รายงานสถานการณ์การค้าการลงทุนของเวียดนามเดือนพฤษภาคม 2566

A. ด้านการค้า

  1. การค้าระหว่างประเทศของเวียดนาม

1.1. ในเดือนพฤษภาคม 2566

จากสถิติของกรมศุลกากรของเวียดนาม ในเดือนพฤษภาคม 2566 การค้าของเวียดนามมีมูลค่า 54.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2566 โดยมูลค่าการส่งออก 28.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และมูลค่าการนำเข้า 26.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ส่งผลให้เกินดุลการค้าประมาณ 2.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ

สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ (4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1) เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและส่วนประกอบ (3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.3) โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือและชิ้นส่วน (2.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 24.2) สิ่งทอและเครื่องนุ่มห่ม (2.9 พันล้าน
เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8) และรองเท้า (1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0)

สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ (6.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5) เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและส่วนประกอบ (3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6) ผ้าผืน (1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0) เม็ดพลาสติก (831.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4) และน้ำมันดิบ (807.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.1)

1.2. ในช่วงเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2566

1.2.1. ปริมาณการค้า

จากสถิติของกรมศุลกากรของเวียดนาม ในช่วงเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2566 การค้าของเวียดนามมีมูลค่า 260.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 โดยมูลค่าการส่งออก 135.22 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 12.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 และมูลค่าการนำเข้า 125.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 18.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 ส่งผลให้เกินดุลการค้าประมาณ 9.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ

รายงานสถานการณ์การค้าการลงทุนของเวียดนามเดือนพฤษภาคม 2566

1.2.2 สินค้าสำคัญ

สินค้าส่งออกสำคัญในช่วงเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2566 ได้แก่ คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ (20.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565) โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือและชิ้นส่วน (20.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 19.9) เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและส่วนประกอบ (16.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.6) สิ่งทอและเครื่องนุ่มห่ม (12.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 15.6) และรองเท้า (8.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 14.7)

สินค้านำเข้าสำคัญในช่วงเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2566 ได้แก่ คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ (31.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 13.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565) เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและส่วนประกอบ (16.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงอยละ 13.0) ผ้าผืน (5.33 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 19.9) เหล็กและเหล็กกล้า (3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 29.7) และเม็ดพลาสติก (3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 32.1)

1.2.3. ตลาดที่สำคัญ

ตลาดส่งออกสินค้าสำคัญของเวียดนาม ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (36.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 21.4) จีน (20.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.8) เกาหลีใต้ (9.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 10.7) ญี่ปุ่น (9.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.5) และฮ่องกง (3.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 23.9) ไทยเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่อันดับ 1 ของเวียดนามในอาเซียน (3.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8) รองลงมาคือกัมพูชา (2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 23.1)

ตลาดนำเข้าที่สำคัญของเวียดนาม ได้แก่ จีน (41.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 17.9)
เกาหลีใต้ (20.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 27.8) ญี่ปุน (8.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 15.7) ไต้หวัน (7.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 28.3) และสหรัฐอเมริกา (5.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 8.0) ในอาเซียน ไทยเป็นตลาดนำเข้าที่ใหญ่อันดับ 1 ของเวียดนาม (4.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 15.2) รองลงมาคืออินโดนีเซีย (3.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.9)

รายงานสถานการณ์การค้าการลงทุนของเวียดนามเดือนพฤษภาคม 2566  รายงานสถานการณ์การค้าการลงทุนของเวียดนามเดือนพฤษภาคม 2566

2. การค้าระหว่างเวียดนามกับไทย

2.1. ในเดือนพฤษภาคม 2566

– จากสถิติของกรมศุลกากรของเวียดนาม ในเดือนพฤษภาคม 2566 การค้าระหว่างเวียดนามกับไทยมีมูลค่า 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2566 โดยเวียดนามส่งออกสินค้าไปไทยมูลค่า 589.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 และเวียดนามนำเข้าสินค้าจากไทยมูลค่า 991.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5

– สินค้าส่งออกไปไทย

  • สินค้าส่งออกไปไทยที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ น้ำมันดิบ (81.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 258.2) โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือและชิ้นส่วน (77.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 16) เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและส่วนประกอบ (74.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1) ยานพาหนะการขนส่ง ชิ้นส่วน อุปกรณ์และส่วนประกอบ (62.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7) และคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ (39.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 13.9)
  • สินค้าส่งออกไปไทยที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ปุ๋ย (1.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 661.7) น้ำมันดิบ (81.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 258.2) อัญมณี โลหะมีค่า และผลิตภัณฑ์ (906,783 เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 136.1) แก้วและผลิตภัณฑ์จากแก้ว (794,014 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.0) และกาแฟ (12.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.2)

– สินค้านำเข้าจากไทย

  • สินค้านำเข้าจากไทยที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ (12 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 19.6) เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วน (85.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.1) เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและส่วนประกอบ (72.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4) ยานพาหนะ (รถยนต์) (69.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 44.8) และเม็ดพลาสติก (65.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 26.2)

