รายงานสถานการณ์การค้าการลงทุนของเวียดนามในเดือนกรกฎาคม 2567

A. ด้านการค้า

  1. การค้าระหว่างประเทศของเวียดนาม

1.1.ในเดือนกรกฎาคม 2567

จากสถิติของกรมศุลกากรของเวียดนาม ในเดือนกรกฎาคม 2567 การค้าของเวียดนามมีมูลค่า 70,116 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2567 โดยมูลค่าการส่งออก 36,235 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 และมูลค่าการนำเข้า 33,880 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ส่งผลให้เกินดุลการค้าประมาณ 2,355 ล้านเหรียญสหรัฐ

สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ (5,895 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 10.1) โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือและชิ้นส่วน (5,448 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8) เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและส่วนประกอบ (4,799 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1) สิ่งทอและเครื่องนุ่มห่ม (3,715 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6) และรองเท้า (2,123 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3)

สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ (10,083 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4) เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและส่วนประกอบ (4,437 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6) ผ้าผืน (1,195 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.9) เม็ดพลาสติก (1,019 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4) และโทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือและชิ้นส่วน (923.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8)

1.2ในช่วงเดือนมกราคม – กรกฎาคม 2567

1.2.1.ปริมาณการค้า

จากสถิติของกรมศุลกากรของเวียดนาม ในช่วงเดือนมกราคม – กรกฎาคม 2567 การค้าของเวียดนามมีมูลค่า 0.44 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 โดยมูลค่าการส่งออก 0.22 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 และมูลค่าการนำเข้า 0.21 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 ส่งผลให้เกินดุลการค้าประมาณ 0.01 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

ตาราง 1: สถิติการค้าระหว่างเวียดนามกับโลก

หน่วย: พันล้านเหรียญสหรัฐ

รายการ ในช่วงเดือนมกราคม – กรกฎาคม
2565 2566 2567
มูลค่า ขยายตัว (%) มูลค่า ขยายตัว (%) มูลค่า ขยายตัว (%)
ปริมาณการค้า 434.4 15.5 375.7 -13.5 440.4 17.2
– การส่งออก 217.9 16.9 196.1 -10.0 227.4 16.0
– การนำเข้า 216.5 14.2 179.6 -17.1 212.9 18.5
ดุลการค้า 1.3 -140.6 16.4 1,130.1 14.5 -12.0

ที่มา: กรมศุลกากรของเวียดนาม

1.2.2.สินค้าสำคัญ

สินค้าส่งออกสำคัญในช่วงเดือนมกราคม – กรกฎาคม 2567 ได้แก่ คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ (39,592 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566) โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือและชิ้นส่วน (32,580 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7) เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและส่วนประกอบ (27,996 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5) สิ่งทอและเครื่องนุ่มห่ม (20,274 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3) และรองเท้า (12,861 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5)

สินค้านำเข้าสำคัญในช่วงเดือนมกราคม – กรกฎาคม 2567 ได้แก่ คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ (59,425 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566) เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและส่วนประกอบ (26,853 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5) ผ้าผืน (8,444 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2) เหล็กและเหล็กกล้า (6,887 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.9) และเม็ดพลาสติก (6,457 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5)

1.2.3 ตลาดที่สำคัญ

ตลาดส่งออกสินค้าสำคัญของเวียดนาม ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (66,404 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0) จีน (32,568 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0) เกาหลีใต้ (14,476 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6) ญี่ปุ่น (13,727 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8) และเนเธอร์แลนด์ (7,262 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.9) ไทยเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่อันดับ 1 ของเวียดนามในอาเซียน (4,600 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8) รองลงมาคืออินโดนีเซีย (3,465 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.5)

ตลาดนำเข้าที่สำคัญของเวียดนาม ได้แก่ จีน (79,615 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.6) เกาหลีใต้ (31,872 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7) ญี่ปุน (12,522 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4) ไต้หวัน (12,369 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0) และสหรัฐอเมริกา (8,455 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0) ในอาเซียน ไทยเป็นตลาดนำเข้าที่ใหญ่อันดับ 1 ของเวียดนาม (6,749 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1) รองลงมาคืออินโดนีเซีย (5,674 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0)

ตาราง 2: สถิติการนำเข้าตามตลาดหลักของเวียดนามในช่วงเดือนมกราคม – กรกฎาคม 2567

ที่ ตลาด สินค้าหลัก มูลค่า

(พันล้านเหรียญสหรัฐ)

ขยายตัว

(%)

