เวียดนามมีประชากรที่ร่ำรวยเป็นพิเศษเพิ่มขึ้นสองเท่าในช่วงปี 2562-2566 ประชากรกว่า 1,000 คนในเวียดนามได้รับการพิจารณาว่าร่ำรวยเป็นพิเศษ ในปี 2565 ซึ่งเป็นตัวเลขเกือบสองของปี 2560
ในปี 2565 ตามรายงานล่าสุดของไนท์แฟรงค์ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ใน
สหราชอาณาจักร รายงานความมั่งคั่งประจำปีโดยไนท์แฟรงค์ระบุว่า มีคนรวยมากจำนวน 1,059 คนในเวียดนาม เพิ่มขึ้นจาก 538 คนในปี 2560 มากถึงร้อยละ 82
ไนท์แฟรงค์นิยามบุคคลที่ร่ำรวยเป็นพิเศษว่าเป็นบุคคลที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิอย่างน้อย 30 ล้านเหรียญสหรัฐ ไม่นับรวมเงินกู้
ภายในปี 2570 จำนวนบุคคลที่ร่ำรวยเป็นพิเศษในเวียดนามคาดว่าจะสูงถึง 1,300 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 จากปี 2565 และเพิ่มขึ้น ร้อยละ 122 ในช่วงปี 2560-2569
ตามรายงานของบริษัทไนท์แฟรงค์ จำนวนบุคคลที่มีรายได้สุทธิสูงของเวียดนาม ซึ่งหมายถึง
ผู้ที่มีทรัพย์สินมูลค่าอย่างน้อย 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 70 จาก 40,971 คนในปี 2560 เป็น 70,000 คนในปี 2565 รายงานคาดการณ์ว่าจะมีบุคคลที่มีรายได้สูงในเวียดนามมากกว่า 112,200 คนภายในปี 2570 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 173 ในช่วงปี 2561-2570
รายงานระบุว่า จำนวนผู้มั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเวียดนามนั้นสอดคล้องกับแนวโน้มทั่วไปในเอเชีย ซึ่งรูปแบบที่คล้ายคลึงกันนี้เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซียในเอเชียแปซิฟิก จำนวนคนรวยพิเศษเพิ่มขึ้นร้อยละ 51 ในช่วง 5 ปีก่อนปี 2566 รายงานระบุ
ในปี 2565 คริสติน ลี หัวหน้าฝ่ายวิจัยของไนท์แฟรงค์ เอเชีย แปซิฟิก กล่าวว่า ภูมิภาคนี้มีศักยภาพในการพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองและเศรษฐกิจต่อไป โลกมีคนที่ร่ำรวยเป็นพิเศษกว่า 579,600 คน จากข้อมูลของไนท์แฟรงค์
จัดทำโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโฮจิมินห์
วิเคราะห์ผลกระทบ
แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของกลุ่มประชากรที่ร่ำรวยในเวียดนามจากข้อมูลข้างต้น ส่งผลให้สินค้ากลุ่มลักชัวรี มีการเติบโตในตลาดอย่างรวดเร็วจากข้อมูลทางสถิติของ Statista ตลาดสินค้าลักชัวรีของประเทศเวียดนาม ในอีก 5 ปีข้างหน้า คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.3 ต่อปี และจะแตะระดับ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2568 โดยกลุ่มสินค้าลักชัวรีที่ใหญ่ที่สุดจะเป็นแฟชั่น เครื่องหนัง เครื่องสำอางและน้ำหอม จำนวนคนในประเทศที่มีถือครองความมั่งคั่งเกินกว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐขึ้นไป หรือจัดอยู่ในกลุ่มคนร่ำรวยมหาศาลอาจสูงถึง 1,551 ราย
ในปี 2569 แบรนด์หรูจำนวนมากต้องการเข้าสู่หรือขยายธุรกิจในเวียดนาม เนื่องจากตลาดค้าปลีกเวียดนามเป็นหนึ่งในตลาดที่คึกคักที่สุดในภูมิภาค บริษัทที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์จากสหราชอาณาจักรชี้ให้เห็นว่าชาวเวียดนามที่ร่ำรวยมีกำลังซื้อนาฬิกา รถยนต์ และไวน์มากขึ้น การนำเข้านาฬิกาของประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.2 ต่อปีในปี 2559-2560 ยอดขายรถยนต์และการนำเข้าไวน์ ก่อนที่จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด ยังคงเติบโต
อย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 12.9 และ ร้อยละ 9.8 ระหว่างปี 2559 ถึง 2562
นำเสนอโอกาส/แนวทาง
แนวโน้มเวียดนามมีประชากรที่มีความร่ำรวยเป็นพิเศษมากขึ้น ซึ่งประชากรกลุ่มดังกล่าวจะเป็นกลุ่มที่มีกำลังสูง และมีความต้องการบริโภคสินค้า สินค้าฟุ่มเฟือย สินค้าแฟชั่น เครื่องหนัง เครื่องสำอางค์ น้ำหอม นาฬิกา รถยนต์ ไวน์จำนวนมากขึ้น อย่างไรก็ตามประชากรกลุ่มดังกล่าวยังถือว่ามีจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับประชากรเวียดนามที่มีกว่า 98 ล้านคน และการทำตลาดสินค้าลักชูรี มีความแตกต่างกับการทำตลาดสินค้าทั่วไป ผู้ประกอบการที่ต้องการขยายตลาดสินค้าเข้ามาในเวียดนามจะต้องมีกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ว่าต้องการจะเจาะกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อในระดับใด ซึ่งผลต่อแนวทางในการเจาะตลาดสำหรับผู้บริโภคแต่ละกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน