การบริโภคเนื้อสัตว์ในสหรัฐอเมริกา

สหรัฐอเมริกาคือหนึ่งในประเทศที่มีการบริโภคเนื้อสัตว์มากที่สุดในโลก ข้อมูลจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) ระบุว่า โดยเฉลี่ยชาวอเมริกันบริโภคเนื้อสัตว์มากถึง 149 กิโลกรัมต่อปี โดยแบ่งเป็นสัตว์ปีกที่ร้อยละ 50.4 เนื้อวัวที่ร้อยละ 26.26 และเนื้อหมูที่ร้อยละ 23.27 อย่างไรก็ดี ในช่วงปี 2565-2566 การบริโภคเนื้อสัตว์ในสหรัฐฯ ได้มีการลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลงร้อยละ 4 ในปี 2565 และลดลงร้อยละ 6 ในปี 2566 สาเหตุสำคัญเกิดจากราคาของเนื้อสัตว์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาภัยแล้งในสหรัฐฯ

สัดส่วนการบริโภคเนื้อสัตว์ชนิดต่างในสหรัฐฯ

อุตสาหกรรมเนื้อแปรรูปในสหรัฐฯ

 

สถานการณ์ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปในสหรัฐฯ

นับตั้งแต่ปี 2563 ตลาดผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป หรือเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อเพิ่มรสชาติหรือเพื่อการเก็บรักษา อาทิ ไส้กรอก แฮม เบคอน ลูกชิ้น หรือเนื้อสัตว์กระป๋อง มีอัตราการเติบโตลดลงอย่างมาก โดยในปี 2563 ตลาดเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 20 แต่การเติบโตกลับลดลงเหลือร้อยละ 5.5 ในปี 2566 การบริโภคผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปที่ลดลงของชาวอเมริกันส่งผลให้บริษัท Tyson Food และบริษัท JBS ที่เป็นเจ้าตลาดรายใหญ่ในผลิตภัณฑ์เนื้อ สัตว์ของสหรัฐฯ นั้น ขาดทุนสูงถึง 50 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ ยังมีการปิดตัวของโรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Tyson Food ได้ทำการปิดตัวโรงงานแปรรูปไก่ไปถึง 4 โรงงาน เพื่อลดต้นทุนการผลิต

 

ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปจาก JBS

อุตสาหกรรมเนื้อแปรรูปในสหรัฐฯ

ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปจาก Tyson

อุตสาหกรรมเนื้อแปรรูปในสหรัฐฯ

อัตราการเติบโตของยอดขายเนื้อสัตว์แปรรูป อาหารทะเล และเนื้อสัตว์ทางเลือก

อุตสาหกรรมเนื้อแปรรูปในสหรัฐฯ

ส่วนแบ่งการตลาดผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป

10 อันดับแรกในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์แปรรูปนั้น ได้แก่ บริษัท Tyson Food ที่เป็นเจ้าตลาดของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปในสหรัฐฯ นั้นและเป็นเจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปชื่อดังในสหรัฐฯ อย่างแบรนด์ Jimmy Dean แบรนด์ Hillshire Farm และแบรนด์ BallPark ที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากถึงร้อยละ 13.7 รองลงมาเป็นบริษัท Kraft Heinz ที่ร้อยละ 8.4 และบริษัท Hormel Food มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 6.4 รองลงมา ได้แก่ Smithfield Food ที่มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ร้อยละ 4.8 บริษัท ConAgra Brand ที่ร้อยละ 2.7 และ บริษัท Johnsonville Sausage อยู่ที่ ร้อยละ 2.3 ตามลำดับ

ส่วนแบ่งทางตลาดของเนื้อสัตว์แปรรูปในสหรัฐฯ

อุตสาหกรรมเนื้อแปรรูปในสหรัฐฯ

 

เนื้อสัตว์แปรรูปที่มีการบริโภคมากที่สุดในสหรัฐฯ คือ เนื้อหมูแปรรูป และผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากเนื้อหมู เช่น ฮอทดอก, เบคอน, ไส้กรอก และแฮมรมควัน เป็นต้น เนื้อหมูแปรรูปเป็นที่นิยม เนื่องจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีให้เลือกซื้ออย่างกว้างขวางและมักใช้กับอาหารอเมริกันแบบดั้งเดิมหลายชนิด

สำหรับผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปที่มีอัตราการเติบโตมากที่สุดในสหรัฐฯ นั้นได้แก่ ผลิตภัณฑ์เนื้อวัวแปรรูปด้วยอัตราเติบโตที่ร้อยละ 3.51 โดยผลิตภัณฑ์เนื้อวัวแปรรูปที่ได้รับความนิยมมากในตอนนี้ คือ ผลิตภัณฑ์เนื้อวัวหมักเฉพาะส่วนของสเต็กรวมทั้งเนื้อวัวหมักซอสเทริยากิและบาร์บีคิวที่ได้รับความนิยมไปอย่างแพร่หลายในสหรัฐฯ

ช่องทางการจัดจำหน่ายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

อุตสาหกรรมเนื้อแปรรูปในสหรัฐฯ

ช่องทางการจัดจำหน่ายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ ช่องทางการค้าปลีกแบบออฟไลน์ (Retail Offline) โดยคิดเป็นร้อยละ 85.1 โดยแบ่งเป็นการธุรกิจค้าปลีกที่ร้อยละ 83.7 โดยซื้อผ่านซูเปอร์มาร์เก็ต (Supermarket) ที่ร้อยละ 31 ผ่านไฮเปอร์มาร์เก็ต (Hypermarket) ที่ร้อยละ 33 ร้านค้าลดราคาที่ร้อยละ 2.8 ที่ร้านขายของชำขนาดเล็กที่ร้อยละ 11.4 และร้านคลังสินค้าที่ร้อยละ 2.7 นอกจากนี้ ยังเป็นการซื้อขายจากร้านขายสินค้าทั่วไปที่ร้อยละ 0.9 และการขายตรงที่ร้อยละ 0.5 สำหรับช่องทางการค้าปลีกออนไลน์ มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ14.9

 ความท้าทายและแนวโน้มอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์แปรรูปในสหรัฐฯ

1) ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบ

ราคาของเนื้อสัตว์ในสหรัฐฯ นั้นสูงขึ้นอย่างมากเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารสัตว์ โดยในปี 2565 สหรัฐฯได้ประสบปัญหาภัยแล้งที่ส่งผลกระทบกว่า 48 รัฐ ทำให้ผลผลิตของอาหารสัตว์ลดลงไปอย่างมาก การขึ้นราคาของอาหารสัตว์นั้นส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตของเนื้อสัตว์แปรรูปนั้นสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ในปี 2563 ถึง 2566 ราคาของเนื้อสัตว์และเนื้อสัตว์แปรรูปนั้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 ซึ่งส่งกระทบไปถึงยังผู้บริโภคทำให้การบริโภคของเนื้อสัตว์
แปรรูปในสหรัฐฯ นั้นลดลงเป็นอย่างมาก

 ราคาอาหารสัตว์ในสหรัฐฯ ในแต่ละปี

อุตสาหกรรมเนื้อแปรรูปในสหรัฐฯ

 

2) การขาดแคลนแรงงานในสหรัฐฯ

อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์แปรรูปนั้นกำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากปัญหาในด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานในโรงงานแปรรูปที่ไม่ดี ทำให้บริษัทแปรรูปเนื้อสัตว์นั้นไม่สามารถรักษาทรัพยากรบุคคลไว้ได้ ปัญหาจากการขาดแคลนแรงงานนั้นทางบริษัทได้การหันมาใช้เครื่องมืออัตโนมัติเพื่อช่วยในกระบวนการผลิตของบริษัทแปรรูปเนื้อสัตว์มากขึ้นจากการศึกษาที่เผยแพร่ในเดือนกันยายน 2565 โดยสมาคมสำหรับเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์และการแปรรูป (Packaging Machinery Manufacturers Institute: PMMI) พบว่าเกือบร้อยละ 6 ของผู้ประกอบการเห็นว่าปัญหาแรงงานเป็นความท้าทายทางด้านการผลิตที่ใหญ่ที่สุดและร้อยละ 47 ของผู้ตอบแบบสอบถามนั้นได้หันมาปรับใช้เครื่องมืออัตโนมัติที่สามารถทดแทนการพึ่งพาแรงงานมนุษย์ได้

 

3) กระแสความชอบของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

3.1) กระแสความนิยมของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากพืช (Plant-based Meat)