1 China –     เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและส่วนประกอบ

–     คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ

–     ผ้าผืน

79.6 35.6
2 เกาหลีใต้ –     คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ

–      น้ำมันทุกชนิด

–     เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและส่วนประกอบ

 

31.9

 

11.7
3 Japan –     คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ

–     เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและส่วนประกอบ

–     เหล็กและเหล็กกล้า

12.5 5.4
4 Taiwan –     คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ

–     ผ้าผืน

–     เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและส่วนประกอบ

12.4 19.0
5 United States of America –     คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ

–     อาหารสัตว์และวัตถุดิบ

–     เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและส่วนประกอบ

8.5 5.0
6 ไทย –     ยานพาหนะ (รถยนต์)

–     เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วน

–     คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ

6.7 0.1
7 Indonesia –     ถ่านหิน

–     เหล็กและเหล็กกล้า

–     ยานพาหนะ (รถยนต์)

5.7 12.0
8 Malaysia –     คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ

–     น้ำมันทุกชนิด

–     เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและส่วนประกอบ

5.5 29.4
9 คูเวต –      น้ำมันดิบ

–     เม็ดพลาสติก

–     ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas)

4.6 29.8
10 Australia –      แร่และผลิตภัณฑ์แร่

–      ถ่านหิน

–      โลหะพื้นฐานอื่นๆ

4.5 -10.9

ที่มา: กรมศุลกากรของเวียดนาม

  1. การค้าระหว่างเวียดนามกับไทย

2.1.ในเดือนกรกฎาคม 2567

จากสถิติของกรมศุลกากรของเวียดนาม ในเดือนกรกฎาคม 2567 การค้าระหว่างเวียดนามกับไทยมีมูลค่า 1,873 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2567 โดยเวียดนามส่งออกสินค้าไปไทยมูลค่า 696.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 และเวียดนามนำเข้าสินค้าจากไทยมูลค่า 1,176 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8

สินค้าส่งออกไปไทย

  • สินค้าส่งออกไปไทยที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและส่วนประกอบ (98.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5) น้ำมันดิบ (74.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 100.0) โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือและชิ้นส่วน (67.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 22.2) คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ (60.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.3) และผลิตภัณฑ์จากสารเคมี (53.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.2)
  • สินค้าส่งออกไปไทยที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า (16.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 124) น้ำมันดิบ (74.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 100.0) ผลิตภัณฑ์จากสารเคมี (53.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.2) เม็ดมะม่วงหิมพานต์ (5.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.5) และไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ (7.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.8)

สินค้านำเข้าจากไทย

  • สินค้านำเข้าจากไทยที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ ยานพาหนะ (รถยนต์) (165.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.1) คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ (109.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8) เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและส่วนประกอบ (106.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6) น้ำมันทุกชนิด (71.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.5) และโลหะพื้นฐานอื่น ๆ (64.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.4)
  • สินค้านำเข้าจากไทยที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) (1.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 100.0) แร่และผลิตภัณฑ์แร่อื่น ๆ (13.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.6) อาหารสัตว์และวัตถุดิบ (14.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.1) น้ำมันทุกชนิด (71.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.5) และยานพาหนะ (รถยนต์) (71.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.5)

2.2.ในช่วงมกราคม – กรกฎาคม 2567

2.2.1.ปริมาณการค้า

การค้าระหว่างเวียดนามกับไทยมีมูลค่า 11,349 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 หรือคิดเป็นร้อยละ 2.6 ของการค้าระหว่างประเทศของเวียดนามทั้งหมด โดยเวียดนามส่งออกสินค้าไปไทยมูลค่า 4,600 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 หรือคิดเป็นร้อยละ 2.0 ของการส่งออกทั้งหมด และเวียดนามนำเข้าสินค้าจากไทยมูลค่า 6,749 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 หรือคิดเป็นร้อยละ 3.2 ของการนำเข้าทั้งหมด ส่งผลให้ขาดดุลการค้าประมาณ 2,148 ล้านเหรียญสหรัฐ

ตาราง 3: สถิติการค้าระหว่างเวียดนามกับไทย

หน่วย: พันล้านเหรียญสหรัฐ

รายการ ในช่วงมกราคม – กรกฎาคม
2565 2566 2567
มูลค่า ขยายตัว

(%)

สัดส่วน (%) มูลค่า ขยายตัว

(%)

สัดส่วน (%) มูลค่า ขยายตัว

(%)