สินค้านำเข้าจากไทยที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ปุ๋ย (2.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 731.2) ผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม (10.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 187.8) ยาฆ่าแมลงและวัตถุดิบ (5.44 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 120.2) วัตถุดิบใช้ในการผลิตเภสัชกรรม (354,200 เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 110.8) และเส้นด้าย (12.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.2)

2.2. ในช่วงมกราคม – พฤษภาคม 2566

2.2.1. ปริมาณการค้า

การค้าระหว่างเวียดนามกับไทยมีมูลค่า 7.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 หรือคิดเป็นร้อยละ 3.0 ของการค้าระหว่างประเทศของเวียดนามทั้งหมด โดยเวียดนามส่งออกสินค้าไปไทยมูลค่า 3.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 หรือคิดเป็นร้อยละ 2.2 ของการส่งออกทั้งหมด และเวียดนามนำเข้าสินค้าจากไทยมูลค่า 4.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 15.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 หรือคิดเป็นร้อยละ 3.9 ของการนำเข้าทั้งหมด ส่งผลให้ขาดดุลการค้าประมาณ 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ

รายงานสถานการณ์การค้าการลงทุนของเวียดนามเดือนพฤษภาคม 2566

2.2.2. สินค้าหลัก

2.2.2.1. สินค้าส่งออกไปไทยที่สำคัญ

– สินค้าส่งออกไปไทยที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือและชิ้นส่วน (468.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565) เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและส่วนประกอบ (376.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0) น้ำมันดิบ (320.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7)  ยานพาหนะการขนส่ง ชิ้นส่วน อุปกรณ์และส่วนประกอบ (313.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.4) และคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ (248.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8)

– สินค้าส่งออกไปไทยที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ น้ำมันทุกชนิด (416,235 เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 986.3) สารเคมี (32.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 228.6) อัญมณี โลหะมีค่า และผลิตภัณฑ์ (2.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 173.1) กาแฟ (36.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 93.2) และรองเท้า (40.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 90.8)

2.2.2.2. สินค้านำเข้าจากไทยที่สำคัญ

– สินค้านำเข้าจากไทยที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ (817.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565) ยานพาหนะ (รถยนต์) (614.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.9) เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและส่วนประกอบ (357.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 13.7) เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วน (316.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 25.1) และน้ำมันทุกชนิด (282.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 32.3)

– สินค้านำเข้าจากไทยที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ปุ๋ย (3.3 ล้าน
เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 150.1) ผลิตภัณฑ์จากกระดาษ (31.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.1) ข้าวโพด (13.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.0) ยานพาหนะ (รถยนต์) (614.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.9) และผักและผลไม้ (15.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8)

B. การลงทุน

  1. การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign direct investment-FDI) ในเวียดนาม

จากสถิติของกระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม (Vietnam’s Ministry of Planning and Investment) ช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 20 พฤษภาคม 2566 ต่างประเทศเข้ามาลงทุนในเวียดนามมูลค่า 10.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 โดยมีโครงการใหม่จำนวน 962 โครงการ รวมมูลค่า 5.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 โครงการที่เพิ่มมูลค่าการลงทุนจำนวน 485 โครงการ รวมมูลค่า 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 59.4 และโครงการที่นักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นจากบริษัทเวียดนามจำนวน 1,278 โครงการ รวมมูลค่า 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.2

รายงานสถานการณ์การค้าการลงทุนของเวียดนามเดือนพฤษภาคม 2566

รายงานสถานการณ์การค้าการลงทุนของเวียดนามเดือนพฤษภาคม 2566

รายงานสถานการณ์การค้าการลงทุนของเวียดนามเดือนพฤษภาคม 2566

รายงานสถานการณ์การค้าการลงทุนของเวียดนามเดือนพฤษภาคม 2566

2. การลงทุนของไทยในเวียดนาม

2.1. ช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 20 พฤษภาคม 2566 บริษัทไทยเข้ามาลงทุนในเวียดนามมูลค่า 90.42 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีโครงการใหม่จำนวน 13 โครงการ มูลค่า 39.38 ล้านเหรียญสหรัฐ โครงการที่เพิ่มมูลค่าการลงทุนจำนวน 7 โครงการ มูลค่าเพิ่มประมาณ 23.96 ล้านเหรียญสหรัฐ และโครงการที่นักลงทุนไทยซื้อหุ้นจากบริษัทเวียดนามจำนวน 26 โครงการ มูลค่า 27.08 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 14 จาก 82 ประเทศที่เข้ามาลงทุนในเวียดนาม

2.2. การลงทุนสะสม (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2530 – 20 พฤษภาคม 2566) ไทยเป็นผู้ลงทุนอันดับที่ 9 จาก 143 ประเทศที่เข้ามาลงทุนในเวียดนาม โครงการลงทุนรวม 694 โครงการ มูลค่า 13.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

***********************************

en_USEnglish