นิวซีแลนด์
1.สถานการณ์เศรษฐกิจ
– นาย Christopher Luxon นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์เดินทางเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการในช่วงต้นเดือนกันยายน 2567 เพื่อยกระดับและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าการลงทุนระหว่างกัน โดยตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าทางการค้าสองฝ่ายขึ้นร้อยละ 50 ภายในปี 2573 พร้อมทบทวนและยกระดับข้อตกลงการค้าเสรีมาเลเซียและนิวซีแลนด์ที่ทันสมัยมากขึ้น เพื่อขยายโอกาสทางการค้าและลดการพึ่งพาคู้ค้าหลักอย่างจีนลง
– ตลาดค้าปลีกนิวซีแลนด์ยังอยู่ในช่วงขาลง โดยยอดค้าปลีก (เชิงปริมาณ) นิวซีแลนด์ไตรมาสเดือนมิถุนายน 2567 ลดลงร้อยละ 1.2 เป็นการลดลงของยอดขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุดลดลงร้อยละ 6 ยอดขายรถยนต์ใหม่ อะไหล่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ลดลงร้อยละ 2.7 ยอดขายในธุรกิจบริการสินค้าอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.9 ยอดขายสินค้าสินค้าเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายลดลงร้อยละ 4.1 ในขณะที่ยอดขายสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ต ยารักษาและป้องกันโรค ร้านค้าปลีกสินค้าอาหารและสินค้าเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ในครัวเรือนและสิ่งทอเพิ่มขึ้น
– ในช่วงครึ่งปีแรกภาวะเศรษฐกิจนิวซีแลนด์ชะลอตัว ภาคครัวเรือนประสบกับภาวะยากลำบากเนื่องจากค่าครองชีพครัวเรือนนิวซีแลนด์ในรอบปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เป็นผลจากภาวะเงินเฟ้อนิวซีแลนด์ยังอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 3.3 ทำให้ภาระค่าผ่อนบ้าน ค่าเช่า ค่าประกันภัย (บ้านและรถยนต์) ค่าน้ำมันและค่าพลังงาน ค่าก่อสร้างบ้าน แอลกอฮอล์และบุหรี่ยาสูบเพิ่มสูงขึ้น อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 4.6
2.สถานการณ์การค้าภาพรวมของนิวซีแลนด์ [1]
ปี 2567 เดือนมกราคม–สิงหาคม สถานการณ์การส่งออกสินค้าของนิวซีแลนด์ มีมูลค่า 28,414 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 0.12) เป็นการส่งออกนมและผลิตภัณฑ์นม เนย ไขมัน (ร้อยละ 27.71) เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค (ร้อยละ 12.73) กีวี (ร้อยละ 8.62) ไม้ที่ยังไม่แปรรูป (ร้อยละ 6.53) อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก (ร้อยละ 3.72) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 11 (นมและครีมที่ทำให้เข้มข้น แอปเปิ้ล เยื่อไม้เคมีที่เป็นเยื่อไม้โซดาหรือเยื่อไม้ซัลเฟต เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค และเคซิอิน)
ปี 2567 เดือนมกราคม–สิงหาคม การนำเข้าสินค้าของนิวซีแลนด์ มีมูลค่า 30,477 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 9.14) โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 14.71) เครื่องกังหันไอพ่น (ร้อยละ 13.78) รถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 11.72) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 8.92) อุปกรณ์และเครื่องใช้ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ร้อยละ 3.62) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้และญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ขาดดุลการค้า 2,063 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 7 มีมูลค่า 1,185 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 7.02) (รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ โพลิเมอร์ของเอทิลีนในลักษณะขั้นปฐม เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ น้ำตาลและขนมทำจากน้ำตาล) โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 673 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (23,555 ล้านบาท)
สถานการณ์การส่งออกสินค้าของนิวซีแลนด์ในเดือนสิงหาคม 2567 มีมูลค่า 3,008 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 2.61) เป็นการส่งออกนมและผลิตภัณฑ์นม เนย ไขมัน (ร้อยละ 18.72) กีวี (ร้อยละ 11.94) เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค (ร้อยละ 10.05) ไม้ที่ยังไม่แปรรูป (ร้อยละ 7.71) และเครื่องจักรสำหรับทำเครื่องดื่มร้อนหรือสำหรับหุงต้ม (ร้อยละ 4.78) โดยประเทศส่งออกหลัก คือ จีน ออสเตรเลียสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 15 (นมและครีมที่ทำให้เข้มข้น แอบเปิ้ล เยื่อไม้เคมีที่เป็นเยื่อไม้โซดาหรือเยื่อไม้ซัลเฟต ไม้ที่ยังไม่แปรรูปและเคซีอิน)
การนำเข้าสินค้าของนิวซีแลนด์ในเดือนสิงหาคม 2567 มีมูลค่า 4,288 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 0.30) โดยเป็นการนำเข้าเครื่องกังหันไอพ่น (ร้อยละ 14.90) ปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 12.74) รถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 9.50) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 8.14) อุปกรณ์และเครื่องใช้ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในทางการแพทย์ (ร้อยละ 3.49) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ซึ่งในเดือนสิงหาคม 2567 นิวซีแลนด์ได้ขาดดุลการค้า 1,280 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทย เป็นคู่ค้าอันดับ 9 (รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ โพลิเมอร์ของเอทิลีนในลักษณะขั้นปฐม เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ แชมพูและสิ่งปรุงแต่งที่ใช้กับเส้นผม)
3. สรุปสถานการณ์การค้าไทย-นิวซีแลนด์ [2]
เป้าหมายส่งออก | มูลค่าการค้ารวม (ล้าน US$) | มูลค่าการส่งออก (ล้าน US$) | มูลค่าการนำเข้า (ล้าน US$) | |||||||
ปี 2023
(%) |
ปี 2024
(%) |
ปี 2023 | ปี 2024 | ปี 2023 | ปี 2024 | ปี 2023 | ปี 2024 | |||
ม.ค.– ธ.ค. | ม.ค.-ส.ค. | +/- (%) | ม.ค. – ธ.ค. | ม.ค.-ส.ค. | +/- (%) | ม.ค. – ธ.ค. | ม.ค.-ส.ค. | +/- (%) | ||
2.0
(-24.94) |
1.0 | 2,245.09
(-21.10) |
1,678.92 | 4.05 | 1,406.89
-24.79 |
1,047.89 | 3.93 | 838.21
(-14.00) |
631.03 | 4.25 |
[1] Source: Global Trade Atlas
[2] Source: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
4. การค้าของไทยเดือนสิงหาคม ปี 2567
- การส่งออกสินค้าไทยไปนิวซีแลนด์เดือนสิงหาคม ปี 2567 มีมูลค่า 119.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (3,957.7 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 19.04 เป็นการลดลงของสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยางและเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร แต่การส่งออกเครื่องปรับอากาศ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมและเครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว อาหารทะเลกระป๋อง เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์และผลิตภัณฑ์พลาสติกเพิ่มขึ้น
- การนำเข้าสินค้าของไทยจากนิวซีแลนด์เดือนสิงหาคม ปี 2567 มีมูลค่า 80.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (2,644 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.88 เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้านมและผลิตภัณฑ์นม ผัก ผลไม้ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เยื่อกระดาษ เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค ไม้ซุงและไม้แปรรูปและสัตว์สำหรับทำพันธุ์ แต่การนำเข้าเคมีภัณฑ์อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารกและสัตว์น้ำสด แช่เย็นแช่แข็งลดลง