สัดส่วน (%)
ปริมาณการค้า 12.4 10.2 2.9 10.9 -11.8 2.9 11.3 3.5 2.6
– การส่งออก 4.2 20.4 1.9 4.2 -0.4 2.2 4.6 8.8 2.0
– การนำเข้า 8.1 5.5 3.8 6.7 -17.7 3.8 6.7 0.1 3.2
ดุลการค้า -3.9 -6.9 -293.9 -2.5 36 -15.2 -2.1 -14.4 -14.8

ที่มา: กรมศุลกากรของเวียดนาม

  • สินค้าหลัก

2.2.2.1 สินค้าส่งออกไปไทยที่สำคัญ

– สินค้าส่งออกไปไทยที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือและชิ้นส่วน (567.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566) เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและส่วนประกอบ (566.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3) น้ำมันดิบ (506.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0) คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ (415.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.0) และยานพาหนะการขนส่ง ชิ้นส่วน อุปกรณ์และส่วนประกอบ (345.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 21.9)

– สินค้าส่งออกไปไทยที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ถ่านหิน (1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 489.4) ผลิตภัณฑ์จากสารเคมี (244.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 262.2) น้ำมันทุกชนิด (6.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 215.1) แก้วและผลิตภัณฑ์จากแก้ว (37.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 197.1) และแร่และผลิตภัณฑ์แร่ (816,278 เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 158.1)

2.2.2.2 สินค้านำเข้าจากไทยที่สำคัญ

– สินค้านำเข้าจากไทยที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ (696.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 36.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566) ยานพาหนะ (รถยนต์) (628.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 17.5) เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วน (561.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.6) เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและส่วนประกอบ (556.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0) และเม็ดพลาสติก (377.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2)

– สินค้านำเข้าจากไทยที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ แร่และผลิตภัณฑ์แร่อื่น ๆ (53.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 127.5) อัญมณี โลหะมีค่า และผลิตภัณฑ์ (21.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.2) อาหารสัตว์และวัตถุดิบ (122.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.0) สายไฟฟ้าและสายเคเบิลหุ้มฉนวน(45.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.9) และยางพารา (88.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.9)

B.การลงทุน

    1. การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign direct investment-FDI) ในเวียดนาม

จากสถิติของกระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม (Vietnam’s Ministry of Planning and Investment) ช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 20 กรกฎาคม 2567 ต่างประเทศเข้ามาลงทุนในเวียดนามมูลค่า 18,001 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 โดยมีโครงการใหม่จำนวน 1,816โครงการ รวมมูลค่า 10,763 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 โครงการที่เพิ่มมูลค่าการลงทุนจำนวน 734 โครงการ รวมมูลค่า 4,968 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 และโครงการที่นักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นจากบริษัทเวียดนามจำนวน 1,795 โครงการ รวมมูลค่า 2,269 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 45.2

ตาราง 4:  สาขาที่ได้รับการลงทุนมากที่สุดในเวียดนาม

ที่ ช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 20 กรกฎาคม 2567 การลงทุนสะสม

(ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2530 – 20 กรกฎาคม 2567)

สาขา โครงการใหม่ มูลค่ารวม

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

สาขา โครงการ มูลค่า

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

1 อุตสาหกรรมการผลิตและการประมง 637 12,654.2 อุตสาหกรรมการผลิตและการประมง 17,458 296,100.5
2 อสังหาริมทรัพย์ 42 2,871.4 อสังหาริมทรัพย์ 1,171 70,590.8
3 การค้าส่งและการค้าปลีก และการซ่อมรถยนต์รถจักรยานยนต์ 635 740.5 การผลิตและการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า น้ำประปา ก๊าซ และเครื่องปรับอากาศ 196 40,783.9
4 กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ 193 490.6 ธุรกิจบริการที่พักและอาหาร 1,004 15,415.2
5 การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 57 483.4 การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ 7,611 11,595.7
อื่นๆ 252 761.0 อื่นๆ 13,337 52,545.3
รวม 1,816 18,001.1 รวม 40,777 487,031.4

ที่มา: สำนักงานการลงทุนต่างประเทศ ภายใต้กระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม

 ตาราง 5: ประเทศที่ลงทุนมากที่สุดในเวียดนาม

ที่ ช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 20 กรกฎาคม 2567 การลงทุนสะสม

(ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2530 – 20 กรกฎาคม 2567)

