วันที่ 15 สิงหาคม 2567 กลุ่มผู้ผลิตโซล่าในหรัฐฯ (American Alliance for Solar Manufacturing Trade Committee – AASMTC) ได้เรียกร้องให้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ พิจารณาเก็บภาษีย้อนหลังสินค้าโซล่านำเข้า โดยเฉพาะ crystalline silicon cells ทั้งที่ประกอบแล้วและที่ยังไม่ประกอบเป็น modules  ที่นำเข้าจากเวียดนามและไทย ด้วยเหตุผลว่าในระหว่างเดือนเมษายน ถึง มิถุนายน 2567 การนำเข้าแผงโซล่าจากทั้งสองประเทศ เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากถึงร้อยละ 39 และร้อยละ 17 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับการนำเข้าในระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม ปีเดียวกัน

 

ทั้งนี้ AASMTC ได้ยื่นคำร้องให้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ทำการสอบสวนการนำเข้าสินค้าแผงโซล่าเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2567 โดยกล่าวหาว่าประเทศผู้ผลิตในเอเซีย คือ เวียดนาม ไทย มาเลเซีย และกัมพูชา ทำการค้าอย่างไม่ยุติธรรม สินค้าของประเทศเหล่านั้นวางจำหน่ายในสหรัฐฯ ในราคาที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นอย่างมาก และโรงงานผลิตในประเทศดังกล่าวได้รับการช่วยเหลือทางการเงินจากจีนซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงของโรงงานเหล่านั้น เดือนพฤษภาคม 2567 กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้เริ่มทำการสอบสวน silicon solar cells และ panels ที่ผลิตในเวียดนาม ประเทศไทย มาเลเซีย และกัมพูชา แล้ว ทั้งนี้ คาดว่าการพิจารณากรณีนี้จะเสร็จสิ้นในต้นเดือนตุลาคม 2567 และหากสหรัฐฯ ตัดสินว่า สินค้าจากประเทศเหล่านี้ รวมถึงประเทศไทย มีการทุ่มตลาดจริง สหรัฐฯ จะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้า silicon solar cells และ panels โดยคาดว่าจะการตัดสินอัตราภาษีจะเสร็จสิ้นประมาณฤดูใบไม้ผลิปี 2025  และเก็บภาษีย้อนหลัง 90 วันนับจากวันที่ตัดสินเบื้องต้นว่ามีการทุ่มตลาด จริง คาดการณ์ว่า เวียดนามจะถูกเก็บภาษีนำเข้าสหรัฐฯในอัตราที่สูงที่สุด และสูงกว่าที่สหรัฐฯจะเรียกเก็บจากประเทศไทยมากกว่าสามเท่าตัว เนื่องจากสหรัฐฯถือว่าเวียดนามเป็น non-market economy (NME)

      

ในปี 2566 ร้อยละ 80 ของการนำเข้าสหรัฐฯ สินค้าแผงโซล่า มาจากประเทศเวียดนาม ไทย มาเลเซีย และกัมพูชา โรงงานผลิตในสหรัฐฯ อ้างว่าประสบปัญหาในการแข่งขันกับสินค้านำเข้าเหล่านี้  ในระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายนปี 2567 ร้อยละ 45 ของการนำเข้ารวมทั้งสิ้นของสหรัฐฯ หรือ 3.3 พันล้านเหรียญฯ เป็นการนำเข้าจากเวียดนาม ทั้งนี้เปรียบเทียบกับ ในปี 2566 ที่มูลค่าการนำเข้าสินค้ากลุ่มนี้รวมทั้งสิ้นจากเวียดนามมี 4 พันล้านเหรียญฯเท่านั้น

 

ที่มา: Solar Power World: “Citing recent surge in imports, American solar panel makers petition government for immediate relief”, by Kelly Pickerel, August 15, 2567

 

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก สคต ลอสแอนเจลิส

ภายใต้กฎหมายการค้าของสหรัฐฯ ให้อำนาจกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯระบุประเทศคู่ค้าสหรัฐฯ บางประเทศว่าเป็น non-market economy (NME) ซึ่งหมายถึง ประเทศที่มีปฏิบัติการทางการตลาดที่ไม่เป็นไปตามหลักการของตลาดในเรื่องโครงสร้างของค่าใช้จ่ายและราคา และการขายสินค้าในประเทศนั้นๆไม่ได้สะท้อนถึงมูลค่าที่ยุติธรรมของสินค้า สถานภาพ non-market economy มีความสำคัญสูงสุดที่กระทรวงพาณิชย์นำมาใช้ตัดสินกรณีทุ่มตลาดและคำนวนอัตราภาษีตอบโต้

 

ปัจจุบันมีประเทศคู่ค้าสหรัฐฯ 12 ประเทศที่ถูกระบุว่าเป็น NME คือ Republic of Armenia, Republic of Azerbaijan, Republic of Belarus, People’s Republic of China, Georgia, Kyrgyz Republic, Republic of Moldova, Russian Federation, Republic of Tajikistan, Turkmenistan, Republic of Uzbekistan และ Socialist Republic of Vietnam

 

ในการเดินทางเยือนเวียดนามของประธานาธิบดีไบเดนเมื่อเดือนกันยายน 2566 ได้มีการเจรจาขอให้สหรัฐฯ ถอดเวียดนามออกจากการเป็น NME ซึ่งในเดือนตุลาคม 2566 กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้เริ่มกระบวนการทบทวนตามคำร้องขอของเวียดนาม ทั้งนี้รัฐสภาสหรัฐฯ และภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ไม่เห็นด้วยกับการถอดเวียดนามออกจากการเป็น NME

 

ด้วยเหตุผลว่าจะเป็นการคุกคามความมั่นคงของภาคอุตสาหกรรมและการค้าสหรัฐฯ ขณะที่ National Retail Federation เห็นด้วยกับการถอดเวียดนามออกจาก NME ด้วยเหตุผลว่า เวียดนามเป็นแหล่งอุปทานทางเลือกอื่นที่ดีที่สุดแทนที่จีน  และจะช่วยให้สินค้าจำนวนมากในตลาดค้าปลีกสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป มีราคาลดต่ำลง

 

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2567 กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้ออกประกาสคำตัดสินใจสุดท้ายยืนยันว่าจะยังคงสถานภาพเวียดนามว่าเป็นประเทศ NME อยู่ต่อไป

 

ปัจจุบันเวียดนามเป็นคู่แข่งสำคัญและเป็นด่านกั้นโอกาสการเติบโตของสินค้าไทยหลายรายการในตลาดสหรัฐฯ หากเวียดนามถูกถอนออกจาก NME การส่งออกของไทยเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯจะมีอุปสรรคมากยิ่งขึ้นกว่าปัจจุบัน

 

หมายเหตุ: ข่าวข้างบนนี้เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งที่จัดทำและนำเสนอข้อมูลเปิดเผยต่อสาธารณชนทั่วไป และบางส่วนเป็นความเห็นส่วนบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส นำมารวบรวมเผยแพร่เพื่อแก่ผู้สนใจ เนื่องจากเป็นข้อมูลและความเห็นจากบุคคลที่สาม การนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ ไม่ว่าในกรณีใดๆ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณเฉพาะบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆที่อาจเกิดขึ้นจากการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้      

 

Büro zur Förderung des Außenhandels นครลอสแอนเจลิส  | กรกฏาคม 2567 

                                                                                                                                                                       

 

de_DEGerman