เผยผลสำเร็จทางเศรษฐกิจของเขตฯ กว่างซีในปี 2023

เมื่อเร็วๆ นี้ ทางการเขตฯ กว่างซีได้ประกาศผลสำเร็จทางเศรษฐกิจประจำปี 2023 โดยเปิดเผยตัวเลข GDP ภาพรวมและ GDP ของเมืองสำคัญ 4 เมืองของเขตฯ กว่างซี ซึ่งผลงานทางเศรษฐกิจของเขตฯ กว่างซี ได้ทะลุเป้าหมายตามที่คาดการณ์ไว้ มีจำนวน 7 เมืองมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่าอัตรการเติบโตโดยเฉลี่ย จากสถิติตัวเลขสะท้อนให้เห็นถึงจุดเด่นและศักยภาพของแต่ละเมือง ทั้งนี้ หากมองโดยภาพรวมแล้ว สภาพทางเศรษกิจของเขตฯ กว่างซีในปี 2023 สามารถสรุปได้ดังนี้เผยผลสำเร็จทางเศรษฐกิจของเขตฯ กว่างซีในปี 2023

  1. การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ

ข้อมูลจากกรมสถิติกว่างซี แสดง ให้เห็นว่า ปี 2023 มูลค่า GDP รวมของเขตฯ กว่างซี สูงถึง 2,720,239 ล้านหยวน ขยายตัวร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ด้านอุตสาหกรรมภาคการเกษตรขยายตัวร้อยละ 4.7 มีผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (Economic Contribution) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.5 อุตสาหกรรมภาคการผลิตมีการขยายตัวร้อยละ 3.2 มีผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.9 ส่วนอุตสาหกรรมภาคการบริการมีการขยายตัวร้อยละ 4.4 มีผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55.6 เศรษฐกิจของเขตฯ กว่างซีมีการเติมโตอย่างเสถียรภาพ และมีแนวโน้มพื้นฟูสู่สภาพปกติเหมือนช่วงก่อนเกิดเหตุการณ์โควิด ทั้งนี้ อุตสาหกรรมภาคการผลิตได้แสดงบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของกว่างซี โดยเฉพาะสาขาเคมีภัณฑ์ โลหะสี สินแร่ การไฟฟ้าที่มีการพัฒนาอย่างโดดเด่น

  1. 4 เมืองสำคัญของเขตฯ กว่างซีมีมูลค่า GDP ทะลุเป้าหมาย 200,000 ล้านหยวน

หากพิจารณาจากมูลค่า GDP รายเมือง สังเกตได้ว่าเมืองหลักของเขตฯ กว่างซียังครอง 3 อันดับแรกมาโดยตลอด ได้แก่ หนานหนิง หลิ่วโจว กุ้ยหลิน ตามลำดับ รายละเอียดมูลค่า GDP 14 เมืองของเขตฯ กว่างซี ดังนี้เผยผลสำเร็จทางเศรษฐกิจของเขตฯ กว่างซีในปี 2023

 

มูลค่า GDP 14 เมืองของเขตฯ กว่างซี
ลำดับ city มูลค่า GDP

(หน่วย 100 ล้านหยวน)

อัตราการเติบโต

(ร้อยละ)

1 หนานหนิง 5,469.06 4.0
2 หลิ่วโจว 3,115.86 2.8
3 กุ้ยหลิน 2,523.47 3.5
4 หวู้หลิน 2,194.43 3.3
5 ชินโจว 1,961.29 6.0
6 เป่ยเซ่อ 1,849.91 6.1
7 ไป่ไห่ 1,750.91 5.8
8 กุ้ยก่าง 1,573.49 0.1
9 อู๋โจว 1490.77 4.8
10 เหอฉือ 1,163.43 2.2
11 ฉงจั่ว 1,117.56 6.2
12 ฝางเฉิงก่าง 1,053.61 8.6
13 หลายปิน 981.41 5.1
14 เฮ่อโจว 975.14 3.2

 

จากสถิติเห็นว่า เมืองหนานหนิงยังคงรักษาฐานะที่เป็นเมืองเศรษฐกิจ“เสาหลัก”ของเขตฯ กว่างซี ซึ่งมีมูลค่า GDP จำนวน 546,906 ล้านหยวน เติบโตร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และเป็นเมืองแห่งเดียวของเขตฯ กว่างซีที่มีมูลค่า GDP ทะลุจำนวน 500,000 ล้านหยวน อันเกิดจากการดำเนินนโยบายและยุทธศาสตร์ “ผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคการผลิตรูปแบบใหม่ ยกระดับภาคอุตสาหกรรมภาคการผลิตสู่ระดับคุณภาพสูง ปรับปรุงโคงสร้างภาคอุตสาหกรรมภาคการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ”ของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 ซึ่งสูงสุดในรอบ 6 ปีทีผ่านมา และส่งผลต่อการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด

เมืองหลิ่วโจวมีมูลค่า GDP จำนวน 311,586 ล้านหยวน ขนาดเศรษฐกิจติดอันดับ 2 ของเขตฯ กว่างซี และเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่ใหญ่ติดอันดับ 1 ของเขตฯ กว่างซี โดยปี 2023 ที่ผ่านมา เมืองหลิ่วโจวได้ปรับแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้เมืองหลิ่วโจว สามารถดึงดูดเงินลงทุนจำนวนมาก โดยมีการลงทุนด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 และได้เร่งสร้างโครงการขาดใหญ่หลายโครงการ เช่น นิคมอุตสาหรรมอัจฉริยะ ทั้งปีได้พัฒนาโครงการใหม่จำนวน 656 โครงการ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ (AI) การผลิตอุปกรณ์ผลิตพลังงานไฟฟ้าและลม การผลิต Chip Card ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว

เมืองกุ้ยหลินมีมูลค่า GDP จำนวน 252,347 ล้านหยวน ขยายตัวร้อยละ 3.5 ปี 2023 ที่ผ่านมา เมืองกุ้ยหลินได้เร่งผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ทำให้มูลค่าทางอุตสาหกรรมการผลิตเติบโตร้อยละ 5.9 อุตสาหกรรมเสาหลักที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจกุ้ยหลิน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรกล การผลิตอาหารเชิงนิเวศ การผลิตยาชีวภาพ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และสารสนเทศ สิ่งที่น่าสนใจคือ อุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีชั้นสูงมีการขยายตัวมากที่สุด โดยมีอัตรการเติบโตร้อยละ 16.5

เมืองหวู้หลินมูลค่า GDP จำนวน 219,443 ล้านหยวน ติดอันดับที่ 4 ของเขตฯ กว่างซี เมืองหวู้หลินมีแรงงานไปทำงานที่ต่างประเทศและชาวจีนโพ้นทะเลจำนวนมากคิดเป็น 1.6 ล้านคน และ 2.2 ล้านคนตามลำดับ ทางเมืองหวู้หลินให้ความสำคัญกับ “เศรษฐกิจชาวจีนโพ้นทะเล” โดยถือเป็นแรงขับเคลื่อนการพัฒนาเศษฐกิจเมืองหวู้หลิน เมื่อปี 2023 ได้ดึงดูดเงินลงทุนจากชาวจีนโพ้นทะเล 60,900 ล้านหยวน ลงทุนโครงการ 228 โครงการ และก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม 21 แห่ง

ส่วนเมืองชินโจว เป่ยเซ่อ ไป่ไห่ กุ้ยก่าง อู๋โจว เหอฉือ ฉงจั่ว และฝางเฉินก่าง ต่างมีมูลค่า GDP เกินจำนวน 100,000 ล้านหยวน สะท้อนให้เห็นถึงเศรษฐิจของเมืองเหล่านี้มีการฟื้นตัวสู่ปกติหลังเหตุการณ์โควิด และกำลังพัฒนาไปสู่แนวทางทีดี

  1. 7 เมืองสำคัญมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP สูงกว่าอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ย เมืองฝางเฉิงก่างเป็นเมืองที่น่าจับตามอง

หากพิจารณาจากอัตรการเติบโตทางเศรษฐกิจ เมืองจำนวนเกินครึ่งของเขตฯ กว่างซีมีอัตราการเติบโตสูงกว่าอัตราโดยเฉลี่ย (ร้อยละ 4.1) โดยเมืองฝากเฉิงก่าง มีอัตราการเติบโตสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 8.6 ถัดมาเป็นเมืองฉงจั่ว ไป่เซ่อ และชินโจวมีอัตรการเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.2, 6.1 และ 6.0 ตามลำดับ ส่วนเมืองหนานหนิง กุ้ยหลิน หวู้หลิน กุ้ยกาง เหอฉือ กลับมีอัตรการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำกว่าอัตราโดยเฉลี่ย (ร้อยละ 4.1) และเมืองกุ้ยก่าง มีอัตรการเติบโตต่ำที่สุดคิดเป็นร้อยละ 0.1 เท่านั้น รายงานจากเทศบาลเมืองกุ้ยก่างระบุว่า ปัจจุบัน ทางกุ้ยก่างประสบปัญหาด้านการพัฒนา คือ แรงขับเคลื่อนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไม่เพียงพอ การปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมมีความล่าช้า และแรงดึงดูดการลงทุนไม่มาก อย่างไรก็ตามทางการเมืองกุ้ยก่างพร้อมจะแก้ไขปัญหาและดำเนินมาตรการต่างๆ อย่างเข้มข้น เพื่อรับมือกับความท้าทายในการพัฒนาเศรษฐกิจปี 2024 โดยทุ่มกำลังการพัฒนาอุตสาหกรรม 6 สาขาที่มีความได้เปรียบของเมืองกุ้ยก่าง ได้แก่ อุตสาหกรรมสีเขียว เฟอร์นิเจอร์และการแปรรูปไม้ การแปรรูปน้ำมันบริโภคและธัญญาหาร วัสดุก่อสร้างและหลอมโลหะ พลังงานไฟฟ้า และอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษ

ความเห็นจาก สคต.ณ เมืองหนานหนิง

เขตฯ กว่างซีได้รับการคัดเลือกเป็นประตูสู่อาเซียนของจีน (Gateway to ASEAN) มีบทบาทสำคัญและมีศักยภาพสูงในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญกับประเทศอาเซียน เมื่อปี 2023 ที่ผ่านมา มูลค่าการค้าเขตฯ กว่างซีกับไทย มีมูลค่า 40,300 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 ประเทศไทยเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 2 ของกลุ่มประเทศอาเซียนกับเขตฯ กว่างซี รองจากประเทศเวียดนาม สินค้านำเข้าจากไทยที่สำคัญ ได้แก่ สินแร่โลหะ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าไฮเทค สินค้าเกษตร (ผลไม้) อาหาร น้ำมันดิบ ถ่านหิน เป็นต้น

  1.     จุดแข็งด้านการพัฒนาเศรษฐิจของเขตฯ กว่างซี ดังนี้

1) มีที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกทำให้กว่างซีได้รับนโยบายสนับสนุนพิเศษ ทั้งจากรัฐบาลกลาง (ประตูสู่อาเซียน / Go west / ILSTC / ASEAN Financial Hub และเขตทดลองการค้าเสรีกว่างซี) และรัฐบาลท้องถิ่น (Beibu Gulf Economic Zone เขตการค้าชายแดน และเขตควบคุมพิเศษทางศุลกากรต่างๆ) เพื่อดึงดูดการค้าการลงทุน

2) การคมนาคมขนส่งกับอาเซียนมีความสะดวก เนื่องจากเป็นมณฑลเดียวของจีนที่มีพรมแดนติดอาเซียน ทั้งทางบก (ติดเวียดนาม ซึ่งมีถนนเชื่อมต่อภาคอีสานของไทย) ทางทะเล (ท่าเรือเมืองเป๋ยไห่ เมืองชินโจว และเมืองฝางเฉิงก่าง) ทางอากาศ และล่าสุด ทางราง (รถไฟข้ามแดนผิงเสียง-ด่งดัง)

3) มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรม ป่าไม้ ประมง และแร่ธาตุ เป็นแหล่งปลูกผลไม้เขตกึ่งร้อนที่สำคัญของประเทศ

4) มีความพร้อมด้านทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ด้านภาษาไทย โดยมีสถาบันการศึกษาเกือบ 20 แห่ง ที่เปิดสอนวิชาภาษาไทย ซึ่งอาจจะมากที่สุดในจีน

  1. โอกาสของไทย

1) เป็นตลาดใหม่ที่น่าสนใจ มีโอกาสแจ้งเกิดได้ง่ายกว่ามณฑลที่มีการแข่งขันสูง และประชาชนมีความคุ้นเคยและชื่นชอบประเทศไทยในหลายมิติ

2) ใช้ประโยชน์จากนโยบายสนับสนุนพิเศษเพื่อดึงดูดการลงทุน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ ตลอดจนการลงทุนเพื่อรองรับนโยบายการเป็น Gateway to ASEAN ของจีน

3) ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มต่างๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับการเป็นประตูสู่อาเซียน อาทิ งาน China-ASEAN Expo เขตทดลองการค้าเสรีจีน(กว่างซี) ย่านการเงินจีน-อาเซียน ตลาดค้าส่งผักและผลไม้ไฮกรีน และโครงข่ายการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multi-modal transportation) โดยเฉพาะเรือ+ราง

4) ใช้ประโยชน์/พัฒนาเส้นทางถนนที่เชื่อมระหว่างอีสานของไทยกับจีน (R8, R9 และ R12) และท่าเรือแหลมฉบัง/กรุงเทพ-ท่าเรือรอบอ่าวเป่ยปู้ (ชินโจว ฝางเฉิงก่าง เป๋ยไห่) ขยายช่องทางการขนส่งสินค้าสู่จีน

5) เป็น Supplier ชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบในด้านอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ทางเขตฯ กว่างซีส่งเสริมการพัฒนา อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

******************

 

จัดทำโดย สคต.ณ เมืองหนานหนิง

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567

 

 

แหล่งที่มา

http://www.gxnews.com.cn/staticpages/20240227/newgx65ddb187-21445802.shtml

 

en_USEnglish