อุปสรรคที่ขัดขวางการขยายตัวในธุรกิจอาหารจากพืช (ตอนจบ)

แล้วก็มาถึงอุปสรรคข้อสุดท้ายที่ขัดขวางการขยายตัวในธุรกิจอาหารจากพืชในตลาดสหรัฐฯ ซึ่งในกรณีนี้เป็นหน้าที่โดยตรงของเจ้าของแบรนด์และผู้จัดจำหน่ายหรือกระจายสินค้า

อุปสรรคที่ 3: ผู้บริโภคบางรายต้องลำบากในการหาซื้อหรือแยกแยะสินค้าอาหารจากพืช

ผู้บริโภคส่วนใหญ่ทราบดีว่าต้องเดินไปที่ใดเพื่อหาซื้อเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมต่างๆ ในร้านค้าปลีกของชำ แต่อาหารจากพืช ผู้บริโภคเกือบครึ่งหนึ่ง (46%) บอกว่าการหาซื้อในร้านค้าปลีกของชำนั้นยาก

สิ่งที่ควรทราบในการขยายตลาดอาหารจากพืชในสหรัฐฯ ตอนจบ (4/4)

พิจารณาจากกลุ่มอายุพบว่า กว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่ม Gen Z (54%) และ Millennials รุ่นเยาว์ (51%) หาซื้อสินค้าอาหารจากพืช อาจเป็นเพราะ 2 กลุ่มนี้คือกลุ่มที่เปิดรับต่ออาหารจากพืชมากที่สุด จึงพยายามมองหา ในขณะที่กลุ่มอื่นๆ ไม่ได้เดินหาจึงมีคนที่รู้สึกว่ายากน้อยกว่า และเมื่อพิจารณาจากรูปแบบการบริโภค กลุ่ม Vegan (50%) ซึ่งมองหาอาหารจากพืชอย่างจริงจัง จึงรู้สึกว่าหายากเช่นกัน

สิ่งที่ควรทราบในการขยายตลาดอาหารจากพืชในสหรัฐฯ ตอนจบ (4/4)

นอกเหนือจากนี้ สำหรับอาหารจากพืชนั้น การยอมรับในแบรนด์ และการบอกต่อๆ กันโดยผู้บริโภคยังคงเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ผู้บริโภคตอบรับได้ง่ายขึ้น

สิ่งที่ควรทราบในการขยายตลาดอาหารจากพืชในสหรัฐฯ ตอนจบ (4/4)

โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับการแนะนำจากคนรู้จักนี้ มีโอกาสจะซื้ออาหารจากพืชในการจับจ่ายที่ร้านค้าปลีกของชำมากกว่ากลุ่มผู้ที่ต้องได้รับการกระตุ้นจากการแจกให้ชิมฟรี แต่ทั้งคู่ก็รู้สึกว่าอาหารจากพืชหายากพอกัน

สิ่งที่ควรทราบในการขยายตลาดอาหารจากพืชในสหรัฐฯ ตอนจบ (4/4)

โอกาสที่ 3: แบรนด์และตำแหน่งการวางจำน่ายสินค้า

ความสะดวก การถูกพบเห็นได้ง่าย และการที่แบรนด์เป็นที่รู้จัก คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกของชำ ปัจจุบันมีการวางจำหน่ายอาหารจากพืชแยกออกจากเนื้อสัตว์ แต่หากต้องการให้ผู้บริโภครู้สึกคุ้นเคยและยินดีจะซื้อมากขึ้น การวางจำหน่ายไว้คู่กับเนื้อจะเพิ่มโอกาสขึ้นเพราะจะเป็นการแจ้งผู้บริโภคที่เชื่อว่าอาหารจากพืชว่ามีคุณค่าสูงกว่าว่ามีของใหม่และกระตุ้นให้ซื้อขณะอยู่ที่แผนกขายเนื้อนั้นได้ทันที

ในร้านค้าปลีก ผู้บริโภคส่วนใหญ่ เห็นด้วยว่าอาหารจากพืชทุกชนิด รวมถึงโปรตีนจากพืช ควรจะวางจำหน่ายไว้ในพื้นที่เดียวกันกับเนื้อสัตว์ โดยการวางจำหน่ายอาจทำได้ 2 วิธีด้วยกัน ได้แก่

  1. วางรวมกันไปเลย คือการวางจำหน่ายอาหารจากพืชไว้คู่กันในพื้นที่เดียวกันกับเนื้อสัตว์
  2. วางรวมแต่แยกประเภท คือการวางจำหน่ายอาหารจากพืชไว้ในพื้นที่เดียวกัน แต่แบ่งอาหารจากพืชออกมาให้ชัดเจน

