มณฑลเจียงซีในช่วงครึ่งปีแรก 2566 GDP โต 2.4% ยอดการค้าปลีกเพิ่มขึ้น ในขณะที่ CPI + 0.8%

สำนักงานสถิติมณฑลเจียงซี ได้เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจของมณฑลเจียงซีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 มีการเติบโตอย่างเสถียรภาพ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของมณฑลเจียงซี (GDP) อยู่ที่ 1.54 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 YoY  โดยมีมูลค่าภาคการเกษตร 72,910 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 YoY มูลค่าภาคอุตสาหกรรม 674,510 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 YoY และ มูลค่าภาคบริการ 792,520 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 YoY

 

ในช่วงครึ่งปีแรกปี 2566 มูลค่าผลผลิตรวมด้านการเกษตร ป่าไม้ การเลี้ยงสัตว์ และการประมงอยู่ที่ 135,490 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 YoY โดยมีผลผลิตพืชน้ำมัน (Rapeseed) อยู่ที่ 863,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 YoY ผลผลิตพืชผักและเห็ดที่กินได้อยู่ที่ 8.61 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 YoY  ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำทั้งหมด 1.31 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 YoY จำนวนสุกรมีชีวิตที่ขายได้ 15.56 ล้านตัว ลดลงร้อยละ 7.6 YoY

 

มูลค่าเพิ่มทางอุตสาหกรรมของวิสากิจขนาดใหญ่ที่มีรายได้ 20 ล้านหยวนขึ้นไปของทั้งมณฑล เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 YoY โดย รัฐวิสาหกิจถือหุ้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 YoY นักลงทุนต่างชาติ รวมถึงฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวันลดลงร้อยละ 3.5 YoY และวิสาหกิจเอกชนลดลงร้อยละ 1.5 YoY จาก 38 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก มี 16 อุตสาหกรรมมีอัตราการเติบโตสูงขึ้นร้อยละ 42.1 YoY  โดยอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมสำคัญ ดังนี้

 

มณฑลเจียงซีในช่วงครึ่งปีแรก 2566 GDP โต 2.4% ยอดการค้าปลีกเพิ่มขึ้น ในขณะที่ CPI + 0.8%

 

ยอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อสังคมในช่วงครึ่งปีแรก 2566 ของทั้งมณฑลอยู่ที่ 616,330 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 YoY  อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 ถึงร้อยละ 2.5 ยอดค้าปลีกสินค้าเครื่องใช้อัจฉริยะ และเครื่องใช้ในบ้าน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.7 YoY ยอดขายรถยนต์พลังงานใหม่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.5 YoY ในส่วนของยอดค้าปลีกออนไลน์ของมณฑลอยู่ที่ 138,360 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 YoY ในจำนวนนี้ ยอดค้าปลีกของสินค้าที่จับต้องได้อยู่ที่ 123,030 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 YoY

 

ในด้านของราคาผู้บริโภค (CPI) ของมณฑลเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 YoY ราคาสินค้าและบริการ 8 หมวดหมู่หลักมีทั้งการปรับเพิ่มขึ้นและลดลง โดยราคาสินค้าอาหาร ยาสูบ และสุราเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 YoY ราคาเสื้อผ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 YoY ราคาที่อยู่อาศัยยังคงทรงตัว ราคาสินค้าและบริการเพื่อการครองชีพลดลงร้อยละ 0.1 YoY ราคาด้านการคมนามาลดลงร้อยละ 2.7 YoY ราคาด้านการศึกษา วัฒนธรรม และบันเทิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 YoY ราคาด้านการรักษาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 YoY และ ราคาสินค้าและบริการอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 YoY ซึ่งราคาผู้ผลิต (PPI) ของมณฑลลดลงร้อยละ 3.8 YoY และราคารับซื้อวัตถุดิบและพลังงานของผู้ผลิตลดลง ร้อยละ 2.8 YoY

 

ในช่วงครึ่งปีแรก 2566 ปริมาณการขนส่งสินค้าของทั้งมณฑลอยู่ที่ 972.73 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 YoY โดยปริมาณการขนส่งทางรถไฟเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 YoY และ ปริมาณการขนส่งทางรถเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 YoY  ด้วยการสนับสนุนมาตรการนโยบายทางเศรษฐกิจต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องของภาครัฐ ส่งผลให้เศรษฐกิจของมณฑลเจียงซีฟื้นตัวและพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน การพัฒนาเศรษฐกิจของมณฑลยังมี      ความยากลำบากและความท้าทาย ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มเศรษฐกิจขนาดเล็กที่ยังคงอ่อนแอ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง และความต้องการลงทุนที่ไม่แข็งแกร่ง เป็นต้น ยังคงมีอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม ภาครัฐยังคงมุ่นมั่นในการดำเนินงานพัฒนาด้านต่างๆ ให้เศรษฐกิจของมณฑลเจียงซีขับเคลื่อนและพัฒนาก้าวหน้าอย่างเสถียรภาพ

 

ความเห็นสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน : เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 คณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนและรัฐบาลประชาชนมณฑลเจียงซี ได้ออกมาชี้แจงการดำเนินการเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นให้เศรษฐกิจมณฑลเจียงซีเติบโตอย่างเสถียรภาพในปี 2566 โดยมีนโยบายสนับสนุน อาทิ การรักษาเสถียรภาพของพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิต ที่มุ่งเน้นการเพราะปลูกธัญพืชภายในมณฑลให้ถึง 56.50 ล้านหมู่ (2.4 หมู่ = 1 ไร่) ตั้งผลผลิตให้สูงถึง 21.95 ล้านตัน ส่งเสริมนวัฒกรรมเทคโนโลยีทางการเกษตร โดยมีการสนับสนุนด้านการศึกษาและวิจัยทางด้านเกษตรกรรมเชิงลึก และยังส่งเสริมพัฒนาการเกษตรสีเขียว โดยเสริมสร้างการป้องกันและควบคุมมลพิษจากสารเคมี นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมสร้างองค์กรชั้นนำให้แข็งแกร่งมากขึ้น เพื่อขยายช่องทางการจ้างงาน เพิ่มรายได้ให้กับประชาชน เพื่อบรรเทาความยากจนของประชาชน ซึ่งจะส่งผลดีไปยังการเติบโตในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุน การบริโภคของคนในมณฑล และการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น ส่งผลให้ผู้บริโภคในมณฑลเจียงซีมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น จึงนับว่าเป็นโอกาสดีของสินค้าไทยที่จะเจาะตลาดกลุ่มผู้บริโภคมณฑลเจียงซี โดยเมืองที่ผู้บริโภค มีกำลังซื้อสูงคือ “นครหนานชาง” ซึ่งเป็นเมืองเอกของมณฑล

 

                       ที่มา:

https://baijiahao.baidu.com/s?id=1771952212877719711&wfr=spider&for=pc

https://baijiahao.baidu.com/s?id=1758976806521203064&wfr=spider&for=pc

เรียบเรียงโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน

18 สิงหาคม 2566

en_USEnglish