ด้วยกระแสของเนื้อจากพืชที่กำลังมาแรงในสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากพืชนั้นได้กลายเป็นคู่แข่งโดยตรงกับผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป โดยได้เข้ามาแย่งส่วนแบ่งทางตลาดและผู้บริโภคไป กระแสของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากพืชทำให้ผู้ผลิตเนื้อสัตว์แปรรูปนั้นต้องปรับตัวและเพิ่มหลากหลายอของผลิตภัณฑ์เพื่อแข่งขันกับคู่แข่งคนใหม่ ผู้นำการผลิตกว่าร้อยละ 80 ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปในสหรัฐฯ นั้น ได้หันมาให้ความสนใจกับเนื้อสัตว์จากพืช ยกตัวอย่างเช่น JBS ที่ได้ทำการขายเนื้อสัตว์จากพืชภายใต้ยี่ห้อ Seara cละ Tyson Food ที่ได้ลงทุนไปกับบริษัท Beyond Meat ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเนื้อเทียม (Cultured meat/ Lab-grown meat)

ชาวอเมริกันที่รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพโดยแบ่งตามช่างอายุ ในปี 2565

อุตสาหกรรมเนื้อแปรรูปในสหรัฐฯ

3.2) กระแสความใส่ใจในสุขภาพ

เนื่องจากกระแสความใส่ใจในสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้นในสหรัฐฯ ส่งผลทำให้ปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์แปรรูปน้อยลงอย่างมาก โดยข้อมูลจากสถาบันวิจัยทางการตลาด (Natural Marketing Institute: NMI) ระบุว่า 4 ใน 10 ของชาวอเมริกันนั้นกำลังพยายามที่จะลดการบริโภคเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น นอกจากนี้ กระแสความใส่ใจในสุขภาพ ทำให้ชาวอเมริกันหันมาใส่ใจกับฉลากของผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ฉลากที่ระบุไขมันต่ำ โซเดี่ยมต่ำ แคลอรี่ต่ำ หรือฉลากที่ระบุว่าเป็นผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก ทำให้ผู้ผลิตนั้นต้องปรับตัวและผลิตสินค้าทางเลือกสำหรับตลาดนี้

 

3.3) กระแสความใส่ใจในสิ่งแวดล้อม

ยิ่งไปกว่านั้นผู้บริโภคชาวอเมริกันยังให้ความสนใจในผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการบริโภคมากขึ้น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้ที่ดิน การใช้น้ำ และมลพิษต่างๆ ที่ปล่อยมาจากกระบวนการผลิตของอาหารจากข้อมูลขององค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อม The Roundup พบว่าร้อยละ 75 ของชาวอเมริกันนั้นมองเห็นว่าความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมนั้นสำคัญต่อการเลือกซื้อสินค้าของตน การเพิ่มขึ้นของความใส่ใจในสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯ นำมาซึ่งความท้าทายหลายประการสำหรับผู้ผลิตเนื้อสัตว์แปรรูป โดยเฉพาะความโปร่งใสและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตเนื้อสัตว์แปรรูป

 

ข้อเสนอแนะของสคต. นิวยอร์ก

ผู้บริโภคชาวอเมริกันได้หันมาสนใจในสุขภาพและคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ทำให้การบริโภคเนื้อสัตว์แปรรูปนั้นลดลงเป็นอย่างมาก จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่ผลิตเนื้อสัตว์จากพืชในการเจาะตลาดกลุ่มใหม่นี้และส่งออกสินค้ามายังสหรัฐฯ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังต้องให้ความสนใจกับฉลากของผลิตภัณฑ์ที่ระบุคุณสมบัติเด่นของสินค้าเพื่อดึงดูดลูกค้าที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพและยังต้องให้ความสนใจในเรื่องความโปร่งใสของกระบวนการผลิตและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

 

ข้อมูลอ้างอิง:

https://sentientmedia.org/meat-consumption-in-the-us/#:~:text=According%20to%20data%20pulled%20from,kg%2F327.8%20lb%20a%20year

https://vegconomist.com/market-and-trends/decline-us-meat-consumption-trends-in-the-us-long-term-disruption-significant-opportunity/

https://ourworldindata.org/grapher/per-capita-meat-usa?time=latest&facet=none

https://www.provisioneronline.com/articles/114607-labor-shortages-remain-a-major-challenge

https://www.euromonitor.com/article/inflationary-pressure-challenges-us-meat-industry

https://www.supermarketnews.com/meat/high-prices-remain-big-barrier-meat-sales

en_USEnglish