สิ่งที่ควรทราบในการขยายตลาดอาหารจากพืชในสหรัฐฯ ตอนจบ (4/4)

โดยรวมแล้ว ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องการให้วางจำหน่ายรวมกันแต่แยกประเภทให้ชัดเจน  แต่ความเห็นในกรณีนี้มีหลากหลายน้ำหนักจะต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม และเมื่อเจาะลึกถึงกลุ่มผู้บริโภคที่ซื้ออาหารจากพืชบ่อยๆ ต้องการทั้ง 2แบบพอๆ กัน แต่มีผู้ที่ต้องการให้วางรวมกันไปเลยสอดคล้องกับผู้ที่ตั้งใจจะซื้อมากขึ้นในอนาคต ซึ่งก็มากกว่ากลุ่มที่ซื้อไม่บ่อย

สิ่งที่ควรทราบในการขยายตลาดอาหารจากพืชในสหรัฐฯ ตอนจบ (4/4)

ในขณะที่สหรัฐฯ ยังคงจะมีการออกกฎหมายเรื่องป้ายสินค้าสำหรับอาหารจากพืชกันต่อไป การสร้างแบรนด์และการสร้างรับรู้ในแบรนด์นั้นจึงยังคงมีบทบาทที่สำคัญในการสร้างความคุ้นเคยในหมู่ผู้บริโภคและการรับรู้ว่าจะหาซื้อได้ที่ใดด้วย

ในร้านอาหาร ก็เช่นเดียวกัน โอกาสที่จะสร้างการรับรู้ในหมู่ผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชแบรนด์ต่างๆ มีส่วนอย่างยิ่งในการทำให้ผู้บริโภคเห็นความแตกต่างในร้านอาหาร ผู้บริโภคคาดหวังให้มีการทำป้ายที่ชัดเจนและทำให้แยกแยะอาหารจานจากพืชได้อย่างชัดเจนในร้านอาหารด้วย โดยมีผู้บริโภคถึงร้อยละ 87 ที่ตอบว่าตนอย่างเห็นร้านอาหารทำเมนูเฉพาะสำหรับอาหารจากพืชและและการจัดวางที่ทำให้รายการอาหารจากพืชหาได้ง่ายและพวกเขาก็จะอยากลองทาน

สิ่งที่ควรทราบในการขยายตลาดอาหารจากพืชในสหรัฐฯ ตอนจบ (4/4)

ผลการสำรวจในเรื่องนี้ สอดคล้องกันทั้งหมดในทุกกลุ่มผู้บริโภคที่มีรูปแบบการเลือกทานอาหารแตกต่างกัน แต่จะมีแตกต่างกันไปบ้างหากจำแนกตามระดับความคุ้นเคย ผู้บริโภคที่ไม่ค่อยจะคุ้นเคยกับอาหารจากพืชจะไม่ค่อยอยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับรายการอาหารจากพืชในเมนูมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้สัญลักษณ์ตัวอักษรเพื่อแบ่งแยกจากต่างๆ ออกเป็น Vegan, Vegetarian หรือ อาหารจากพืช

บทสรุปปิดท้าย

ผลการสำรวจในเรื่องนี้ สอดคล้องกันทั้งหมดในทุกกลุ่มผู้บริโภคที่มีรูปแบบการเลือกทานอาหารแตกต่างกัน แต่จะมีแตกต่างกันไปบ้างหากจำแนกตามระดับความคุ้นเคย ผู้บริโภคที่ไม่ค่อยจะคุ้นเคยกับอาหารจากพืชจะไม่ค่อยอยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับรายการอาหารจากพืชในเมนูมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้สัญลักษณ์ตัวอักษรเพื่อแบ่งแยกจากต่างๆ ออกเป็น Vegan, Vegetarian หรือ อาหารจากพืช

บทสรุปปิดท้าย

อุตสาหกรรมอาหารจากพืชนี้มีโอกาสมากมายทั้งสำหรับแบรนด์ผู้ผลิตและร้านอาหารด้วยระดับอุปสงค์ในตลาดที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และแม้ความนิยมจะพุ่งสูงแล้ว แต่ก็ยังมีช่องว่างในตลาดและความเข้าใจผิดของผู้บริโภคที่ยังสามารถแก้ไขกันต่อไปได้ หากเน้นให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ทำให้สินค้าถูกพบเห็นได้ง่ายในตลาด และตอบโจทย์ความต้องการอาหารทางเลือกที่มีโปรตีนสูงที่พุ่งสูงขึ้น บรรดาเจ้าของแบรนด์ต่างๆ ก็จะสามารถขยายการเข้าถึงผู้บริโภคและมีรายได้เพิ่มจากความพึงพอใจที่หลากหลายของผู้บริโภคได้

