเข้าผลไม้จากอาเซียนสูงสุดประมาณ 500 ดัน ซึ่งยังเเป็นด่านที่นำเข้าผลไม้ไทยยังไม่มาก ระยะเวลาการขนส่งจากไทยประมาณ 2-3 วัน

ท่าเรือชินโจว ปัจจุบัน ช่องทางนำเข้าผลไม้จากไทยของท่าเรือชินโจว มีความสะดวกรวดเร็วตลอดเส้นทาง เรือที่ขนส่งผลไม้จากไทยถึงท่าเรือชินโจวมีสัปดาห์ละ 5 เที่ยว ระยะเวลา 3-5 วัน คาดการณ์ว่า ปี 2566 ท่าเรือชินโจวจะนำเข้าทุเรียนจากไทยเป็นจำนวนกว่า 3,000 ตู้คอนเทนเนอร์

ท่าอากาศยานนานาชาติอู๋ซวีเมืองหนานหนิง ปัจจุบัน การขนส่งทุเรียนไทยเข้าตลาดจีนผ่านท่าอากาศยานมีปริมาณมากขึ้น เนื่องจากทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าสูง ระยะเวลาการขนส่งจากไทยมาถึงสนามบินเมืองหนานหนิงเพียงแต่ 2 ชั่วโมง ซึ่งสามารถรักษาความสดของทุเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความเห็นสคต.หนานหนิง ปัจจุบัน จีนอนุญาตนำเข้าทุเรียนจาก 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ โดยปริมาณการนำเข้าส่วนใหญ่ยังคงเป็นการนำเข้าจากประเทศไทย โดยเฉพาะในช่วงเดือนฤดูกาลของผลไม้ ถึงแม้จะมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น ยังคงไม่ส่งผลกระทบกับปริมาณการนำเข้าของทุเรียนไทย แต่ส่งผลกระทบกับราคาจำหน่ายในจีนที่ลดลงเล็กน้อยตามระบบอุปสงค์อุปทานในตลาด ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรรักษาคุณภาพของทุเรียนไทยเพื่อคงภาพลักษณ์ที่ดี

ทั้งนี้ สคต.หนานหนิงจะจัดงาน “ Thai Fruit Golden Months  Nanning 2023” บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้า Hangyang ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าที่มีชื่อเสียงของเมืองหนานหนิงระหว่างวันที่ 13-14 พฤษภาคม 2566 โดยมีวัตถุประสงค์ในการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการจำหน่ายผลไม้ไทยระดับพรีเมียม เพื่อสร้างภาพลักษณ์ผลไม้ไทยที่ดี และเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันทางตลาด

 

https://mp.weixin.qq.com/s/3tnrc_okE4Ic5Kt_EfPWEQ

http://www.gx.chinanews.com.cn/sh/2023-05-08/detail-ihcpafep6639299.shtml

http://www.gx.chinanews.com.cn/sh/2023-05-08/detail-ihcpafep6639342.shtml

Royal Thai Consulate General, Commercial Office (Thai Trade Center) - Nanning

en_USEnglish