ตลาดสินค้าแฟชั่นเป็นตลาดที่มีวงจรชีวิตคล้ายกับเข็มนาฬิกาที่หมุนกลับไปมา (Old is New again) และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หากผู้ประกอบการหรือนักออกแบบสามารถคาดการณ์ทิศทางได้ตรงกับช่วงเวลาที่เป็นกระแสนิยมก็จะสามารถสร้างผลกำไรและการเติบโตทางธุรกิจได้อย่างยั่งยืน สำหรับทิศทางตลาดเสื้อผ้าแฟชั่นออสเตรเลียปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า กลุ่ม Influencer ค่อนข้างมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงของทิศทางสินค้าแฟชั่นสำหรับกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ (กลุ่ม Millennial และ Gen Z)
เนื่องจากที่ผ่านมา ผู้บริโภครุ่นใหม่นิยมเลือกซื้อเสื้อผ้าเรียบง่ายที่สวมใส่ได้ตลาดกาล ไม่นำหรือล้าสมัยเกินไป แต่ในปัจจุบันเป็นที่สังเกตว่า ผู้บริโภครุ่นใหม่นิยมสวมใส่เสื้อสไตล์ยุค 1970 มากขึ้น เช่น กางเกงยีนส์เอวต่ำ กางเกงขาบาน เสื้อคอสูง เสื้นแขนพอง และกระโปรงสั้นจีบรอบ เป็นต้น การกลับมาของเสื้อผ้าสไตล์ย้อนยุคได้ถูกปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของผู้บริโภคแต่ละยุคสมัยตามความเหมาะสม โดยมี Social media และเสื้อผ้าสไตล์ Fast fashion เป็นกลไกกระตุ้นทำให้ช่วงเวลาของการฟื้นคืนชีพของเสื้อผ้าแฟชั่นสไตล์ย้อนยุคสั้นลง โดยเฉพาะ Social media influencers ที่เป็นกลไกขับเคลื่อนในวงการแฟชั่นที่สำคัญ เนื่องจากรูปแบบและสไตล์มักถูกนำไปใช้โดยกลุ่มผู้ติดตาม
นอกจากนี้ การรำลึกถึงความทรงจำในอดีต (Nostalgia) เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการขับเคลื่อนเทรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นปัจจุบัน ซึ่งได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Personal nostalgia และ Cultural nostalgia โดย Cultural nostalgia จะมีบทบาทและอิทธิพลในวงการแฟชั่นมากกว่า Personal nostalgia เนื่องจากความขัดแย้งและวิกฤตต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ได้กลายเป็นแรงผลักดันให้ผู้บริโภคโหยหาความมั่นคง ความดีงามในอดีตและเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักออกแบบเสื้อผ้าแฟชั่นยุคใหม่ ก่อให้เกิดแฟชั่นสไตล์ประยุกต์ โดยใช้สิ่งทอสมัยใหม่ (Modern fabric เน้น Sustainable และ Environment friendly) สีสันและการสร้างแบบบนพื้นฐานของวัฒธรรมที่ดีงามดั้งเดิม (ทั้งวัฒนธรรมตะวันตกและวัฒนธรรมตะวันออก) ในการสร้างสรรค์เสื้อผ้าแฟชั่นสไตล์ประยุกต์ที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมดั้งเดิมและวิวัฒนาการยุคใหม่ได้อย่างสมดุลเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ในปัจจุบันสืบเนื่องจากการมีบทบาทสำคัญต่อการทำตลาดสินค้าและบริการสูงของสื่อโซเชียลมีเดียและ Influencers ต่อการเปลี่ยนแปลงทิศทางตลาดผู้บริโภค มีผลให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและการแข่งขันในตลาดออสเตรเลีย (Australian Competition and Consumer Commission (ACCC) เข้ามาตรวจสอบการเอาเปรียบผู้บริโภคของภาคธุรกิจ (137 ราย) และ Influencers (จำนวน 118 ราย) ในการทำตลาดผ่านสื่อ Instagram, TikTok, Snapchat, YouTube, Facebook และ Twitch ในธุรกิจสาขาต่างๆ ได้แก่ สินค้าแฟชั่น การท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ สุขภาพและความเป็นอยู่ เครื่องสำอางค์และผลิตภัณฑ์ สินค้าตกแต่งบ้านและการเลี้ยงดูบุตร สินค้าอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าประเภทเกมและเทคโนโลยี และธุรกิจบริการร้านอาหาร ฯลฯ ซึ่งจากการตรวจสอบโดย ACCC พบว่า การทำการตลาดโดย Influencers ร้อยละ 81 (โดยเฉพาะสินค้าแฟชั่น ท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์) และภาคธุรกิจร้อยละ 37 (โดยเฉพาะสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องสำอางค์และสินค้าประเภท Home improvement) มีการโฆษณาชวนเชื่ออันก่อให้เกิดการเข้าใจผิด (ไม่โปร่งใส) และขัดต่อกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคออสเตรเลียในการทำตลาดและโฆษณาสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์
นอกจากนี้ ACCC จะดำเนินการตรวจสอบภาคธุรกิจและ Influencers ที่ทำการตลาดอย่างไม่โปร่งใสต่อไปและ ภายในต้นปี 2567 ACCC จะเปิดเผยแนวทางในการทำตลาดสินค้า/รีวิวสินค้าหรือบริการสำหรับภาคธุรกิจและ Influencers ที่โปร่งใสภายใต้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคออสเตรเลียในลำดับต่อไป
………………………………………………………………………………..
Königlich Thail. Generalkonsulat, Büro für internationale Handelsförderung in Sydney-Stadt
ที่มา;
www.abc.net.au
www.businessnewsaustralia.com