ด้วยการใช้กลยุทธ์ที่สร้างสรรค์ อาทิ กิจกรรมการแจกให้ชิม การลดแลกแจกแถมต่างๆ และปรับปรุงการวางจำหน่ายสินค้าให้เหมาะสม อุตสาหกรรมอาหารจากพืชก็จะสามารถก้าวข้ามบรรดาอุปสรรคต่างๆ และกรุยทางไปสู่การยายตัวอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต

บทวิเคราะห์: ในตอนสุดท้ายนี้ ขอสรุปรวบยอดทั้ง 4 ตอนสั้นๆ ดังนี้

    1. กลุ่มคนรุ่นใหม่ (Gen Z และ Millennials รุ่นเยาว์ ช่วงอายุ 18-35 ปี) ชอบลองของใหม่ ตอบรับอาหารทางเลือกอย่างอาหารจากพืช และรูปแบบการบริโภคใหม่ๆ มากกว่ากลุ่มที่อายุสูงกว่านั้น และเนื่องจากการสำรวจจำกัดขั้นต่ำอยู่ที่อายุ 18 ปี ดังนั้น เป็นไปได้ว่า รุ่นที่เด็กๆ ลงมา น่าจะมีแนวโน้มตอบรับดีขึ้นต่อเนื่องในอนาคต
    2. อุปสรรคที่แบรนด์อาหารจากพืชจะต้องเผชิญ จากการสำรวจครั้งนี้ มีด้วยกัน 3 ประการ ได้แก่ (1) ผู้บริโภคส่วนหนึ่งไม่ได้มองว่าอาหารจากพืชดีต่อสุขภาพ (2) ผู้บริโภคเชื่อว่าตนจะไม่ชอบรสชาติและรสสัมผัสขณะเคี้ยวของอาหารจากพืช (3) การวางจำหน่ายสินค้าทำให้ผู้บริโภคหาซื้อหรือแยกแยะอาหารจากพืชได้ยาก และโอกาส 3 ประการ ได้แก่ (1) ผู้บริโภคมองหาช่องทางบริโภคโปรตีนเพิ่มขึ้น (2) การให้ความรู้และสร้างการรับรู้แบรนด์ (3) การวางจำหน่ายที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค
    3. จากการสำรวจ ผู้ที่ไม่รับรู้ถึงประโยชน์ของอาหารจากพืชที่ดีต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าเนื้อสัตว์นั้น ดูจากสัดส่วนแล้ว มีจำนวนมาก เป็นเหมือนโอกาสที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยว การให้ความรู้อาจเปลี่ยนให้มาเป็นผู้บริโภคประจำได้ เรื่องรสชาติและรสสัมผัสขณะเคี้ยวนั้นผู้ที่ไม่คุ้นเคยและไม่ต้องการจะลองชิม ก็ด้วยความเชื่อว่าตนจะไม่ชอบ หากชิมแล้วชอบก็จะซื้อ ให้ซื้อไปลองชิมเองก็เสียดายเพราะเชื่อว่าคงจะไม่ชอบ และจากการสำรวจพบว่า ร้อยละ 91 ชิมแล้วชอบ และร้อยละ 16 ที่ชอบมากกว่าเนื้อสัตว์ด้วย การสร้างโอกาสที่จะได้ลองชิมโดยปราศจากความเสี่ยงว่าตนจะไม่ชอบ ทำได้ไม่ยาก ยิ่งสัดส่วนของผู้บริโภคที่ไม่ได้ลองแล้วเชื่อว่าไม่ชอบมีจำนวนมากเท่าไร โอกาสที่จะขยายตลาดไปอีก ยิ่งมากขึ้น
    4. ในเรื่องการวางจำหน่ายจากรายงานฉบับนี้ จากการเดินสำรวจในตลาดจริง ก็พบว่า อาหารจากพืชมักจะไปอยู่ในพื้นที่ต่างหากในร้านค้าปลีกของชำ เหมือนถูกจัดให้เป็นอาหารอีกประเภทหนึ่งไปเลย ซึ่งตามเครือค้าปลีกที่เดินดูนั้น ก็แยกส่วนออกมาจากเนื้อสัตว์ชัดเจน แต่ก็ไม่ได้หายาก เพราะเป็นตู้แช่ที่เสริมออกมาจากบริเวณสินค้าแช่เย็นแช่แข็ง และถูกวางอยู่ใกล้กับช่องชำระเงินมากกว่าเสียด้วย ประเด็นนี้จึงไม่ได้เห็นด้วยกับรายงานฉบับนี้นัก อีกทั้งการไปเปลี่ยนแปลงระบบการจัดวางสินค้าในเครือข่ายร้านค้าปลีกที่อยู่ในตลาดมานานแล้วนั้น น่าจะเป็นเรื่องยากอยู่ หากแบรนด์ต่างๆ เห็นพ้องกันว่าจำเป็นเช่นนั้น หากรวมตัวกันเจรจากับเครือค้าปลีกทีละเครือ ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ในส่วนของร้านอาหารก็เช่นกัน โดยเฉพาะในเครือร้านอาหารใหญ่ๆ การจะเพิ่มเมนูอีกสักหนึ่งเมนูนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เท่าที่ทราบอาจต้องมีการทำ pilot-test บางสาขาก่อน เพื่อเก็บข้อมูลการตอบรับและปัญหาที่พึงจะมีได้ เพื่อเตรียมวางแผนรับมือไว้ล่วงหน้า แต่หากแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งเข้าไปเจรจา และยอมร่วมมือร่วมลงทุน (ทั้งในการทดละอองตลาดและประชาสัมพันธ์) กับเครือข่ายใหญ่ๆ เหล่านี้ หากมีผลตอบรับที่ยอมรับได้ ก็จะเป็นโอกาสที่ใหญ่มากของแบรนด์นั้นไปเลย (ส่วนตัวเคยทราบว่าการขายของบางอย่างแม้สัก 1 รายการให้เครือร้านอาหารใหญ่ๆ เหล่านี้ อาจต้องตั้งโรงงานผลิตสิ่งนั้นโดยเฉพาะขึ้นมารองรับจึงจะสามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจเหล่านี้ได้)

