สถานการณ์เศรษฐกิจนิวซีแลนด์
– ภายหลังการตรวจพบไวรัส Tomato Brown Rugose Fruit Virus (ToBRFV) จากแหล่งผลิตในรัฐ South Australia Biosecurity นิวซีแลนด์ประกาศระงับการนำเข้ามะเขือเทศและเมล็ดพันธุ์ชั่วคราวจากเกือบทุกรัฐในออสเตรเลียยกเว้นรัฐ Queensland เริ่ม 23 สิงหาคม 2567 (จะทบทวนมาตรการอีกครั้งในอีก 1 สัปดาห์) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส ToBRFV และปกป้องอุตสาหกรรมผลิตในประเทศ อีกทั้ง เตือนให้ผู้ผลิตพืชสวนในประเทศเตรียมการรับมือ โดยเพิ่มความเข้มงวดด้านสุขอนามัยพืชให้มากขึ้นและเฝ้าระวังหากเกิดกรณีตรวจพบไวรัส ToBRFV
– การเติบโตของ GDP นิวซีแลนด์ไตรมาสเดือนมีนาคมขยายตัว 0.2% และขยายตัว 0.2% ต่อปี เป็นการขยายของภาคธุรกิจให้เช่า ธุรกิจให้บริการด้านพลังงาน และการใช้จ่ายภาคครัวเรือนแต่การใช้จ่ายภาครัฐลดลง อุตสาหกรรมผลิตในประเทศหดตัวลง 1.2% (ยกเว้นอุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่ม) อุตสาหกรรมการก่อสร้างโดยรวมหดตัวลง 3.1% แต่อุตสาหกรรมผลิตภาคการเกษตร ประมงและป่าไม้ขยายตัว 0.45 การส่งออกหดตัวลง 0.4% ในขณะที่การนำเข้าสินค้าและบริการของนิวซีแลนด์เพิ่มขึ้น 6.1% นิวซีแลนด์มีรายได้ประชาชาติสุทธิเพิ่มขึ้น 0.9% และการเติบโตของ GDP ต่อหัวลดลง 0.3% การเติบโตทางเศรษฐกิจนิวซีแลนด์ที่ซบเซาลง มีผลให้ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25 จุดเป็นครั้งแรกอยู่ที่ 5.25% อัตราเงินเฟ้อลดลงที่ 3.3% อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นที่ 4.6%
สถานการณ์การค้าภาพรวมของนิวซีแลนด์เดือนมกราคม-เมษายน 2567 [1]
การส่งออก
ปี 2567 เดือนมกราคม–เมษายน สถานการณ์การส่งออกสินค้าของนิวซีแลนด์ มีมูลค่า 13,919 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 2.55) เป็นการส่งออกนมและผลิตภัณฑ์นม เนย ไขมัน (ร้อยละ 30.44) เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค (ร้อยละ 13.43) ไม้ที่ยังไม่แปรรูป (ร้อยละ 6.71) กีวี (ร้อยละ 6.16) อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก (ร้อยละ 3.49) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 11 (นมและครีมที่ทำให้เข้มข้น เยื่อไม้เคมีที่เป็นเยื่อไม้โซดาหรือเยื่อไม้ซัลเฟต แอปเปิ้ล อลูมิเนียม และเนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค)
การนำเข้า
ปี 2567 เดือนมกราคม–เมษายน การนำเข้าสินค้าของนิวซีแลนด์ มีมูลค่า 14,508 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 15.30) โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 15.84) เครื่องกังหันไอพ่น (ร้อยละ 12.94) รถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 11.87) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 9.26) อุปกรณ์และเครื่องใช้ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ร้อยละ 3.68) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ขาดดุลการค้า 589 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 7 มีมูลค่า 566.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 8.06) (รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ โพลิเมอร์ของเอทิลีนในลักษณะขั้นปฐม เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ น้ำตาลและขนมทำจากน้ำตาล) โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 296.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (10,367 ล้านบาท)
สถานการณ์การส่งออกและนำเข้าสินค้าของนิวซีแลนด์ในเดือนเมษายน 2567