ประเทศ โครงการใหม่ มูลค่ารวม

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

ประเทศ โครงการ มูลค่า

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

1 Singapore 256 6,518.9 เกาหลีใต้ 10,013 87,615.4
2 Hong Kong 191 2,193.6 Singapore 3,742 80,736.5
3 Japan 133 1,913.9 Japan 5,381 76,358.7
4 China 540 1,648.0 Taiwan 3,197 40,315.0
5 เกาหลีใต้ 219 1,580.2 Hong Kong 2,639 36,674.3
อื่นๆ 477 4,146.5 อื่นๆ 15,805 165,331.6
รวม 1,816 18,001.1 รวม 40,777 487,031.4

ที่มา: สำนักงานการลงทุนต่างประเทศ ภายใต้กระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม

ตาราง 6: จังหวัดที่ได้รับการลงทุนมากที่สุดตั้งแต่ชายฝั่งตอนกลางใต้ถึงสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงของเวียดนาม

ที่ ช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 20 กรกฎาคม 2567 การลงทุนสะสม

(ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2530 – 20 กรกฎาคม 2567)

บริเวณ โครงการใหม่ มูลค่ารวม

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

บริเวณ โครงการ มูลค่า

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

I ชายฝั่งตอนกลางใต้ 58 336.3   1,857 28,655.6
1 Quang Nam 6 94.0 Da Nang 1,053 6,537.9
2 Ninh Thuan 2 85.1 Quang Nam 232 6,429.9
3 Quang Ngai 2 48.5 Khanh Hoa 124 4,437.7
4 Khanh Hoa 3 45.3 Binh Thuan 158 3,864.8
5 Da Nang 43 29.8 Quang Ngai 72 2,337.4
จังหวัดอื่นๆ 2 33.5 จังหวัดอื่นๆ 218 5,047.9
II. ที่ราบสูงตะวันตก 3 26.3   172 1,935.1
1 Dak Lak 2 16.7 Dak Lak 32 723.2
2 Dak Nong 1 6.5 Lam Dong 103 557.1
3 Lam Dong 3.1 Dak Nong 21 318.4
4 Kon Tum 8 243.4
5 Gia Lai 8 93.0
III. ภาคใต้ 1,004 6,229.5 22,752 223,660.8
A. ตะวันออกเฉียงใต้ 922 5,649.7 20,701 187,396.2
1 Ho Chi Minh City 710 1,545.3 Ho Chi Minh City 13,015 58,081.0
2 Ba Ria – Vung Tau 20 1,542.2 Binh Duong 4,327 41,549.2
3 Binh Duong 108 1,126.9 Dong Nai 1,956 36,819.6
4 Dong Nai 56 1,050.8 Ba Ria – Vung Tau 570 36,340.8
5 Tay Ninh 17 269.3 Tay Ninh 372 9,819.9
6 Binh Phuoc 11 115.1 Binh Phuoc 461 4,785.8
B. สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง 82 579.8 2,051 36,264.6
1 Long An 70 485.7 Long An 1,448 13,931.0
2 Tien Giang 3 38.0 Kien Giang 67 4,815.3
3 Bac Lieu 1 21.0 Bac Lieu 17 4,697.6
4 Soc Trang 0 16.5 Tra Vinh 40 3,199.7
5 Vinh Long 1 5.1 Tien Giang 146 2,764.8
จังหวัดอื่นๆ 7 13.4 จังหวัดอื่นๆ 333 6,856.2

ที่มา: สำนักงานการลงทุนต่างประเทศ ภายใต้กระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม

  1. การลงทุนของไทยในเวียดนาม

2.1 ช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 20 กรกฎาคม 2567 บริษัทไทยเข้ามาลงทุนในเวียดนามมูลค่า 100.07 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีโครงการใหม่จำนวน 21 โครงการ มูลค่า 48.21 ล้านเหรียญสหรัฐ โครงการที่เพิ่มมูลค่าการลงทุนจำนวน 6 โครงการ มูลค่าเพิ่มประมาณ 39.27 ล้านเหรียญสหรัฐ และโครงการที่นักลงทุนไทยซื้อหุ้นจากบริษัทเวียดนามจำนวน 20 โครงการ มูลค่า 12.59 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 15 จาก 91 ประเทศที่เข้ามาลงทุนในเวียดนาม

2.2 การลงทุนสะสม (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2530 – 20 กรกฎาคม 2567) ไทยเป็นผู้ลงทุนอันดับที่ 9 จาก 147 ประเทศที่เข้ามาลงทุนในเวียดนาม โครงการลงทุนรวม 754 โครงการ มูลค่า 14.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

***********************************

en_USEnglish