ขอเพิ่มผลการวิเคราะห์ให้พิจารณาอีกครั้งจากรายงานอีกฉบับหนึ่งที่อาจเป็นประโยชน์ โดยผลการสำรวจแรกจะกล่าวถึงเหตุผลที่จะทำให้อยากซื้อผลิตภัณฑ์อาหารจากพืช ดังนี้

เช่นนั้น หากรวมตัวกันเจรจากับเครือค้าปลีกทีละเครือ ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ในส่วนของร้านอาหารก็เช่นกัน โดยเฉพาะในเครือร้านอาหารใหญ่ๆ การจะเพิ่มเมนูอีกสักหนึ่งเมนูนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เท่าที่ทราบอาจต้องมีการทำ pilot-test บางสาขาก่อน เพื่อเก็บข้อมูลการตอบรับและปัญหาที่พึงจะมีได้ เพื่อเตรียมวางแผนรับมือไว้ล่วงหน้า แต่หากแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งเข้าไปเจรจา และยอมร่วมมือร่วมลงทุน (ทั้งในการทดละอองตลาดและประชาสัมพันธ์) กับเครือข่ายใหญ่ๆ เหล่านี้ หากมีผลตอบรับที่ยอมรับได้ ก็จะเป็นโอกาสที่ใหญ่มากของแบรนด์นั้นไปเลย (ส่วนตัวเคยทราบว่าการขายของบางอย่างแม้สัก 1 รายการให้เครือร้านอาหารใหญ่ๆ เหล่านี้ อาจต้องตั้งโรงงานผลิตสิ่งนั้นโดยเฉพาะขึ้นมารองรับจึงจะสามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจเหล่านี้ได้)

ขอเพิ่มผลการวิเคราะห์ให้พิจารณาอีกครั้งจากรายงานอีกฉบับหนึ่งที่อาจเป็นประโยชน์ โดยผลการสำรวจแรกจะกล่าวถึงเหตุผลที่จะทำให้อยากซื้อผลิตภัณฑ์อาหารจากพืช ดังนี้

สิ่งที่ควรทราบในการขยายตลาดอาหารจากพืชในสหรัฐฯ ตอนจบ (4/4)

ผู้บริโภคมองผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชว่ามีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ผลการสำรวจเมื่อปลายปีที่ผ่านมาน่าจะทำให้มั่นใจได้มากขึ้นว่าผู้บริโภคทั้งที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคยต่างก็มีทัศนคติในแง่ดีต่ออาหารจากพืชแทบทั้งสิ้น