สถานการณ์การส่งออกสินค้าของนิวซีแลนด์ในเดือนเมษายน 2567 มีมูลค่า 3,719.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 7.82) เป็นการส่งออกนมและผลิตภัณฑ์นม เนย ไขมัน (ร้อยละ 26.13) กีวี (ร้อยละ 14.86) เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค (ร้อยละ 12.83) ไม้ที่ยังไม่แปรรูป (ร้อยละ 5.44) และอาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก (ร้อยละ 3.30) โดยประเทศส่งออกหลัก คือ จีน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 12 (นมและครีมที่ทำให้เข้มข้น แอปเปิ้ล เยื่อไม้เคมีที่เป็นเยื่อไม้โซดาหรือซัลเฟต เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภคและอาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก)
การนำเข้าสินค้าของนิวซีแลนด์ในเดือนเมษายน 2567 มีมูลค่า 3,709.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 5.49) โดยเป็นการนำเข้าปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 18.87) เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (ร้อยละ 12.60) รถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 11.37) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 9.68) อุปกรณ์และเครื่องใช้ทางการแพทย์ ศัลยกรรม ทันตกรรมและอุปกรณ์สำหรับตรวจวัดสายตา (ร้อยละ 3.63) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งในเดือนเมษายน 2567 นิวซีแลนด์ได้ดุลการค้า 10.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทย เป็นคู่ค้าอันดับ 7 (รถยนต์ น้ำตาลและขนมทำจากน้ำตาล เครื่องปรับอากาศ อาหารสัตว์เลี้ยงและ โพลิเมอร์ของเอทิลีนในลักษณะขั้นปฐม)
สรุปสถานการณ์การค้าไทย-นิวซีแลนด์ [2]
เป้าหมายส่งออก | มูลค่าการค้ารวม (ล้าน US$) | มูลค่าการส่งออก (ล้าน US$) | มูลค่าการนำเข้า (ล้าน US$) | |||||||
ปี 2023
(%) |
ปี 2024
(%) |
ปี 2023 | ปี 2024 | ปี 2023 | ปี 2024 | ปี 2023 | ปี 2024 | |||
ม.ค.– ธ.ค. | ม.ค.-เม.ย. | +/- (%) | ม.ค. – ธ.ค. | ม.ค.– เม.ย. | +/- (%) | ม.ค. – ธ.ค. | ม.ค.– เม.ย. | +/- (%) | ||
2.0
(-24.94) |
1.0 | 2,242.32
(-21.20) |
833.90 | 9.68 | 1,404.14
-24.94 |
529.73 | 17.55 | 838.18
(-14.00) |
304.17 | -1.77 |
[1] Source: Global Trade Atlas
[2] Source: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
การส่งออกและนำเข้าสินค้าไทยไปนิวซีแลนด์เดือนเมษายน ปี 2567
- การส่งออกสินค้าไทยไปนิวซีแลนด์เดือนเมษายน ปี 2567 มีมูลค่า 131.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (4,616.5 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ เม็ดพลาสติก อาหารทะเลกระป๋อง เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ อาหารสัตว์เลี้ยงและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง แต่การส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมและเครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิวลดลง
- การนำเข้าสินค้าของไทยจากนิวซีแลนด์เดือนเมษายน ปี 2567 มีมูลค่า 93.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (3,283 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.69 เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าน้ำมันสำเร็จรูป ผัก ผลไม้ สินแร่โลหะอื่นๆ เยื่อกระดาษ เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค เคมีภัณฑ์ สัตว์น้ำสด แช่เย็นแช่แข็ง อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก และไม้ซุงและไม้แปรรูป แต่การนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นมลดลง
……………………………………………………………………………………………..
Royal Thai Consulate General, Commercial Office (Thai Trade Center) - Sydney