กว่างซีนำเข้าผลไม้จากอาเซียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 61.7 ในช่วง 8 เดือนแรก

กว่างซีนำเข้าผลไม้จากอาเซียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 61.7 ในช่วง 8 เดือนแรก

กว่างซีนำเข้าผลไม้จากอาเซียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 61.7 ในช่วง 8 เดือนแรก

ช่วงเดือนมกราคม – สิงหาคม 2566 ประเทศจีนนำเข้าและส่งออกผลไม้กับจากกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน มีมูลค่า 70,260 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา ประกอบด้วยมูลค่าการส่งออก 12,160 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 และมูลค่าการนำเข้า 58,100 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.6

เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงเป็นช่องทางสำคัญในการนำเข้าผลไม้อาเซียนของจีน ช่วงเดือนมกราคม – สิงหาคม 2566 ผลไม้ที่นำเข้าของจีนโดยผ่านด่านศุลกากรของเขตฯ กว่างซีจ้วงมีปริมาณ 6.15 แสนตัน มูลค่า 18,600 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.7 และร้อยละ 218.7 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา เขตฯ กว่างซีจ้วงตั้งอยู่ภาคใต้ของประเทศจีน โดยมีชายแดนและทะเลที่ติดกับประเทศเวียดนาม ซึ่งได้รับคำขนามนามว่า “ประตูทางใต้ที่เปิดสู่อาเซียนของจีน” ปัจจุบันเขตฯ กว่างซีจ้วง มีด่านทางบก ด่านทางรถไฟ ด่านทางทะเล ด่านทางอากาศ และจุดการค้าระหว่างชาวชายแดนทั้งหมด 52 ด่าน โดยมีด่านนำเข้าผลไม้ได้ จำนวน 11 ด่าน ได้แก่

ทางบก จำนวน 6 ด่าน คือ ด่านโหย่วอี้กวน ด่านตงซิง ด่านหลงปัง ด่านสุยโข่ว ด่านการค้าชายแดนผู่จ้ายผิงเสียง ด่านการค้าชายแดน่งหยาวผิงเสียง

ทางรถไฟ จำนวน 1 ด่าน คือ ด่านรถไฟผิงเสียง

ทางทะเล จำนวน 2 ด่าน คือ ด่านท่าเรือชินโจว ด่านท่าเรือฝางเฉิงก่าง

ทางอากาศ จำนวน 2 ด่าน คือ ด่านท่าอากาศยานนานาชาติเหลี่ยงเจียงเมืองกุ้ยหลิน ด่านท่าอากาศยานนานาชาติอู๋ซวีเมืองหนานหนิง

ในด่านนำเข้าผลไม้ทั้งหมดดังกล่าว มีด่านที่ได้รับอนุญาตนำเข้าผลไม้ไทย จำนวน 9 ด่าน ได้แก่ ด่านโหย่วอี้กวน ด่านตงซิง ด่านรถไฟผิงเสียง ด่านท่าเรือฝางเฉิงก่าง ด่านท่าเรือชินโจว ด่านท่าอากาศยานนานาชาติเหลี่ยงเจียงเมืองกุ้ยหลิน ด่านท่าอากาศยานนานาชาติอู๋ซวีเมืองหนานหนิง           ด่านหลงปัง และด่านสุยโข่ว แต่ในเชิงปฏิบัติจริง ด่านที่ดำเนินการนำเข้าผลไม้ไทยในปัจจุบันมีแค่        5 ด่าน คือ ด่านโหย่วอี้กวน ด่านตงซิง ด่านรถไฟผิงเสียง ด่านท่าเรือชินโจว และด่านท่าอากาศยานนานาชาติอู๋ซวีเมืองหนานหนิง

ช่วงเดือนมกราตม – สิงหาคม 2566 ด่านโหย่วอี้กวนนำเข้าผลไม้จากกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนปริมาณ 540,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 125.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา รวมเป็นมูลค่า 16,330 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 359.7 ผลไม้ที่นำเข้าส่วนใหญ่ ได้แก่ ทุเรียน ขนุน แก้วมังกร มะม่วง และมังคุด เป็นต้น สำหรับการส่งออก ด่านโหย่วอี้กวนส่งออกผลไม้ไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนมีปริมาณ 639,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.9 มูลค่า 1,880 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.1 ล่าสุดระหว่างช่วงวันหยุดวันชาติจีน ด่านโหย่วอี้กวนมีการดำเนินให้บริการเป็นปกติ เมื่อวันที่ 29 กันยายน – 6 ตุลาคม 2566 รถบรรทุกที่นำเข้าและส่งออกสินค้าโดยผ่านด่านโหย่วอี้กวน มีจำนวน 10,117 คัน โดยมีรถบรรทุกนำเข้าผลไม้จำนวน 1,197 คัน น้ำหนักผลไม้ 22,974 ตัน