สิ่งที่ควรทราบในการขยายตลาดอาหารจากพืชในสหรัฐฯ ตอนจบ (4/4)

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ: การที่หยิบรายงานฉบับนี้มานำเสนอเพราะเห็นว่าชี้ปัญหาได้ตรงจุดพร้อมทางแก้ซึ่งชี้โดยอ้างอิงจากผลสำรวจมาด้วยจากผู้บริโภคตัวจริงในสหรัฐฯ ซึ่งก็คงไม่ใช่เพียงสามารถตอบโจทย์ในตลาดสหรัฐฯ เท่านั้น โลกในปัจจุบัน ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้จากทั่วทุกมุมโลกได้แทบไม่แตกต่างกันด้วยอิทธิพลจากอินเตอร์เน็ตและการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งแทบจะเรียกว่าเป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิตทุกวันนี้ไปแล้ว กระแสสังคมในเรื่องต่างๆ ก็ดูเหมือนจะหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวในหลายๆ กรณี อาทิความห่วงใยต่อสุขภาพของตน ความเมตตากรุณาต่อสัตว์ ความกังวลเรื่องสภาวะโลกร้อน ความเปลี่ยนแปลงในสภาพภูมิอากาศ ฯลฯ นอกจากนี้ บรรดาผู้ประกอบการด้านปศุสัตว์ก็ยังตกเป็นจำเลยของสังคมทั่วโลกว่าเป็นต้นเหตุรายสำคัญที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลก ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีกระแสตอบโต้กลับมาบ้างว่าอุตสาหกรรมอาหารจากพืชมีมุมมืดอย่างไรบ้าง อาทิ การใช้สารเคมีมากมายเพื่อแต่งกลิ่น รสชาติและรสสัมผัสขณะเคี้ยว สารเคมีตกค้างจากการเกษตรกรรมทั้งปุ๋ย สารกำจัดแมลง ฯลฯ โลกข่าวสารทุกวันนี้ก็มีจริงบ้างเท็จบ้าง คละๆ กันไป ก็คงต้องเลือกแหล่งความรู้ และช่องทางการสื่อสารต่อผู้บริโภคที่น่าเชื่อถือที่สุด และใช้ประโยชน์จากช่องทางเหล่านี้ให้ความรู้ที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค และในทุกช่องทางการสื่อสารถึงประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ของตนเอง ก็อย่าพลาดที่จะมีแบรนด์ของตนเองอยู่กับข้อมูลดีๆ เหล่านั้นด้วย เช่นในประเด็นที่เป็นจริง และเป็นคุณประโยชน์ก็หยิบสื่อที่ดีๆ มาใช้บ้าง และปัจจุบันนี้ อยากจะสื่อถึงใคร เราก็กำหนดได้ไม่ยากผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์มากมาย เช่น การสื่อสารผ่าน Influencer ที่มีฐานจำนวนผู้ติดตามทั้งขนาดกลางหรือเล็กในพื้นที่ที่ต้องการขยายตลาด เป็นต้น

จากรายงานฉบับนี้ อยากให้ผู้ประกอบการไทย ทำตลาดจากในประเทศออกมา สร้างแบรนด์ตนเองให้เป็นที่ยอมรับในประทศไทยเสียก่อน ช่องทางจัดจำหน่ายที่ออกไปสู่ผู้บริโภคโดยตรงนั้นใหญ่มากก็จริง แต่การที่แบรนด์จะได้ปรากฏตามร้านอาหาร โรงแรมหรือเครือข่ายร้านอาหารจานด่วนทั้งของไทยและจากต่างประเทศในประเทศไทยก็ตามที ล้วนเป็นช่องทางที่จะช่วยสร้างความคุ้นเคยในหมู่ผู้บริโภคให้ได้มากยิ่งขึ้น การเข้าสู่ตลาดผ่านทางผู้ให้บริการด้านอาหาร หรือ Food Services นั้น ต้องมีมาตรฐานและมีความสม่ำเสมอ อาจยุ่งยากกว่าบ้าง และสัดส่วนผลกำไรก็อาจน้อยกว่าการวางจำหน่ายตามร้านค้าปลีก แต่ก็เป็นฐานรายได้ที่มั่นคงกว่าและหากใช้เป็นบันไดขั้นแรก ก็สามารถรองรับการขยายตลาดได้ดีกว่าการเข้าสู่ตลาดผู้บริโภคโดยตรงผ่านช่องทางค้าปลีกที่มีความเสี่ยงสูงกว่ามาก การทำตลาดก็จะต้องมีการสื่อสารที่ถึงกลุ่มเป้าหมายให้ได้และสินค้าก็ต้องวางจำหน่ายสอดรับกับกระแสที่สร้างขึ้นมาให้ทั่วถึง สำหรับผู้ประกอบการที่มีเส้นสายในการวางจำหน่ายที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว ก็ย่อมจะไม่ใช่เรื่องยาก แต่ผู้ประกอบการรายใหม่ๆ จะเข้าตลาดผู้บริโภคนั้นก็หนักหนาสาหัสอยู่

