ภาคธุรกิจของญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการยกระดับประสิทธิภาพขององค์กร โดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพในการทำงานของพนักงานหญิงที่มีจำนวนมากขึ้น รวมถึงสร้างสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้เอื้อต่อการรับรู้ และเข้าใจปัญหาสุขภาพเฉพาะของผู้หญิงให้แก่พนักงานชาย ทำให้บริษัทต่างๆ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมค้าปลีก เพิ่มความใส่ใจ และการดูแลเกี่ยวกับสุขภาพ สุขภาวะ และปัญหาเฉพาะของผู้หญิง โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีการใช้มาตรการ และสวัสดิการต่างๆ มาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น อาทิ
ร้านสะดวกซื้อ แฟมิลี่มาร์ท ดำเนินโครงการ “สวัสดิการฝากไข่” สำหรับพนักงาน รวมถึงครอบครัวและคู่สมรส และญาติ (ลำดับที่สอง) รวมถึงให้บริการคำปรึกษา และการตรวจประเมินในการฝากไข่ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2567 โดยพนักงานได้รับส่วนลดค่าธรรมเนียมการเก็บรักษาไข่รายเดือนในอัตราร้อยละ 30 ของอัตราปกติ หรือประมาณเดือนละ 5,500 เยน
ร้าน DonQ สนับสนุนค่ายาบรรเทาอาการปวดประจำเดือน และจัดทำ QR Code ให้ข้อมูล และ องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง
ซูเปอร์มาร์เกต Aeon นำเสนอนวัตกรรมสินค้าและธุรกิจบริการเฉพาะสำหรับผู้หญิง (FemTech) ที่พัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยสตรีญี่ปุ่น อาทิ ชุดชั้นใน และอาหารเสริม รวมถึงการสร้างเสริมประสบการณ์ ในการพูดคุยเกี่ยวกับสุขภาพเฉพาะของผู้หญิงอย่างเปิดเผยภายในครอบครัว ทั้งนี้ AEON วางจำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ในซูเปอร์มาร์เกตที่มีจำนวนกว่า 280 สาขาทั่วประเทศญี่ปุ่น และตั้งเป้าหมายในการเพิ่มจำนวนร้อยละ 20 ภายในปี 2568