ช่วงเดือนมกราตม – สิงหาคม 2566 ด่านตงซิงนำเข้าผลไม้จากกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนปริมาณ 39,900 ตัน มูลค่า 1,311 ล้านหยวน ผลไม้ที่นำเข้าส่วนใหญ่จะเป็น ทุเรียน แก้วมังกร มังคุด เป็นต้น

ผลไม้อาเซียนที่นำเข้าผ่านเขตฯ กว่างซีจ้วงแล้ว ส่วนใหญ่จะถูกกระจายไปยังภาคกลางและภาคตะวันตกของจีนเพื่อจำหน่ายที่ตลาดปลายทาง เช่น นครฉงชิ่ง มณเสฉวน และมณฑลกานซู่ เป็นต้น

ความเห็น สคต.หนานหนิง หลังจากรัฐบาลจีนผ่อนคลายมาตรการจากสถานการณ์ไวรัสโควิด – 19 การนำเข้าผลไม้ของเขตฯ กว่างซีจ้วงมีการฟื้นฟูตัวสู่สภาวะปกติและมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะนำเข้าผลไม้จากไทย ช่วง 8 เดือนแรก เขตฯ กว่างซีจ้วงนำเข้าผลไม้จากไทยมีปริมาณ 122,940 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.5 มูลค่า 4,214 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 82 รายละเอียดดังนี้

กว่างซีนำเข้าผลไม้จากอาเซียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 61.7 ในช่วง 8 เดือนแรก

การนำเข้าผลไม้ไทยของเขตฯ กว่างซีจ้วง ส่วนใหญ่นำเข้าผ่านด่านโหย่วอี้กวน เทียบกับด่านอื่นๆ แล้ว ด่านโหย่วอี้กวนเป็นด่านทางบก มีชายแดนติดกับประเทศเวียดนาม ระยะเวลาการขนส่งผลไม้จากไทยมายังด่านโหย่วอี้กวนใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน จึงมีความได้เปรียบด้านเวลาการขนส่งและค่าใช้จ่ายทางโลจิสติกส์ที่น้อยกว่าด่านอื่น สำหรับในช่วงฤดูกาลผลไม้ หากมีความหนาแน่นของการจราจรบริเวณด่าน ผู้ประกอบการไทยบางรายจะมีการพิจารณาไปใช้ด่านอื่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นต่อคุณภาพของความสดผลไม้ อย่างไรก็ตาม การนำเข้าผลไม้ไทยในตลาดจีนรวมถึงขั้นตอนการผ่านด่านศุลกากรและการจำหน่ายทางตลาด มีการพัฒนาด้วยความสมบูรณ์และดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน คู่แข่งผลไม้ไทยก็มีการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรรักษาคุณภาพของผลไม้ตั้งแต่แหล่งกำเนิดจนจึงปลายทาง และยกระดับภาพลักษณ์ของผลไม้ไทยในตลาดจีน โดยเฉพาะเน้นระดับพรีเมี่ยมเป็นจุดขาย เพื่อสร้างความสามารถด้านการแข่งแข็งทางตลาดและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคจีน

สำหรับผู้ประกอบการไทยที่ประสงค์ขอข้อมูลด่านของเขตฯ กว่างซีจ้วงที่เพิ่มเดิม สามารถติดต่อ สคต.ณ เมือง หนานหนิงทาง Email: thaitcnanning@ditp.go.th

———————————————————————————————–

Royal Thai Consulate General, Commercial Office (Thai Trade Center) - Nanning

แหล่งที่มา

https://mp.weixin.qq.com/s/0jEBQfr29esNX0KDNoKfOw

https://mp.weixin.qq.com/s/6fA6qzXvDywFe_WstIrRkg

https://mp.weixin.qq.com/s/CR2g_SUfEHr4jEiB39HJWQ

https://mp.weixin.qq.com/s/bqdRx6YCGgTFP6rlHi0g7Q

 

en_USEnglish