ก่อนหน้านี้เคยเล่าถึงโอกาสที่จะเข้าถึงเครือร้านอาหารระดับนานาชาตินั้นมาแล้ว และก็อยากให้แบรนด์ไทยที่มั่นใจในคุณภาพและความสม่ำเสมอของตนพยายามมองหาโอกาสที่จะเป็นผู้จัดส่งวัตถุดิบเข้าสู่เครือข่ายร้านอาหารเหล่านี้ ซึ่งแน่นอนว่าหากเริ่มจากเครือร้านอาหารท้องถิ่นอาจง่ายกว่า แต่เครือร้านอาหารระดับนานาชาติก็ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ จากที่เคยพูดคุยกับผู้บริหารในวงการร้านอาหารแฟรนไชส์จากต่างประเทศในอดีตก็ได้เคยรับทราบมาว่า เครือข่ายร้านเหล่านี้มองหาสิ่งใหม่ๆ มาเสริมเมนูของตนอยู่เสมอ ทั้งที่เป็นตามฤดูกาลและรายการประจำ ยกตัวอย่าง McDonalds’ ที่ขายเบอเกอร์เนื้อวัว ก็ยังต้องหันมาขายไก่บ้าง ปลาบ้าง KFC ที่ชื่อก็บอกว่าขายไก่ ก็ไม่อาจมีแต่ไก่เท่านั้นได้ จากที่ทราบมาการเข้าไปเจรจาเพื่อเสนอรายการใหม่ๆ นั้นขั้นตอนการเข้าไปเสนอนี้ เป็นขั้นตอนแรกที่ง่ายที่สุด ขึ้นอยู่กับการนำเสนอ ผู้ที่มีฐานตัวเลขความสำเร็จในตลาดจริงมาบ้างแล้ว และชื่อเสียงเรื่องความสม่ำเสมอในบริการไม่เคยเสียหาย ก็มีโอกาสทั้งสิ้น แต่ขั้นตอนหลังรับหลักการแล้วนั้น จะยากขึ้นๆ ทั้งนี้เพราะกิจการในลักษณะนี้จำเป็นต้องมีความสม่ำเสมอ การทดสอบตลาดในบางสาขาก่อนอาจเป็นประตูแรกที่ต้องเดินผ่านไปให้ได้ แต่ที่หนักหนาสาหัสจริงกลับเป็นตอนที่ผ่านขั้นตอนเหล่านั้นไปแล้ว และเครือข่ายร้านอาหารเหล่านี้ต้องการจะสั่งมาขายผ่านเมนูปกติแล้ว ความสามารถในการขยายกำลังการผลิตเพื่อรองรับความต้องการในการกระจายสินค้าไปทุกสาขาในปริมาณที่เหมาะสม อย่างสม่ำเสมอ นั่นเป็นงานหนักที่สุด แล้วก็อาจไม่ได้หยุดอยู่เพียงในประเทศ เมนูใหม่ที่อาจต้องพร้อมขยายสู่ต่างประเทศด้วย หากได้รับความนิยมโดยเฉพาะในพื้นที่ท่องเที่ยวหลักๆ เป็นงานยาก งานหนัก แต่ถ้าทำได้สำเร็จก็เป็นเรื่องใหญ่ เรื่องยาว และผู้ประกอบการเองก็คงเห็นภาพแล้ว ว่าหลังจากนั้นจะต่อยอดกันไปต่อได้อีกมากเพียงใด จึงขอฝากให้พิจารณาไว้ด้วย

*********************************************************

ที่มา: PBFA & GFI
เรื่อง: “GROWTH IN THE PLANT-BASED SPACE: What The Industry Needs To Know In 2024”
โดย: Dig Insights
สคต. ไมอามี /วันที่ 8 กรกฎาคม 2567
en_USEnglish